สิ้นเดือนที่สุขใจ อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม ด้วยเคล็ดลับง่าย ๆ

สิ้นเดือน

ปัญหาเรื่องการใช้เงินเป็นปัญหาที่ชาวมนุษย์เงินเดือนหลายคนต้องเผชิญ เช่น เงินไม่พอใช้ ใช้เงินจนเกินตัว รายจ่ายมากกว่ารายรับ ทั้งหมดนี้มาจากกการที่ไม่รู้จักวางแผนทางการเงินให้ดี จนตกอยู่ในความรู้สึกที่เรียกว่า สิ้นเดือนทีไรเหมือนสิ้นใจทุกที

สิ้นเดือนใหม่นี้เป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะวางแผนเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาวิธีการใช้เงินของเราให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับอนาคตที่เต็มไปด้วยความสุขและความเป็นอิสระทางการเงิน


5 เคล็ดลับ เปลี่ยนสิ้นเดือนให้มีความสุข

เงินเดือนออกสิ้นเดือน

ชาวมนุษย์เงินเดือนหลายคนที่ต้องรอเงินเดือนออกสิ้นเดือนเพื่อมาใช้เงินกันเดือนต่อเดือน จนทำให้ไม่มีเงินเก็บ เงินไม่พอใช้ อยากที่ลองปรับพฤติกรรมใหม่เพื่อให้ตนเองมีวินัยทางการเงินมากขึ้น หมดปัญหาสิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจสักที

1. ทำบัญชีรายรับรายจ่าย

ก่อนจะสิ้นเดือนคุณต้องปรับการจัดการทางการเงินของคุณใหม่ ไม่ว่าจะเงินเดือน เงินจากรายได้เสริม หรือเงินเก็บ โดยเริ่มจากการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ที่เป็นเสมือนสมุดบันทึกข้อมูล รายละเอียดทุกครั้งที่มีการได้รับและใช้จ่ายเงินออกไป 

เริ่มต้นด้วยการบันทึกรายรับและรายจ่ายทั้งหมดในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น เดือนหรือสัปดาห์ โดยระบุรายละเอียด เป็นรายการต่าง ๆ ที่ใช้ไปทั้งจำนวนเงิน และวัตถุประสงค์ของรายการนั้น ๆ เพื่อระบุให้ชัดเจนเงินจำนวนนั้นเอาไปใช้ทำอะไรบ้าง ให้ความสำคัญกับรายการที่จำเป็น และรักษาความสมดุลระหว่างรายรับและรายจ่ายที่เกิดขึ้น การติดตามรายรับรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอช่วยให้เราเข้าใจว่าที่มาที่ไปของเงินเป็นอย่างไรบ้าง ส่วนใหญ่เงินหมดไปกับอะไร และเราจะได้คำนวณเพื่อประมาณการใช้งานของเราได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น มีเงินใช้ถึงสิ้นเดือนและเหลือเก็บออม

2. วางแผนการเงินใหม่

การวางแผนการเงินใหม่เพื่อให้สามารถอยู่ได้ถึงสิ้นเดือนเป็นขั้นตอนสำคัญในการบริหารจัดการเงินตั้งแต่ขั้นตอนแรก เพื่อรีสตาร์ทตนเอง ทบทวนเรื่องของเป้าหมายว่า เราควรจะใช้เงินเท่าไร แล้วมีเงินเก็บเท่าไร จากนั้นเราจะสามารถกำหนดเป้าหมายที่ต้องการในการบริหารจัดการเงินครั้งนี้ได้ เช่น การออมเงินหลังจากค่าใช้จ่ายพื้นฐาน การลดหนี้สิน หรือการเก็บเงินเพื่อไปลงทุน

เมื่อมีการกำหนดเป้าหมายแล้ว สิ่งที่ต้องทำลำดับถัดไปคือ การวางแผนว่าเราจะใช้เงินอย่างไรบ้าง อาจแบ่งเป็นรายสัปดาห์ เช่น สัปดาห์นี้เราจะใช้เงินเท่านี้ และจะต้องซื้ออะไรบ้าง จากนั้นในแต่ละสัปดาห์ก็เริ่มจากการวางแผนเล็ก ๆ แบบนี้ไปเรื่อย ๆ เพื่อให้เรารู้ว่าถ้าครบ 1 เดือนเราใช้เงินไปเท่า กับอะไรบ้าง 

หรือบางคนอาจแบ่งแผนการเงินเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เช่น 

  • ระยะสั้นช่วง 1 – 3 ปี ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีเงินเก็บในธนาคารให้ครบ 3 แสนบาท 
  • ระยะกลางช่วง 3 – 5 ปีตั้งเป้าว่าจะออกรถยนต์ ซื้อบ้านไม่ว่าจะซื้อด้วยเงินสดหรือผ่อนก็ตาม 
  • ระยะยาว 5 ปีขึ้นไป ตั้งเป้าไว้ว่าก่อนจะเกษียณอายุจะมีเงินเก็บอย่างน้อย 10 ล้าน เพื่อเอาไว้ใช้จ่ายตอนเกษียณอายุ

