5 ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ให้โดดเด่น ลูกค้าจำง่าย ยอดขายปัง!!

สร้างแบรนด์

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากจะสร้างแบรนด์เป็นธุรกิจของตัวเอง แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน วันนี้ บทความของเราจะพาคุณไปรู้จักว่า การสร้างแบรนด์ หรือ Branding Strategy คืออะไร พร้อมทั้งอธิบาย 5 ขั้นตอนการสร้างแบรนด์และตัวอย่างการสร้างแบรนด์ให้คุณได้เห็นภาพ และสามารถทำได้ด้วยตัวคุณเอง!!


การสร้างแบรนด์ (Branding)  คืออะไร 

การสร้างแบรนด์ หรือ Branding Strategy คือ การสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สร้างความตระหนักและส่งเสริมชื่อเสียงและการรับรู้ถึงแบรนด์ (Brand Awareness) โดยใช้กลยุทธ์และยุทธวิธีต่าง ๆ ทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการใช้แคมเปญโฆษณาหรือกลยุทธ์ส่งเสริมการขาย เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์เฉพาะ สร้างการเชื่อมต่อ เพิ่มความพึงพอใจ และมอบคุณค่าให้กับลูกค้า ตลอดจนความภักดีของลูกค้าและการรับรู้ถึงแบรนด์

โดยวัตถุประสงค์หลักของการสร้างแบรนด์ คือ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทราบว่า แบรนด์ของคุณนั้น เกี่ยวกับอะไร มีผลิตภัณฑ์หรือบริการอะไร และมีลักษณะอย่างไร ซึ่งเราสามารถแบ่งการสร้างแบรนด์ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. การสร้างแบรนด์ส่วนบุคคล เป็นการแสดงถึงตัวคุณในฐานะแบรนด์ โดยนำเสนอตัวเอง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถจดจำได้มากขึ้น เสริมให้ตัวคุณโดดเด่นกว่าคู่แข่งคนอื่น ๆ ในสายงานเดียวกัน
  2. การสร้างแบรนด์ทางธุรกิจ เช่นเดียวกับการสร้างแบรนด์ส่วนบุคคล เป็นการส่งเสริมให้ชื่อ ผลิตภัณฑ์ โลโก้ สี แบบอักษร เสียง และชื่อเสียงที่ประกอบเป็นธุรกิจนั้น สามารถเป็นที่จดจำของลูกค้าได้เป็นอย่างดี และโดดเด่นกว่าคู่แข่งคนอื่น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ สร้างการรับรู้ สร้างความสนใจ และกระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำจากลูกค้า

ทำไมธุรกิจควรสร้างแบรนด์ตัวเอง

สร้างแบรนด์

อย่างที่ทุกคนทราบความหมายของการสร้างแบรนด์กันไปแล้ว จะเห็นว่า การมีแบรนด์ดิ้งที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจของเราเป็นที่จดจำของลูกค้าได้ ดังนั้น เราขอสรุปความสำคัญของการสร้างแบรนด์ทางธุรกิจ ดังนี้

1. การสร้างแบรนด์เป็นเทคนิคทางด้านจิตวิทยา

ด้วยความต้องการของลูกค้าที่มีอยู่อย่างหลากหลาย หากเราสร้างแบรนด์ที่มีโลโก้และอัตลักษณ์กราฟิก ไม่ว่าจะเป็นสี รูปทรง หรือลวดลายต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับทัศนคติ แรงบันดาลใจ และความต้องการของลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ ก็จะทำให้ลูกค้าเกิดความต้องการและอยากอุดหนุนธุรกิจของเรา

2. การสร้างแบรนด์ช่วยเพิ่มการรับรู้

ธุรกิจที่มีแบรนด์ โดยการใช้ตราสินค้าที่ดีและโดดเด่นก็จะช่วยเพิ่มการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายด้วยการตลาดได้อย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างความตระหนักให้ลูกค้าทราบว่า ธุรกิจของเรามีผลิตภัณฑ์หรือบริการอะไร และดีกว่าคู่แข่งอย่างไร

