โรคซึมเศร้าปัญหาสุขภาพจิตที่ควรได้รับการรักษา

โรคซึมเศร้า

ในปัจจุบันนี้รอบตัวของเราไม่ว่าจะดีหรือร้ายย่อมมีผลต่อความรู้สึกของคนที่พบเจอเสมอ ทั้งคำพูด ทั้งการกระทำ หรือบางเหตุการณ์ที่อาจจะถึงขั้นทำร้ายจิตใจของใครบางคนหรือตัวเราเลยก็ว่าได้ โดยที่ตัวเราเองก็อาจจะไม่รู้ตัว ทุกวันนี้คนจำนวนมากยังไม่รู้ว่ากำลังมีคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ และมีอีกหลายคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองอาจจะเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ก็ได้

วันนี้ทางเราจึงจะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า  เพื่อให้ทำการสำรวจตนเองและคนรอบตัวว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่



โรคซึมเศร้าคืออะไร และมีกี่ประเภท

โรคซึมเศร้า คือ ความผิดปกติของอารมณ์ที่เกิดจากสารเคมี เซโรโทนิน (Serotonin) ที่อยู่ในสมองลดลง จึงส่งผลทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการทางด้านร่างกาย จิตใจ ความคิด พฤติกรรม ด้วยความที่ผู้ป่วยนั้นมีอารมณ์ที่เศร้าหมองอย่างต่อเนื่อง มีความรู้สึกเฉยชา ความสนใจต่อสิ่งรอบข้างหรือสิ่งรอบตัวน้อยลง ในบางคนอาจจะรู้สึกไม่มีความสุขเลย มีความวิตกกังวล ทำให้ความสามารถในการทำงานแต่ละวันไม่คงที่ 

อีกทั้งยังสามารถก่อให้เกิดการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างยากลำบากจนตัวเองรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า หากผู้ป่วยยังปล่อยให้มีอาการเหล่านี้อยู่เป็นระยะเวลายาวนานผู้ป่วยอาจจะทำการคิดสั้นได้อีกด้วย

โดยประเภทของโรคซึมเศร้าสามารถทำการแบ่งออกตามพฤติกรรมที่ได้แสดงออกมา หรือภาวะทางอารมณ์ ดังต่อไปนี้

ซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า (MDD : Major Depressive Disorder) โดยเกิดจากสารเคมีสื่อประสาทในสมองมีการเกิดความผิดปกติ อาการที่ผู้ป่วยจะแสดงหรือรู้สึกคือจะมีความเศร้าอย่างต่อเนื่อง มีความทุกข์ในบางรายอาจถึงขั้นไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อในโลกนี้อีกเลยก็เป็นได้

ซึมเศร้าเรื้อรัง

โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Dysthymia) ด้วยความที่ผู้ป่วยได้มีการสะสมอาการเศร้ามาค่อนข้างที่จะยาวนาน ซึ่งมากกว่า 8 เดือนขึ้นไป ในบางรายอาจมีอาการเศร้าที่ไม่คงที่มานานนับหลายปี

ซึมเศร้าตามฤดูกาล

โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder : SAD) ซึ่งจะเกิดจากความแปรปรวนของฤดูกาล เช่น มีความเหนื่อยล้าจากการทำงานหรือเรียน มีความรู้สึกหดหู่ท้อแท้ ผู้ป่วยมีการแยกตัวออกมาจากสังคม โดยส่วนใหญ่แล้วอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงฤดูหนาวเป็นต้น

ซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือน 

โรคซึมเศร้าในกลุ่มคนที่มีอาการเศร้าก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Dysphoric Disorder : PMDD) ด้วยความที่ร่างกายของผู้หญิงเรานั้นจะมีการเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนก่อนมีประจำเดือน จึงสามารถส่งผลให้เกิดความเศร้า ซึม มีความท้อแท้ ยังรวมไปถึงไม่มีความสุขระหว่างวันอีกด้วย

ซึมเศร้าหลังคลอด 

โรคซึมเศร้าหลังคุณแม่ที่พึ่งคลอดบุตร (Postnatal Depression) ซึ่งจะเกิดจากการที่ร่างกายของผู้หญิงเรานั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาหลังคลอดทารกของคุณแม่ จึงอาจจะทำให้คุณแม่มีอาการเศร้า ซึมหลังคลอดได้


โรคซึมเศร้ามีอาการอย่างไร

อาการของคนที่มีภาวะเป็นโรคซึมเศร้า จะสามารถทำการแบ่งออกได้ตามรูปแบบของปัจจัยต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้มีดังนี้

  • เกิดจากสาเหตุสารเคมีในสมองของผู้ป่วยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติในปริมาณที่ลดลง ในปัจจุบันเิกดจากความบกพร่องทางกายในการเข้าควบคุมระบบประสาท
  • การพัฒนาสภาพจิตใจที่ไม่ค่อยมีความคงที่ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นคนคิดมาก ให้มีความรู้สึกไร้ค่า ทั้งในแง่ลบและแง่ร้าย ในบางท่านอาจจะพบเจอเหตุการณ์ที่ทำให้มีความกดดัน เช่น ถูกทิ้ง หย่าร้าง ตกงาน อกหัก ซึ่งอาการที่กล่าวมานี้จะสามารถส่งผลให้มีแนวโน้มเป็นภาวะซึมเศร้าได้ง่าย จนอาจถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าเลยหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม
  • เกิดจากพันธุกรรมที่มีการถ่ายทอดลักษณะที่เหมือนกันจากบรรพบุรุษรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง จะเรียกว่าลักษณะทางพันธุกรรมก็ได้ ด้วยพันธุกรรมนี้จะสามารถถ่ายทอดทั้งลักษณะทางกายภาพแม้แต่ตัวโรค หรือความผิดปกติของร่างการได้อีกด้วย
  • ในบางรายสาเหตุของอาการโรคซึมเศร้าอาจจะเกิดจากสิ่งเร้ารอบตัวที่เข้าไปกระตุ้นการทำงานของร่างกายจนเกิดผลกระทบได้เช่นเดียวกัน

