Data Warehouse คลังข้อมูลขนาดใหญ่ที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม

Data Warehouse องค์ประกอบ

ข้อมูลปัจจัยสำคัญสำหรับการขับเคลื่อนธุรกิจในยุค 2.0 ที่ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมทางการตลาดหรือการดำเนินการภายในก็ล้วนต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจทั้งสิ้น Data Warehouse ตัวช่วยสำหรับการเก็บรักษาและจัดการข้อมูลขนาดใหญ่อย่างปลอดภัยและเป็นระบบ Data Warehouse คืออะไร ใช้งานอย่างไร แล้วมีความสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ สามารถหาคำตอบของทุกคำถามได้ในบทความนี้

Data Warehouse คืออะไร สำคัญอย่างไรกับโลกธุรกิจ

Data Warehouse (ดาต้าแวร์เฮ้าส์) คือระบบคลังข้อมูลขนาดใหญ่ที่ช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่มา หลากหลายช่วงเวลา หลากหลายรูปแบบไว้อย่างเป็นระเบียบในที่เดียว ด้วยความที่ Data Warehouse เป็นคลังข้อมูลที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้อย่างเป็นระเบียบ Data Warehouse จึงช่วยให้คุณสามารถหาข้อมูลในทุกช่วงเวลาได้อย่างง่ายดาย ลดโอกาสในการทำข้อมูลสูญหาย และยังช่วยลดเวลาในการทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลในหลากหลายช่วงเวลาได้อีกด้วย

โลกธุรกิจในยุคปัจจุบันยิ่งมีข้อมูลอยู่ในมือมากเท่าไหร่ ไม่ว่าคุณจะเข้าไปเจาะตลาดไหนคุณก็มีชัยไปกว่าครึ่ง Data Warehouse หรือฐานข้อมูลธุรกิจจึงมีความสำคัญกับการทำธุรกิจในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดย Data Warehouse ของบริษัทไม่จำเป็นต้องเป็นคลังข้อมูลที่จัดทำขึ้นเองเสมอไป เพราะในปัจจุบันมีบริษัทที่ให้บริการด้าน Data Warehouse มากมายคอยให้บริการ

Data Warehouse ไม่ได้มีดีแค่เพียงการจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น เพราะ Data Warehouse ยังสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่จากข้อมูลที่จัดเก็บภายในคลังข้อมูลได้อีกด้วย (Business Intelligence Data Warehouse) เรียกว่านอกจากจะสามารถจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบได้แล้ว Data Warehouse ยังช่วยประหยัดเวลา ค้นหา Insight และเพิ่มความแม่นยำด้านการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับธุรกิจได้อีกด้วย Data Warehouse จึงเป็นหนึ่งในตัวจัดการข้อมูลสำคัญที่ธุรกิจในยุคปัจจุบันไม่ควรมองข้าม


ประเภทของ Data Warehouse ตามโครงสร้าง

หลังจากทราบกันแล้วว่า Data Warehouse คืออะไร หัวข้อนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ Data Warehouse แต่ละประเภท ถ้าอยากรู้กันแล้วว่า Data Warehouse มีอะไรบ้าง แล้ว Data Warehouse องค์ประกอบภายในของแต่ละประเภทเป็นอย่างไร สามารถติดตามต่อได้ในเนื้อหาด้านล่าง

1. ข้อมูลที่โครงสร้างชัดเจน (Structured Data)

ข้อมูลบน Data Warehouse ประเภทโครงสร้างชัดเจนจะเป็นข้อมูลที่ง่ายต่อการจัดเก็บ การใช้งาน และการตรวจสอบ เช่น Google Sheet, ข้อมูลส่วนตัว, เอกสารต่าง ๆ และอื่น ๆ ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บอยู่บน Data Warehouse ประเภทนี้เป็นข้อมูลที่เกิดก่อน Big Data ปัจจุบันจึงไม่ค่อยได้เห็นข้อมูลโครงสร้างชัดเจนบน Data Warehouse มากนัก

2. ข้อมูลที่โครงสร้างไม่ชัดเจน (Unstructured Data)

ข้อมูลบน Data Warehouse ประเภทโครงสร้างไม่ชัดเจนจะเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างไม่เป็นระเบียบ เช่น วิดิโอ ภาพถ่าย ไฟล์เสียง ข้อความ ไฟล์สกุล PDF และอื่น ๆ  ข้อมูลประเภทนี้เป็นข้อมูลที่ใช้เวลาในการจัดระเบียบนานกว่าข้อมูลประเภทอื่น ๆ บน Data Warehouse เนื่องจากเป็นข้อมูลที่มาจากหลากหลายแหล่งที่มา แถมข้อมูลประเภทนี้ยังมีการอัปเดตอยู่สม่ำเสมอ จึงค่อนข้างยากต่อการจัดระเบียบด้วยมนุษย์

3. ข้อมูลกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Data) 

ข้อมูลบน Data Warehouse ประเภทข้อมูลกึ่งโครงสร้าง ข้อมูลประเภทนี้จะเป็นข้อมูลที่อยู่กึ่งกลางระหว่างข้อมูลประเภทโครงสร้างชัดเจน และโครงสร้างไม่ชัดเจน จะเป็นข้อมูลที่นำข้อดีของทั้งสองโครงสร้างมารวมกัน ทำให้ข้อมูลประเภทนี้สามารถจัดเก็บแบบ Unstructured Data ได้ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ง่าย เช่น ไฟล์ CSV, ไฟล์ JSON, Web Blog, Hashtag และอื่น ๆ 


