บุหรี่มวน (Cigarette) รู้ว่าเสี่ยงแต่ยังต้องลอง
บุหรี่เป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่มีสารนิโคตินทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นยามได้สูบ ซึ่งบุหรี่มวน (Cigarette) ได้รับความนิยมมาหลายยุคหลายสมัย ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ถือได้ว่าเปรียบเสมือนยาสามัญประจำบ้านที่อยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน ถึงแม้ว่าจะรู้ว่าไม่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ยากที่จะทำให้เลิกสูบได้
ปัจจุบันนี้วิธีการสูบบุหรี่ที่หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น มวน, ไปป์, ซิการ์, ยาเส้น หรือบุหรี่ไฟฟ้า การเลือกสูบในรูปแบบไหนล้วนแล้วขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของแต่ละบุคคล โดยสิ่งหนึ่งที่บุหรี่ทุกประเภทไม่อาจทิ้งลงได้ นั่นก็คือสารเสพติดอย่างนิโคติน ความเป็นมาของบุหรี่มีที่มาอย่างไร สูบแล้วมีพิษภัยอะไรบ้าง คอลัมน์นี้เราจะพาไปคุณไปหาคำตอบกัน
ประวัติบุหรี่ กว่าจะมาถึงวันนี้
ต้นกำเนิดของบุหรี่จริง ๆ แล้วอยู่ในทวีปอเมริกา จากบันทึกของบคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสผู้ค้นพบเผ่าอินเดียนแดง ได้ระบุไว้ว่าในปี พ.ศ. 2035 พบการใช้ใบไม้มามวนแล้วจุดไฟตอนปลายดูดควัน โดยชาวเผ่าอินเดียนแดงเป็นผู้คิดค้นนำใบยาสูบมาใช้ในการทำยาและพิธีกรรมต่าง ๆ
ในปี พ.ศ. 2091 ได้พบการปลูกยาสูบขึ้นบริเวณประเทศบราซิลซึ่งเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ทำให้ใบยาสูบเป็นสินค้าส่งออกที่แพร่หลายทั้งในโปรตุเกสและสเปน จากนั้นการค้าขายใบยาสูบก็เริ่มแผ่ขยายไปในประเทศอังกฤษ จนทำให้อังกฤษเป็นเจ้าแรกที่ประสบความสำเร็จในการปลูกยาสูบเชิงพาณิชย์ จนสามารถทำรายได้มหาศาล และยังส่งออกไปยังประเทศอาณานิคม จากนั้น 200 ปีต่อมา การค้าขายยาสูบก็แพร่หลายไปทั่วโลก
จนในที่สุดก็มาถึงประเทศไทย โดยจดหมายเหตุของ เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ได้ระบุไว้ว่าในสมัยอยุธยา ประเทศไทยได้รับยาสูบมาจากเมืองมะนิลาในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มให้มีการประดิษฐ์บุหรี่ก้นป้านเพื่อสูบควันพร้อมกับอมยากับหมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ก็มีบริษัทบุหรี่ของอังกฤษตั้งขึ้นในประเทศไทย สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเลยทรงนำเข้าเครื่องจักรจากเยอรมนีมาผลิตยาสูบเอง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลก็จัดตั้งโรงงานยาสูบอย่างเป็นทางการจนถึงปัจจุบัน ทำให้เราได้สูบบุหรี่กันอย่างแพร่หลายในทุกวันนี้
บุหรี่มวนที่ใช้ส่วนประกอบอะไรบ้าง
น้อยคนนักที่จะรู้ว่าจริง ๆ แล้วบุหรี่มวนนั้นประกอบด้วยอะไร ส่วนมากแล้วซื้อเพื่อสูบโดยไม่ได้คำนึงถึงส่วนประกอบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น อย่างแรกเราจะพาคุณไปดูกันว่าส่วนประกอบในการทำบุหรี่มวนมีอะไรบ้าง เมื่อคุณสูบบุหรี่จะได้รับรู้ว่ากลิ่นที่สัมผัสเหล่านั้นมีที่มาดังนี้
- กระดาษ : ใช้สำหรับห่อบุหรี่ ส่วนมากจะใช้กระดาษที่ใช้ห่อใบยาสูบและก้นกรองสูบ จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 มิลลิเมตร มีความยาว 120 มิลลิเมตร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเพราะหากชำรุดเสียหายก็จะทำให้ใบยาสูบทะลักออกมา ผิดรูป ทำให้คุณจับไม่ถนัด และสูบบุหรี่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- ก้นกรอง : สำหรับสูบบุหรี่ การใช้ก้นกรองที่มีคุณภาพควรทำมาจากใยสังเคราะห์ซึ่งมีเซลลูโลสอะซีเตทเป็นส่วนประกอบ ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้น ช่วยในการกรองควันบุหรี่จากน้ำมันดินหรือทาร์ และเป็นส่วนที่สัมผัสริมฝีปากมากที่สุด
- สารสำหรับสูบ : ใบยาสูบเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้คุณรู้สึกฟินเมื่อเกิดการเผาไหม้ขณะสูบ โดยส่วนมากใบยาสูบได้ผ่านกรรมวิธีทางเคมี มีการปรับปรุงแต่งเติมส่วนประกอบต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับความชื่นชอบของคนทั่วไป
บุหรี่ไฟฟ้าสูบสบายปลอดภัยกว่าบุหรี่มวนจริงหรือ
สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้า คงนึกภาพไม่ออกว่ามันมีหน้าตาเป็นอย่างไร ที่จริงแล้วการสูบบุหรี่ไฟฟ้ากับบุหรี่มวนไม่ค่อยแตกต่างกันมาก มีกระบวนการเผาไหม้เหมือนกัน เพียงแค่ใช้กลไกที่ต่างกัน แต่การสูบบุหรี่มวนจะมีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ไฟฟ้าที่มีทั้งสารคาร์บอนมอนอกไซด์ นิโคติน และน้ำมันดินหรือทาร์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง และโรคร้ายแรงต่าง ๆ ทั้งนี้การสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ต้องการเลิกบุหรี่ เนื่องจากยังคงมีสารนิโคตินอยู่
ผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากมีสารเสพติดที่เรียกว่านิโคติน เมื่อสูบเข้าไปแล้วจะทำให้สุขภาพอ่อนแอลง มีผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกาย บุหรี่มีสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ทำให้เสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิเช่น
- โรคมะเร็งปอด
- โรคถุงลมโป่งพอง
- โรงหัวใจและหลอดเลือด
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคสมองเสื่อม
อัตราการเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่และความเสี่ยงในการเกิดโรค
องค์การอนามัยโลกได้ระบุว่าประชากรที่เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่มีจำนวนมากกว่า 5,000,000 คนต่อปี สำหรับประเทศไทยข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ระบุว่าพบผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่มากกว่า 70,000 คนต่อปี การสูบบุหรี่จะส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคหัวใจตีบตัน เนื่องจากควันบุหรี่มีสารพิษหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดและหัวใจ โดยที่ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 ของผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นผลมาจากการสูบบุหรี่
สรุป
บุหรี่มีสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด นอกจากนี้ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น จนเกิดปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือด ถึงแม้ว่าผู้ผลิตจะออกแบบบุหรี่ให้ใช้งานในรูปแบบของบุหรี่ไฟฟ้า แต่ก็ยังคงมีสารพิษที่ทำร้ายร่างกายอยู่ดี เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและคนในครอบครัว จึงไม่ควรสูบบุหรี่