|

ตรวจฮอร์โมนเพศหญิง สำคัญอย่างไร? ตรวจอะไรบ้าง?

เพราะร่างกายของผู้หญิงมีฮอร์โมนหลายตัวที่ช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งความผิดปกติของร่างกายผู้หญิง สามารถรู้ได้จากการตรวจฮอร์โมนเพศหญิง โดยการตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิงค่ะ การตรวจนี้ตรวจจากอะไร? หรือมีราคาเท่าไหร่? วันนี้เรามีรายละเอียดมาแนะนำค่ะ

รู้จักการตรวจฮอร์โมนเพศหญิง

การตรวจฮอร์โมนเพศหญิง คือ การตรวจหาความหาความผิดปกติของระบบภายในร่างกายผู้หญิง โดย วิธีตรวจฮอร์โมนเพศหญิงจะใช้การเจาะเลือด ซึ่งการตรวจขึ้นอยู่กับชนิดของฮอร์โมนแต่ละตัว บางตัวต้องตรวจขณะที่มีประจำเดือน บางตัวต้องตรวจขณะที่ไม่มีประจำเดือน เป็นต้น

ตรวจฮอร์โมนเพศหญิงมีความสำคัญอย่างไร

ตรวจฮอร์โมนเพศหญิงมีความสำคัญอย่างไร

เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายของผู้หญิงมีหลายตัว การตรวจฮอร์โมนเพศหญิงจึงมีความสำคัญ เพราะฮอร์โมนไม่สมดุลจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้

หากฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุลจะส่งผลอย่างไร

หากฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุลจะส่งผลกระทบในหลายด้าน อาทิ อารมณ์แปรปรวน, นอนไม่หลับ, ประจำเดือนมาผิดปกติ, ภาวะกระดูกพรุน รวมถึงมีบุตรยาก เป็นต้น

ตรวจฮอร์โมนเพศหญิงตรวจอะไรบ้าง

ตรวจฮอร์โมนเพศหญิงตรวจอะไรบ้าง

1. ตรวจวัดระดับฮอร์โมน Estradiol (E2)

คือ ฮอร์โมนเพศหญิงที่ร่างกายสามารถสร้างเอง ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับฮอร์โมนเอสโตรเจน

2. ตรวจวัดระดับฮอร์โมน Progesterone

เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนและการตั้งครรภ์โดยเฉพาะ

3. ตรวจวัดระดับฮอร์โมน FSH

คือ ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นไข่ให้สุก หากปราศจากตัวนี้ ส่งผลให้เป็นหมันได้

4. ตรวจวัดระดับฮอร์โมน LH

เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ที่จะถูกกระตุ้นออกมาในช่วงตกไข่ หากปราศจากตัวนี้อาจทำให้อยู่ในภาวะมีบุตรยาก

5. ตรวจวัดระดับฮอร์โมนต่อมหมวกไต

คนที่พักผ่อนน้อย จะทำให้ต่อมหมวกไตทำงานหนัก อยากทานแต่อาหารหวาน ส่งผลให้เกิดภาวะอ้วน และกระทบต่อการมีบุตรยากได้

ใครที่ควรตรวจฮอร์โมนเพศหญิง

ผู้ที่เหมาะแก่การตรวจฮอร์โมนเพศหญิง มีดังนี้

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • นอนไม่หลับ อ่อนเพลียง่าย
  • ซึมเศร้า
  • ความต้องการทางเพศต่ำ
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย
  • ผู้มีภาวะอ้วนลงพุง

ตรวจฮอร์โมนเพศหญิง ที่ไหนดี? สามารถเข้ารับบริการได้ทั้งที่โรงพยาบาลรัฐ, โรงพยาบาลเอกชน และคลินิกทั่วไปได้ค่ะ

การเตรียมตัวก่อนตรวจฮอร์โมนเพศหญิง

ก่อนการเข้ารับการตรวจฮอร์โมนเพศหญิง ควรเตรียมตัว ดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 7 ชั่วโมง
  • ไม่เหมาะกับผู้ที่อยู่ในช่วง 7 วัน ก่อนและหลังมีประจำเดือน
  • งดอาหารและน้ำดื่มก่อนการตรวจ 8-10 ชั่วโมง ยกเว้นน้ำเปล่าดื่มได้
  • หากมีผลการตรวจสุขภาพครั้งล่าสุด ควรนำมาให้แพทย์ด้วย
  • หากมีโรคประจำตัวหรือมีประวัติการรักษาก่อนหน้า ควรนำมาให้แพทย์ด้วยเช่นกัน

ขั้นตอนการตรวจฮอร์โมนเพศหญิง

ขั้นตอนการตรวจฮอร์โมนเพศหญิง

การตรวจฮอร์โมนเพศหญิง มีขั้นตอน ดังนี้

  •  มีการซักประวัติเบื้องต้นก่อน
  • ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน รอเข้าพบแพทย์
  • แพทย์จะซักประวัติอย่างละเอียดอีกครั้ง รวมถึงโรคประจำตัว และยาที่ใช้
  • เจาะเลือด เพื่อตรวจความผิดปกติของฮอร์โมน
  • รอผลตรวจ 2 ชั่วโมง โดยประมาณ

ผลการตรวจฮอร์โมนเพศหญิง

การตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิง โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงจะมีค่าปกติของแต่ละตัวที่สำคัญ ดังนี้

  •  ฮอร์โมน Estradiol (E2): ก่อนตกไข่ 12.5 – 166 pg/ml, วันตกไข่ 85.8 – 498 pg/ml และหลังตกไข่ 43.8 – 211 pg/ml
  • ฮอร์โมน Progesterone: ก่อนวันตกไข่ 0.2 – 1.5 ng/ml, วันตกไข่ 0.8 – 3.0 ng/ml และหลังตกไข่ 1.7 – 27 ng/ml
  • ฮอร์โมน FSH: 4-7mIU/ml
  • ฮอร์โมน LH: 5-25 IU/L

แนะนำวิธีรักษาสมดุลของฮอร์โมน

แนะนำวิธีรักษาสมดุลของฮอร์โมน

หากผลตรวจฮอร์โมนเพศหญิงออกมาแล้วมีผลที่ไม่สมดุล เรามีแนวทางในการรักษา ดังนี้

  • ใช้ฮอร์โมนทดแทน นิยมใช้กับหญิงวัยหมดประจำเดือน
  • ปรับเอสโตรเจนในช่องคลอด ซึ่งมีทั้งแบบทา, แบบเม็ด, แบบสอดในช่องคลอด และแบบแปะผิวหนัง เป็นต้น
  • ใช้ยาคุมกำเนิด เพื่อช่วยปรับความสมดุลของฮอร์โมน และทำให้ประจำเดือนมาปกติ
  • ใช้ยาต้านแอนโดรเจน เนื่องจากบางคนมีฮอร์โมนตัวนี้มากเกินไป

ข้อสรุป

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ผู้หญิงเราไม่ควรชะล่าใจกับสุขภาพของตัวเองนะคะ การตรวจฮอร์โมนเพศหญิงจะทำให้เรารู้ปัญหาสุขภาพของตัวเองได้ ซึ่งการตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิง ราคาจะเริ่มตั้งแต่ 6,000-12,500 บาท