CTA (Call-To-Action) คืออะไร พร้อม 8 เทคนิคการเขียนให้โดดเด่น
ในสถานการ์ปัจจุบัน ธุรกิจทางการค้านอกจากจะขายสินค้าแล้ว ผู้ทำการค้าต่างๆ ก็ต้องวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อทำการ CTA (Call To Action) ก่อนอื่น การอธิบายเกี่ยวกับ CTA นี้ ต้องแยกความหมายออกจาก CTA Coronary ศัพท์ทางการแพทย์ แปลว่า เกี่ยวกับภาวะหลอดเลือดหัวใจ
เพราะอาจทำให้หลายคนสับสน เป็นคำเขียนที่เหมือนกันแต่คนละความหมาย จึงเขียนมาเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจว่า CTA คืออะไร ในแง่ความหมายของศัพท์ทางการตลาด
CTA คืออะไร?
CTA ย่อมาจาก Call to Action หมายถึง การให้ผู้บริโภคโต้ตอบหรือทำปฎิกิริยากับสิ่งที่ได้นำเสนอหรือแสดงออกไปนั้น แม้แต่การคลิกให้ความสนใจ หรือ โต้ตอบ ถึงจะไม่ได้มีการบริโภคเกิดขึ้นโดยตรง แต่ถือว่าได้ประสบความสำเร็จอย่างนึง คือ เมื่อเกิดการคลิกมากๆ หรือมีค้นหา ก็จะทำให้ติดอยู่หน้าแรก ทำให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจ อาจเรียกได้อีกอย่างว่า กระจายการรับรู้ที่เพิ่มขึ้น เมื่อรับรู้แล้วก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะมีปฎิกิริยาหรือวิธีการโต้ตอบต่อสิ่งที่รับรู้อย่างไร บางคนไม่ได้ให้ความสนใจ บางคนให้ความสนใจมาก บางคนสนใจแต่ขาดความเข้าใจอย่างสิ้นเชิง จึงต้องทำการค้นหาหรือคลิกสิ่งที่เขานั้นต้องการจะรู้
8 เทคนิคการเขียน CTA ให้โดดเด่น
เทคนิคการนำทฤษฎี CTA (Call To Action) มาใช้ให้เกิดประโยชน์ที่สุด มีทั้งหมด 8 เทคนิค ดังนี้
1. ใช้คำพูดที่ สั้น กระชับ น่าสนใจ
CTA คือการโน้มน้าวใจคน ดังนั้น CTA ที่ดีจะต้องสื่อสารถึงลูกค้าด้วยคำที่ง่าย ชัดเจน เช่น ต้องการจะขายอะไร สินค้าคุณมีดีอะไร ทำไมถึงต้องซื้อ ไม่จำเป็นต้องเขียนอธิบายละเอียดมากไป เพียงแค่เอาจุดขายมาเขียนให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจ
2. ใช้คำกระตุ้น ให้เกิดความฮึกเหิม
ตัวอย่างแบรนด์รองเท้าชื่อดัง Nike เป็นแบรนด์รองเท้าที่มีสโลแกนคือ Just Do It. ภายใต้แคมเปญ Possibilities หมายความว่าทุกอย่างเป็นไปได้เพียงแค่ทำมัน โดย Nike นำเสนอในมุมสินค้าเกี่ยวกับรองเท้า ด้านกีฬา เป็นหลัก เป็นแบรนด์รองเท้าที่นิยมในหมู่นักกีฬา และ Nike มักจะเป็นสปอนเซอร์ของกีฬาวิ่งอยู่บ่อยๆ และดึงดาวเด่นจากนักกีฬาดังๆ มาเป็น influencer ให้กับแบรนด์รองเท้า
ปัจจุบันได้มีการสร้าง Hashtag # ในทวิตเตอร์ หรือทางแพลตฟอร์มโซเชียล อื่นๆ ในการค้นหาข่าวเกี่ยวกับรองเท้าวิ่งแบรนด์ Nike หรือเรียกได้ว่าเอาใจสายนักกีฬาหรือคนที่ชื่นชอบการออกกำลังกายที่กำลังมองหารองเท้าวิ่งดีๆอยู่นั่นเอง