3. ลิสต์รายจ่ายจำเป็นออกมาทั้งหมด 

เงินเดือนออกสิ้นเดือนที่ได้รับในช่วงต้นเดือนมันจะมาเป็นก้อนสำหรับมนุษย์เงินเดือน ซึ่งเงินเดือนก้อนนี้จะเป็นสิ่งที่ให้คุณเอาไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าอาหาร ชอปปิง ค่าเดินทาง ค่าไปเที่ยวต่างจังหวัด และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย การที่จะให้เงินเดือนเหลือถึงสิ้นเดือน หรือมีเงินเก็บ สิ่งที่ควรทำอีกหนึ่งสิ่ง คือ ลิสต์รายจ่ายทั้งหมดในแต่ละเดือน รายจ่ายต้องเป็นรายจ่ายที่จำเป็นเท่านั้น ที่ใช้จ่ายอยู่แล้วของของแต่ละเดือน เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเน็ตโทรศัพท์มือถือ ค่าผ่อนรถ 

หลังจากที่คุณลิสต์รายจ่ายจำเป็นออกมาทั้งหมด จะทำให้คุณเข้าใจว่าค่าใช้จ่ายที่ใช้ไป ใช้จ่ายอะไรไปแล้วบ้าง และจะรู้ว่าในเดือนนั้นคุณจะเหลือเงินเก็บ หรือเหลือเงินใช้ถึงสิ้นเดือนได้เท่าไร หากพบว่าเงินเหลือถึงสิ้นเดือนแน่ ๆ คุณอาจจะเอาเงินที่เหลือทั้งหมดเก็บเอาไว้ หรืออาจจะเอาไปต่อยอดในการลงทุน เพื่อให้เงินเพื่อมากขึ้น

4. เริ่มต้นออมเงินอย่างเป็นระบบ

เริ่มต้นออมเงินอย่างเป็นระบบเป็นการวางแผนทางการเงินให้กับตนเอง ด้วยจุดประสงค์ตามความต้องการของคุณ บางคนอาจจะมีเป้าหมายที่ไม่เหมือนกัน อาจจะแค่ให้มีเงินเก็บโดยไม่ใช้จ่ายจนหมดก่อนถึงสิ้นเดือน หรือบางคนอาจจะออมเงินเพื่อเอาไว้สร้างครอบครัวกับคนรัก การออมเงินอย่างเป็นระบบ มักจะเริ่มต้นมาจากความอดทน วินัยทางการเงิน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตแบบใหม่ที่เหมาะสมกับความตั้งใจที่ออมเงิน

มุ่งมั่นลงมือทำอย่างจริงจัง ซึ่งขั้นตอนนี้ในช่วงแรกอาจจะเป็นช่วงยากที่สุด เพราะจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากเดิม และต้องมีวินัยทางการเงินสูง แต่ถ้าหากตั้งใจทำมาสักระยะหนึ่งก็จะปรับตัวได้ ปละเริ่มเห็นผลลัพธ์

5. อย่าสร้างหนี้สินให้ตัวเอง

หากรู้ว่าตนเองชอบมีพฤติกรรมใช้เงินแบบเดือนชนเดือน สิ้นเดือนทีไรเงินก็ขัดสนทุกที นี่คือสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และปฏิบัติตามวิธีข้างต้นที่ได้แนะนำไป นอกจากนี้ การไม่สร้างหนี้สินก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหนี้สิน เปรียบเสมือนภาระที่ก่อกวนความสุขและความมั่นคงทางการเงิน  เช่น ลด ละ เลิก ซื้อสิ่งของที่ไม่จำเป็น หรือการใช้บัตรเครดิตอาจทำให้เกิดหนี้สินสะสมได้ จึงควรใช้บัตรเครดิตอย่างระมัดระวัง


สิ้นเดือนของคุณจะไม่เหมือนสิ้นใจอีกต่อไป

ต่อไปนี้ไม่ต้องรอคอยเงินเดือนออกสิ้นเดือนเพื่อให้เงินพอใช้ในเดือนถัดไป เพราะถ้าคุณได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงิน และดำเนินไปตามที่ตั้งเป้าหมายไว้แล้ว มั่นใจได้เลยว่าคุณไม่จำเป็นต้องรอคอยสิ้นเดือนอย่างกังวลใจอีก แถมยังมีเงินเก็บเพิ่มมากขึ้นสามารถนำไปต่อยอดอย่างอื่นได้ เช่น กองทุนรวม ประกันชีวิต และเงินฝากออมทรัพย์