Data Warehouse กับ Database เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

 ดาต้าแวร์เฮ้าส์

สำหรับท่านที่สงสัยว่า Data Warehouse กับ Database แตกต่างกันอย่างไรในเมื่อทั้งสองเป็นฐานข้อมูลเหมือนกัน เราบอกเลยว่าทั้งสองต่างกันที่ขนาดของฐานข้อมูล โดย Database จะเป็นฐานที่มูลที่มีขนาดเล็กที่สุด สามารถเก็บได้แค่ข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน ไม่สามารถรองรับ Big Data ได้ การใช้งานของ Data Warehouse และ Database จึงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

หากจะให้ยกตัวอย่างระบบการเก็บข้อมูลของ Database การเก็บข้อมูลประเภทนี้จะคล้ายการเก็บข้อมูลภายใน Google Drive ที่ส่วนมากจะสามารถเก็บข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน เช่น ไฟล์ PDF, ไฟล์ CSV, ไฟล์รูปภาพ, ไฟล์วิดิโอ และอื่น ๆ โดยที่ระบบจะไม่สามารถแยกประเภทและนำข้อมูลภายในออกมาวิเคราะห์หรือใช้ได้เองด้วยตัวระบบ จำเป็นต้องใช้มนุษย์ในการหา Insight ของข้อมูล และแบ่งข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่ ตรงข้ามกับ Data Warehouse ที่สามารถแยกประเภทข้อมูลและรันข้อมูลภายในได้ผ่านระบบต่าง ๆ 


Header Tag 2 : Data Warehouse มีประโยชน์อย่างไรในเชิงธุรกิจ

Business intelligence Data Warehouse

หลังจากทราบกันแล้วว่า Data Warehouse ต่างจากการเก็บข้อมูลรูปแบบอื่นอย่างไร หัวข้อนี้เราจึงจะมาพูดถึงประโยชน์ในเชิงธุรกิจกันบ้าง ข้อแรกคือประโยชน์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล อย่างที่เรากล่าวไปข้างต้นว่า Data Warehouse สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ภายในได้ แต่ไม่ใช่แค่นั้นเพราะ Data Warehouse ยังสามารถวิเคราะห์และตัดสินใจด้านกลยุทธ์แบบ Real Time ผ่าน Data Warehouse bi หรือระบบติดตามข้อมูลได้อีกด้วย

Data Warehouse สามารถเก็บข้อมูลขนาดเล็กจากหลายแหล่งเพื่อนำมาประกอบกันเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ได้ อย่างที่เราทราบกันดีว่าธุรกิจมีข้อมูลหลากหลายส่วน Data Warehouse Data Mart จึงเป็นระบบสำคัญที่ช่วยนำข้อมูลขนาดเล็กมารวมกันเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ผ่าน ELT Data Warehouse เพื่อแปลงให้เป็นชุดข้อมูลพร้อมใช้งาน

สุดท้ายคือประโยชน์ด้านความมั่นคงอย่างที่เราทราบกันดีว่าโลกธุรกิจในยุคปัจจุบันแข่งกันด้วยข้อมูล การที่เรามีข้อมูลขนาดใหญ่ภายใน Data Warehouse เป็นของตัวเอง จะช่วยให้ธุรกิจมีความมั่นคงมากขึ้น และช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจในระยะยาว

Data Warehouse จำเป็นแค่ไหนกับธุรกิจ? 

สำหรับท่านที่กำลังพิจารณาว่า Data Warehouse เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อธุรกิจของท่านหรือไม่ หัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงเหตุผลที่ต้องมี Data Warehouse ในธุรกิจ จะมีเหตุผลใดบ้างมาดูกัน 

อย่างที่เราบอกไปข้างต้นว่า Data Warehouse มีประโยชน์กับธุรกิจในหลากหลายแง่มุม ทั้งด้านการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่จากหลากหลายช่วงเวลา หลากหลายแหล่งที่มา และด้านการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการหา Insight อย่างแม่นยำที่ช่วยลดเวลาและเพิ่มความแม่นยำให้กับการวิเคราะห์ข้อมูล แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของ Data Warehouse คือการที่เราสามารถจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ในมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างที่เราทราบกันดีว่าข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำธุรกิจ การที่ธุรกิจไม่มีข้อมูลอยู่ในมือ หรือต้องพึ่งข้อมูลจากแหล่งที่มาอื่น ๆ เป็นประจำนั้นค่อนข้างเสี่ยงสำหรับการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน Data Warehouse จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลในการดำเนินงาน


สรุปข้อดีของ Data Warehouse ในเชิงธุรกิจ

หลังจากอ่านบทความนี้จนจบเพื่อน ๆ คงเห็นกันแล้วว่าข้อมูลสำคัญอย่างไรสำหรับการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน สำหรับธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากในการดำเนินงาน Data Warehouse ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการมีข้อมูลอยู่ในมือ (Data Warehouse) ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยด้านความมั่นคงสำหรับธุรกิจในยุคนี้