3. เทคนิค FOMO (Fear of Missing Out)
FOMO เป็นเทคนิคที่ดีมากในการทำ CTA คำโฆษณาเกี่ยวกับโปรโมชัน โดยในแคมเปญพวกนี้มักจะมีการแจกโปรโมชัน การแจกดีลพิเศษต่างๆ แม้กระทั่งสินค้าที่ลดราคา การส่งฟรี เป็นต้น ภายใต้เงื่อนไขขอบบริษัทโดยมีอย่างจำกัด ทำให้ผู้บริโภครีบให้ความสนใจ และมักซื้อสินค้าในวันที่มีโปรโมชันเป็นพิเศษ เรียกได้ว่าขายสินค้าออกในวันนี้แน่ๆ
4. ใช้คำที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย
ถ้าพูดให้เห็นภาพง่ายๆ มักจะดูได้จากโฆษณาที่เป็นรูปแบบของคลิปวิดีโอ หรือมีการฉายสื่อภาพต่างๆ และคำที่เชิญชวนให้มีการแชร์ หรือร่วมเป็นสมาชิก ให้ทำกิจกรรมด้วยกัน เป็นต้น
อย่างเช่น ในวิดีโอตัวเกี่ยวกับ บริษัทเครื่องดื่ม แบรนด์ CocaCola ซึ่งมักจะมีจุดขายคือ เป็นเครื่องดื่มน้ำอัดลมที่ทำให้ผู้บริโภคชื่นใจ เสมือนเป็นสโลแกนที่เห็นแล้วรับรู้ได้เลย ทำให้คนดูหรือผู้บริโภคเข้าใจได้ทันทีว่าต้องการขายอะไรให้กับลูกค้า
5. ใช้คำที่อ่านแล้วได้ผลลัพธ์ชัดเจน
CTA ที่ดีต้องเห็นแล้วคาดหวังผลลัพธ์ได้ทันที ยกตัวอย่าง iPhone เป็นมือถือที่สนับสนุนระบบปฎิบัติการส่วนตัว ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้ใช้งาน
6. เน้นคำให้โดดเด่น ดึงดูดสายตา Users
CTA คือการทำให้คนที่เข้ามาเห็นต้องสะดุดตา อาจใช้คำคมหรือ คำตลก อย่างในไทย จะใช้คำว่า “คิดจะพัก คิดถึงคิทแคท” เป็นสโลแกนแต่ช่วยทำให้สินค้าเด่นยิ่งขึ้น เป็นที่จดจำของผู้บริโภค
7. เลี่ยงศัพท์เทคนิค ป้องกันการสับสน
ศัพท์เทคนิคโดยเฉพาะตัวย่อต่างๆที่เป็นไปได้หลายกรณี อย่างที่ยกตัวอย่างไปตั้งแต่ต้นบทความว่า CTA มีความหมายพ้องกันในเชิงศัพท์การแพทย์และศัพท์การตลาด เพื่อป้องกันการสับสนจึงควรเลี่ยงค่อย่อหรือศัพท์เทคนิคเพื่อง่ายต่อการเข้าใจ
8. ทดลอง สังเกต และปรับปรุง
การปรับปรุงเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ ซึ่ง CTA ก็เช่นกัน ตัวอย่าง เช่น การเปลี่ยนชื่อแบรนด์จากเดิม Facebook ไปยัง Meta ซึ่งย่อมาจาก Metaverse เพื่อสู่บริษัทที่เป็นเมต้าเวิร์สอย่าง หมายถึงอยากให้เป็นมากกว่าแค่สื่อโซเชียล เข้าเชื่อมโยงกับโลกอื่นๆ เสมือนจริง 360 องศา ทำให้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันได้ทั่วโลก
ความสำคัญของปุ่ม CTA