3. การสร้างแบรนด์ช่วยสร้างความไว้วางใจ

การสร้างแบรนด์ธุรกิจที่ดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจและไว้วางใจที่จะใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราอย่างต่อเนื่อง หากเรามีแบรนด์ดิ้งที่มีความน่าเชื่อถือมากพอ

4. การสร้างแบรนด์ช่วยสร้างความภักดีของลูกค้า

หากว่าเรามีการสร้างแบรนด์สินค้าที่สร้างความไว้วางใจให้แก่ลูกค้าได้แล้ว สามารถทำให้ลูกค้ากลับมาอุดหนุนอย่างต่อเนื่อง ก็มีแนวโน้มสูงที่ลูกค้าเดิมจะส่งต่อความไว้วางใจภายในครอบครัว ส่งต่อความเชื่อใจจนเกิดเป็นความภักดีต่อแบรนด์ของเรา

5. การสร้างแบรนด์ช่วยให้พนักงานของบริษัทพึงพอใจในงาน

เมื่อธุรกิจของเรามีการสร้างแบรนด์ธุรกิจที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับต่อลูกค้าภายนอกแล้ว ก็ย่อมส่งผลต่อพนักงานภายในธุรกิจที่มีความมั่นใจในธุรกิจมากขึ้นไปอีก ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและพึงพอใจกับงานที่ทำอยู่มากขึ้น และอาจมีการแนะนำต่อครอบครัวและเพื่อนให้เข้ามาร่วมงานเช่นเดียวกับการสร้างความภักดีของลูกค้า

6. การสร้างแบรนด์ช่วยให้วางกลยุทธ์ทางการตลาดได้ง่ายขึ้น

ในการสร้างแบรนด์ในยุคดิจิทัล การโฆษณาถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้ลูกค้าเจอแบรนด์ของเราได้ง่ายขึ้น ดังนั้น หากเรามีการสร้างแบรนด์ที่ชัดเจน เฉพาะตัว และโดดเด่น ก็สามารถกำหนดทิศทางในการวางกลยุทธ์ทางการตลาดได้ง่ายขึ้น และตอบโจทย์ความต้องการของแบรนด์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

7. การสร้างแบรนด์ช่วยให้ธุรกิจเป็นที่รู้จักมากขึ้น

สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลย เพราะการสร้างแบรนด์จะช่วยให้ทุกคนได้รู้จักธุรกิจของเรามากขึ้น เมื่อธุรกิจของเราเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ก็จะสามารถวางแผนการตลาดได้ง่ายขึ้น เกิดการอุดหนุนจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง


5 ขั้นตอนสร้างแบรนด์สำหรับธุรกิจออนไลน์

คำถามต่อมา คือ เราจะสร้างแบรนด์ได้อย่างไร เราได้สรุป 5 ขั้นตอนการสร้างแบรนด์สำหรับธุรกิจออนไลน์เอาไว้ให้คุณแล้ว ดังนี้

1. รู้จักตัวเอง

การสร้างแบรนด์ธุรกิจดิจิทัล

เริ่มแรกของการสร้างแบรนด์ในยุคดิจิทัลนั้น คือ เราต้องรู้จักตัวเองเสียก่อน โดยมีการวิเคราะห์และทำความเข้าใจในธุรกิจของเรา โดยอาจจะใช้คำถามเหล่านี้

  • แรงบันดาลให้ก่อตั้งธุรกิจ คืออะไร
  • ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าของเราคืออะไร
  • มีจุดเด่นอย่างไร
  • ข้อดีหรือข้อเสียอะไรบ้าง
  • ต้องการตอบโจทย์ลูกค้าแบบไหน
  • มีอะไรที่โดดเด่นกว่าคู่แข่ง

เมื่อเราได้ข้อมูลธุรกิจของเราแล้ว ก็พอจะมองทิศทางของแบรนด์ดิ้งตัวเองได้ว่า จะเป็นไปในทิศทางใด เช่น 

  • ความหรูหรา
  • ความอิสระ
  • ความเป็นธรรมชาติ
  • การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

เพราะทิศทางเหล่านี้ จะช่วยให้การสร้างแบรนด์ของเราง่ายขึ้น ทั้งผลิตภัณฑ์และแบรนด์ดิ้งมีความเชื่อมโยง สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้ลูกค้าสามารถจดจำแบรนด์ของเราได้มากขึ้น