วิธีในการรักษาโรคซึมเศร้ามีอะไรบ้าง

วิธีในการรักษาโรคซึมเศร้าในปัจจุบันนี้สามารถทำการช่วยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าให้หายเป็นปกติได้ จนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ มีวิธีการดังนี้

  • รักษาด้วยจิตบำบัด เป็นการรักษาหลักในปัจจุบัน ด้วยการนำผู้ป่วยมาพูดคุยให้คำปรึกษา ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความเครียดสะสมได้ ร่วมด้วยการรักษาด้วยกลุ่มยาที่ช่วยอาการซึมเศร้า ซึ่งผู้ป่วยจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เมื่อได้รับการรักษาทันที ไม่ปล่อยให้ตนเองมีอารมณ์เศร้าซึมที่นานเกินไป
  • การรักษาด้วยยา วิธีนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคซึมเศร้าที่รุนแรงมากกว่าการรักษาด้วยจิตบำบัด แพทย์ที่ทำการดูแลจะทำการสั่งยาที่สามารถปรับสารสื่อประสาทในสมองของคนไข้ ซึ่งสามารถช่วยควบคุมอารมณ์ได้ เมื่ออาการของโรคซึมเศร้าลดลง แพทย์จะเห็นควรในการลดยาที่คนไข้ทานได้
  • การรักษาด้วยไฟฟ้า วิธีนี้จะรักษาด้วยระบบไฟฟ้า เนื่องจากคนไข้มีอาการซึมเศร้าเรื้อรังมาเป็นเวลานาน อีกทั้งไม่หายจากการรักษาด้วยจิตบำบัดและรักษาด้วยยา โดยวิธีนี้แพทย์จะทำการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านศีรษะลงไปที่เซลล์สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรคซึมเศร้านั้นเอง
วิธีรักษาโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าสามารถรักษาหายได้ไหม ?

โรคซึมเศร้าถือว่าเป็นโรคที่มีโอกาสรักษาให้หายได้ แต่เพียงแค่ต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ต้องมีการสอบถามอาการและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย เพื่อให้แพทย์ทำการประเมินว่าอยู่ในระดับความรุนแรงมากแค่ไหน สำรวจโรคประจำตัว ยาที่รับประทานประจำ ไปจนถึงการใช้ชีวิตประจำวัน จากนั้นแพทย์จะทำการประเมินว่าควรรักษาแบบใด 

เพราะฉะนั้นถ้าหากเริ่มสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการที่บ่งชี้ว่าอาจจะเป็นโรคซึมเศร้าควรรีบทำการมาพบแพทย์ทันที เพราะการได้รับการรักษาเร็วก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการหายได้รวดเร็วและดีกว่าอีกด้วย


หากมีคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า ควรรับมืออย่างไร

หากมีคนใกล้ตัวที่อาการของโรคซึมเศร้าหรือเป็นโรคซึมเศร้าไปแล้ว การปฏิบัติตัวของผู้ที่มีความใกล้ชิดกับผู้ป่วย สามารถทำตามคำแนะนำอย่างเหมาะสมในการปฏิบัติตัวได้ ดังต่อไปนี้

  • คนที่มีความใกล้ชิดควรทำการศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าก่อน เพื่อทำความเข้าใจถึงสาเหตุ การรักษา และวิธีการพูดคุยอย่างไรให้ถูกต้องเหมาะสม
  • คนที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า คุณสามารถทำการพูดคุยกับผู้ป่วยได้ พร้อมทั้งยังเป็นผู้ที่คอยรับฟังที่ดีต่อผู้ป่วยซึมเศร้าแสดงให้เห็นถึงความจริงใจที่พร้อมจะรับฟังและให้ความช่วยเหลือได้ อีกทั้งยังสามารถแสดงความห่วงใยในการให้กำลังใจ สนับสนุนผู้ป่วยซึมเศร้า และยังสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีเป้าหมายในการรักษาโรคซึมเศร้าให้หายเป็นปกติได้อีกด้วย
  • การสังเกตอาการ ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนภัยก่อนผู้ป่วยไม่อยากมีชีวิตอยู่บนโลกนี้อีกแล้ว

สรุปเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

สรุปโดยรวมแล้วอาการของโรคซึมเศร้านั้น สามารถเป็นได้ในทุกวัย ไม่จำกัดเพศ อีกทั้งยังไม่ใช่บุคคลที่อ่อนแอ และท้อแท้ต่อสิ่งต่างๆได้ง่าย สิ่งที่สามารถช่วยให้คุณสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้นั้น คือการสังเกตอารมณ์ของตัวเองอยู่เสมอ จัดการความเครียด เพื่อที่จะสามารถป้องกันสาเหตุที่เกิดโรคซึมเศร้าได้นั้นเอง