ปุ่ม CTA เป็นศูนย์กลางปุ่มที่ทำให้คนเข้าถึงเว็บไซต์ หรือ การค้นหา ปุ่ม Sign up for free สามารถเป็นสมาชิกของเว็บไซต์นั้นได้เงียบเพียงแค่สมัครและกรอกข้อมูลง่ายๆ รวมถึง Google ที่ไม่ว่าเราจะค้นหาอะไร แล้วสามารถเจอเลย ปุ่ม CTA ก็จะมีคีย์เวิร์ด ข้อความสำคัญในการค้นหา หรือ เชื่อมโยงด้วยตรงเสมือนเป็นทางลัดอย่างนึง กดไปปุ่มนี้ เจอหน้าที่ต้องการไม่ต้องทำให้ยุ่งยาก
หรือปุ่มการดูเพิ่มเติมที่ชอบต่อท้ายจากข่าวสารใน Facebook ที่เราไม่จำเป็นต้องไปหาคำตอบหรือพิมเข้าไปในเว็บไซต์ แล้วกดเมนู เพื่อจะหาคำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งนั้น แต่เรากดได้โดยตรงและเข้าถึงหน้าเว็บที่ต้องการได้ทันที
ตัวอย่าง CTA (Call-to-action)
ธุรกิจการค้าหลายอย่างได้นิยมนำทฤษฎีมาใช้แต่ละแฟลตฟอร์มทางการค้าหลายรูปแบบได้มีหลายวิธีการใช้กลยุทธ์ในการเรียกความสนใจให้แก่ผู้ที่พบเห็น เช่น อีเมล เว็บไซต์ ใช้สื่อโซเชียล และอื่นๆ เป็นต้นเพราะฉะนั้นสรุปได้ง่ายๆว่า การ CTA (Call To Action) นั้นการทำให้ผู้คนที่มองเห็นสิ่งที่อยากนำเสนอเกิดความสนใจ และโต้ตอบมากที่สุด ยกตัวอย่างสำหรับการใช้สื่อ CTA มีดังนี้
Facebook Ad CTAs
โฆษณาหรือ pop up ที่ชอบโผล่ขึ้นผ่าน Facebook แล้วข้างใต้โฆษณามักจะมีคำอธิบายว่าได้รับการสนับสนุนจาก ซึ่งหมายถึงเป็นโฆษณาที่บูสต์ขึ้นจากบริษัท official เมื่อคลิกเข้ไปจะเป็นการ connect กับแอพลิเคชัน หรือว่าเว็บไซต์นั้นโดยตรง โดยทำหน้าที่เป็นโฆษณาตัวกลางให้ผู้ชมที่ชื่นชอบการเล่นFacebookได้เห็น
Instagram Ad CTAs
เป็นโฆษณาที่มาในรูปแบบวิดีโอภาพ เรามักจะเห็นคำโฆษณาเกี่ยวกับโปรโมชันของสินค้าส่วนใหญ่ เมื่อเรากดเข้าไปจะเจอกับบัญชีอินสตาแกรมทางการของแบรนด์นั้นๆ ในส่วนของบัญชีก็จะมีBio ย่อยแสดงข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์นั้นๆ รวมถึงลิงค์ไปยังแบรนด์หลัก สะดวกสำหรับผู้ใช้กลุ่มอินสตาแกรม ที่สามารถดูวิดีโอ ดูการอัปเดต ภาพสินค้าใหม่ต่างๆ ได้จากอินสตาแกรมโดยตรง
Email CTAs
เมื่อเราเปิดอีเมลขึ้นมาจะมีการแนบไฟล์ต่างๆ อยู่ที่ไฟล์โปรโมชัน เป็นไฟล์อีเมลเกี่ยวกับโฆษณาทุกรูปแบบ มักจะนิยมหรือพบเห็นได้ง่ายจากกลุ่มคนที่ทำงานที่ต้องใช้การติดต่อผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ได้รับความนิยมน้อยในหมู่วัยรุ่นแต่ใช้สำหรับกลุ่มคนที่เป็นทางการ หรือ ต้องติดต่ออีเมลบ่อย
Landing page CTAs
เป็นเว็บไซต์โดยตรงหรืออาจจะโฆษณาที่แฝงตามเว็บต่างๆแบบ pop up เช่นกัน แต่เราจะสามารถดูหรือค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ เมื่อสมัครเป็นสมาชิกเท่านั้น เป็นการเชิญชวนทางนึงโดยอาศัยจากยอดผู้สมัคร มักจะมีคำว่า Sign for free หรือ Get started it เป็นต้น เป็นการโน้มน้าวให้สมัครเป็นสมาชิกนั่นเอง