2. รู้จักลูกค้า

การสร้างแบรนด์สินค้า

หลังจากที่รู้จักตัวเองแล้ว เราก็ต้องรู้ว่า ธุรกิจของเรานั้น กำลังจะจำหน่ายให้กับลูกค้ากลุ่มใด ดังนั้น การสร้างแบรนด์ก็ต้องดึงดูดความสนใจของลูกค้าด้วยเช่นกัน โดยเราจะต้องศึกษาข้อมูลของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เราสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการได้อย่างเหมาะสมและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดยอาจจะใช้คำถามเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้น เช่น

  • กลุ่มลูกค้า คือใคร
  • ช่วงอายุ
  • ความชอบของลูกค้า
  • ทัศนคติหรือค่านิยมของกลุ่มลูกค้า
  • สิ่งที่ลูกค้าต้องการ
  • ที่พักอาศัยเป็นอย่างไร
  • มีวิถีการดำเนินชีวิตอย่างไร
  • กำลังซื้อ หรืองบประมาณในการใช้จ่าย

เมื่อเรากำหนดกลุ่มลูกค้าออกมาได้อย่างชัดเจนแล้ว ลำดับต่อมา คือ การจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มลูกค้า เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะมีกลุ่มลูกค้าเพียงกลุ่มเดียว โดยเราต้องพิจารณาอย่างรอบด้านว่า กลุ่มลูกค้าใดจะเป็นเป้าหมายหลัก และกลุ่มใดจะเป็นเป้าหมายรอง เพียงเท่านี้ การสร้างแบรนด์ก็จะง่ายขึ้นไปอีกขึ้น

3. รู้จักคู่แข่ง

การสร้างแบรนด์ในยุคดิจิทัล

เมื่อรู้จักตัวเองและกลุ่มลูกค้าดีแล้ว ลำดับถัดมาของการสร้างแบรนด์ คือ การรู้จักคู่แข่งในท้องตลาด ว่า เรามีคู่เทียบในธุรกิจมากน้อยแค่ไหน โดยอาจจะใช้คำถามเหล่านี้ในการหาคำตอบ เช่น

  • จำนวนคู่แข่งมากหรือน้อย
  • คู่แข่งมีการวางแผนในการสร้างแบรนด์อย่างไร
  • เสียงตอบรับของลูกค้า (Consumer Voice) ดีหรือไม่
  • แนวทางการสื่อสารของคู่แข่งกับลูกค้าว่าใช้วิธีใด 
  • จุดขายและเอกลักษณ์ของคู่แข่ง
  • จุดอ่อนหรือจุดที่ควรพัฒนาของคู่แข่ง เพื่อนำมาสร้างความแตกต่างในแบรนด์ดิ้งของเรา

4. ออกแบบแบรนด์

การสร้างแบรนด์4.0

หลังจากที่เราได้ทราบข้อมูลทั้งธุรกิจของตัวเอง ของคู่แข่ง และความต้องการของลูกค้าเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นตอนการสร้างแบรนด์ที่สำคัญ นั่นก็คือ การออกแบบแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นชื่อแบรนด์ สโลแกน โลโก้ เอกลักษณ์ และเรื่องราวของแบรนด์ โดยเราจะแบ่งออกเป็นดังนี้

  1. ชื่อแบรนด์ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการสร้างแบรนด์ที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งอื่น ๆ ดังนั้น เราจะต้องเลือกชื่อที่มีความเกี่ยวข้อง น่าจดจำ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และไม่ยาวจนเกินไป เพื่อให้ลูกค้าจดจำได้ง่าย
  2. สโลแกน ของแบรนด์ที่จะช่วยอธิบายผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรา และส่งข้อความที่จำเป็นไปยังลูกค้าได้ โดยสโลแกนที่ติดหูจะช่วยดึงดูดความสนใจและจดจำแบรนด์ได้ 
  3. โลโก้ เป็นสิ่งที่จะแสดงให้ลูกค้าเห็นเราเสมอในทุก ๆ ที่ เป็นส่วนสำคัญของการสร้างแบรนด์ ถ้าเรามีโลโก้ที่ดีก็จะทำให้ลูกค้าสามารถจดจำคุณได้ง่ายขึ้น โดยต้องคำนึงถึงแบบ อักษร และสีที่ใช้
  4. เรื่องราวของแบรนด์ จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้การสร้างแบรนด์ของเราประสบผลสำเร็จมากขึ้น เพราะเราสามารถแทรกแรงบันดาลใจในการสร้างแบรนด์นี้ขึ้นมา หรือความตั้งใจที่จะมอบให้ต่อลูกค้า เป็นการสร้างเรื่องราวดี ๆ ที่น่าจดจำให้แก่แบรนด์

5. กำหนดช่องทางสื่อสาร

branding strategy คือ

ในการสร้างแบรนด์ หลังจากที่เราได้รับแบรนด์มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อมา คือ การเผยแพร่แบรนด์ดิ้งของเราให้ทุกคนได้รู้จัก โดยเราควรเลือกช่องทางการสื่อสารจากพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของกลุ่มเป้าหมายหลัก ซึ่งวิธีที่นิยม คือ การสร้างคอนเทนต์ (Content Marketing) ที่มีคุณภาพในทุก ๆ ด้าน เนื่องจากคอนเทนต์หรือบทความเป็นสื่อที่เผยแพร่ผ่านทางออนไลน์ ซึ่งเหมาะกับการสร้างแบรนด์ในยุคดิจิทัล


ตัวอย่างการสร้างแบรนด์ในปัจจุบัน

ตัวอย่างการสร้างแบรนด์

หากพูดถึงการสร้างแบรนด์ในปัจจุบันที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างการสร้างแบรนด์เช่น หากคุณเบื่อที่จะต้องเดินเข้าโรงภาพยนตร์ แล้วไปนั่งดูหนังพร้อมคนอื่น ๆ คุณก็คงจะเลือกโหลดแอปพลิเคชันสำหรับดูหนังอย่าง เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) มาดูที่บ้านอย่างสบายใจ

โดยกลยุทธ์ของแบรนด์ Netflix นั่น คือ Content is King!! โดยการเพิ่มคอนเทนต์ภาพยนตร์และซีรีย์ที่หลากหลาย เข้าถึงยังง่าย สามารถเปิดดูได้ ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน เครื่องเล่นเพลย์สเตชั่น หรือสมาร์ททีวี 4K พร้อมทั้งปรับแต่งจัดคอนเทนต์ภาพยนตร์ที่เลือกจากความชอบของคนดูเป็นหลัก และที่สำคัญคือ การวางเป้าหมาย คือ การวาง Position ให้เป็น Entertaining Moment ของชีวิตผู้ชมบนโลกออนไลน์

แบรนด์ดิ้ง

อีกหนึ่งตัวอย่างการสร้างแบรนด์สำหรับสายเที่ยว ก็คงจะไม่แปลกใจ ถ้าหากคุณจะเลือกเข้าเว็บไซต์ของ เอ็กซ์พีเดีย (Expedia) เว็บไซต์จอง Online Travel Agency (OTA) ภายใต้สโลแกน “Your Trip, Your Way.” ที่ถึงแม้จะไม่มีหน้าร้านแต่ก็เป็นเว็บไซต์โปรดของนักท่องเที่ยวหลาย ๆ คน

โดย Expedia ประกาศตัวว่า “เป็นบริษัทท่องเที่ยวชั้นนำในการจองโรงแรม ตั๋วเครื่องบิน แพ็คเกจท่องเที่ยวออนไลน์ทั่วโลกแบบครบวงจรที่มีมากกว่า 1 ล้านรายการ” เรียกได้ว่า สามารถบริการการท่องเที่ยวได้อย่างครบวงจร และด้วยการสร้างแบรนด์ให้จดจำได้ ด้วยโลโก้รูปเครื่องบินสีเหลือง พื้นสีน้ำเงิน ตัวการ์ตูนมาสคอทหมีเอ็กซ์แบร์ (Exbear) น่ารักจดจำง่าย และมีดาว 5 ดวงติดตรงหน้าอก 


เคล็ดลับการสร้างแบรนด์ให้ยอดขายทะลุเป้า! 