Website CTAs
CTA ในรูปแบบเว็บไซต์บางเว็บ ต้องผ่านขั้นตอน CTA ข้างบนมาก่อน เช่น Netflix จะต้องมีการสมัครสมาชิกรวมถึงการจ่ายเงิน ก่อนจะได้เข้าสู่หน้าเว็บโดยตรงได้ อย่าง Netflix ก็จะให้อธิบายบริการหนังในสตรีมมิ่งของเขาที่น่าสนใจ เช่น เอาหนังดังๆ ทำซีรีส์แนวหลายหลายกลุ่มคนดู การ์ตูน วาไรตี้ เป็นต้น
ซึ่งกลุ่มคนที่สมัครบางคนส่วนมากมักจะสนใจหรือมีปฎิกิริยาโต้ตอบกับแบรนด์หรือสิ่งนั้นอยู่แล้ว เพียงแค่อัปเดตความน่าสนใจภายในเว็บให้มากขึ้น และไม่หยุดพัฒนาระบบของสินค้าหรือสิ่งที่ลูกค้าบริโภค คอยนำสินค้าใหม่ๆ หรือการอัปเดตใหม่มาพัฒนาอยู่เสมอ
ข้อสรุปของ CTA
ข้อสรุปของ CTA หรือ Call to action สำคัญขนาดไหนในยุคนี้? ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า การทำการค้าทางธุรกิจต่างๆ ก็ไม่จำเป็นต้องนำ CTA มาใช้เสมอไป แต่การที่นำ CTA มาใช้นั้น ทำให้เข้าถึงง่าย ทำการตลาดง่ายมากกว่าไม่ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดอะไรเลย
อีกทั้งบางวิธีโน้มน้าวในแง่ของ CTA นั้นสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้รุ่นใหม่ แล้วทำให้กลุ่มผู้ใช้หรือผู้บริโภครุ่นเก่าต้องปรับเปลี่ยนการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยตามยุคเพื่อให้การทำตลาดหรือการขายสินค้าได้ดียิ่งขึ้น ประโยชน์ของ CTA ไม่ได้มีแค่การใช้ในแง่ธุรกิจเพียงเท่านั้น แต่สามารถใช้ทำการรณรงค์ แคมเปญต่างๆ ได้เช่นกัน
และยังดึงศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงธุรกิจมากมาย เพื่อทำการตลาดให้น่าสนใจ ทำให้ผู้บริโภคเลือกได้หลากหลายและสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้เด่นยิ่งขึ้น เป็นที่รู้จักมากขึ้น ง่ายต่อการบริโภคมากขึ้น
สุดท้ายนี้บางธุรกิจบางอย่างอาจจะไม่ได้เปลี่ยนไปตามระบบทางกลยุทธ์แบบใหม่หรือทันสมัย เพราะกลัวความผิดพลาดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนั้น และยังคงสภาพดำเนินต่อไปนั้น รวมถึงกลยุทธ์ใช้ไม่ได้ผล
อยากให้ตระหนักถึงการเลือกใช้กลยุทธ์ให้เหมาะสมที่เหมาะกับรูปแบบธุรกิจนั้นๆ เพราะท้ายที่สุดแล้วขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่คุณอยากนำเสนอคือเรื่องใด ตามการพิจารณาควรนำกลยุทธ์ใดมาใช้และปรับปรุง เนื่องจากกลยุทธ์ CTA อาจให้ประโยชน์และข้อเสียแก่สิ่งที่นำเสนอ หรือ ธุรกิจบางอย่าง ใช้ให้พอเหมาะไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป กับการเผยแพร่ที่เหมาะสม