นอกจาก 5  ขั้นตอนการสร้างแบรนด์แล้ว เราลองมาดูเคล็ดลับการสร้างแบรนด์ให้ยอดขายทะลุเป้ากันบ้าง ดังนี้

  • สร้างความแปลกใหม่หรือมีสิ่งใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจอย่างต่อเนื่อง
  • สร้างจุดยืนหรือสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำอย่างยาวนาน เน้นให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  • มีความเชี่ยวชาญ รู้ลึก รู้จริงในธุรกิจนั้น ๆ
  • ไม่จำเป็นต้องลด แลก แจก แถม มากเกินไป เพราะถ้าลูกค้าใช้ดีก็จะมีการบอกต่อเอง
  • เพิ่มช่องทางการขาย โดยเฉพาะเครือข่ายสังคมออนไลน์ ด้วยการหาตัวแทนที่สนใจขายสินค้าของเรา ก็จะช่วยเพิ่มยอดขายแบบก้าวกระโดด
  • รับฟังความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ และปรับเปลี่ยนให้ทันความต้องการ
  • หมั่นพัฒนาและต่อยอดธุรกิจอยู่เสมอ

คำถามที่พบบ่อย 

หลาย ๆ คนอาจจะมีคำถามว่า ในการสร้างแบรนด์ เราควรจะทำอย่างไร เราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยมาตอบไว้ตรงนี้แล้ว

1. ในการสร้างแบรนด์ควรคำนึงถึงสิ่งใดมากที่สุด? 

ในการสร้างแบรนด์ในยุคดิจิทัลแบบนี้ สิ่งที่เราต้องการ คือ การขายผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราได้ ดังนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุด คือ กลุ่มลูกค้า ว่า เป็นกลุ่มคนประเภทใด มีช่วงอายุเท่าไร มีความต้องการในสินค้าของเราอย่างไร เพื่อที่เราจะสามารถสร้างแบรนด์ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้

2. สร้างแบรนด์ตัวเองใช้เวลานานเท่าไหร่?

สำหรับการสร้างแบรนด์4.0 ในยุคสมัยนี้ มีการใช้เวลาที่แตกต่างกัน ด้วยหลาย ๆ องค์ประกอบ เช่น 

  • ระยะเวลาในการรู้จักธุรกิจของตัวเอง ต้องการจะพัฒนาต่อยอดให้ดีกว่านี้ หรือจะตัดสินใจออกสู่ตลาดเลย
  • ระยะเวลาในการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า แล้วนำข้อมูลมาต่อยอดกับสินค้าของตัวเอง
  • ระยะเวลาในการศึกษาคู่แข่ง เพื่อนำมาสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจของเรา
  • ระยะเวลาในการออกแบบแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นโลโก้ สโลแกน บรรจุภัณฑ์ หรืออื่น ๆ อีกมากมาย
  • ระยะเวลาในการกระจายข้อมูลของสินค้า เพื่อให้ลูกค้าได้รู้จัก
  • ระยะเวลาที่กว่าแบรนด์ดิ้งของเราจะเป็นที่รู้จัก

ดังนั้น จึงไม่สามารถตอบได้ว่า การสร้างแบรนด์จะต้องใช้เวลานานเท่าไร เนื่องจากการสร้างแบรนด์ของแต่ละคนก็ล้วนแต่มีองค์ประกอบเหล่านี้ที่แตกต่างกัน หากแต่ใครที่เตรียมตัวและลงมือได้ไวกว่า ก็ย่อมประสบความสำเร็จได้ไวกว่าเช่นกัน


ข้อสรุป 

การสร้างแบรนด์ คือ การถ่ายทอดภาพลักษณ์ บุคลิกและความเป็นตัวตนของแบรนด์ ผ่านการสื่อสารในช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าได้รู้จักและจดจำได้ดีกว่าแบรนด์ของคู่แข่ง โดยเฉพาะการสร้างแบรนด์ธุรกิจดิจิทัลที่ถือว่ากำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ ดังนั้น การมีแบรนด์ที่แข็งแกร่งถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะช่วยให้บริษัทสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน