กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ มีสาเหตุจากอะไร พร้อมวิธีรักษาและป้องกัน
การกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกช่วงอายุ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการรักษาเพื่อไม่ได้อาการแย่ไปมากกว่านี้ โดยเราจะมาหาคำตอบกันจากบทความต่อไปนี้
กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ
กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ จะมีอาการที่รู้สึกเจ็บและระคายเคืองภายในปากหรือลำคอ ขณะเวลากลืนน้ำลาย ดื่มน้ำ หรือกลืนอาหาร โดยอาจเกิดจากได้หลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อรา หรือโรคกรดไหลย้อน เป็นต้น ซึ่งล้วนส่งผลให้เกิดอาการอักเสบและระคายเคืองภายในลำคอ
ซึ่งจะมีวิธีการรักษาที่จะแตกต่างกันไปตามสาเหตุที่ทำให้เจ็บคอ เพราะฉะนั้นจึงควรสังเกตอาการของตัวเอง และเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอเป็นอย่างไร
โดยอาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ รวมถึงตอนดื่มน้ำ และกลืนอาหาร เป็นต้น ซึ่งหากสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในลำคอ อาจจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะปวดเมื่อยเนื้อตัว อาจมีตาแดง มีเสมหะ น้ำมูกสีเขียวหรือเหลือง คอแดง มีจุดขาวที่ต่อมทอนซิล กลืนลำบาก และเสียงเปลี่ยน
กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอเกิดจากสาเหตุใด
โดยสาเหตุของอาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
1. การติดเชื้อไวรัส
โดยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจ เช่น คอ หลอดลม จมูก ซึ่งทำให้มีอาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอได้ ซึ่งโรคที่พบได้บ่อย มีดังนี้
- โรคหวัด โดยมักเกิดจากการติดเชื้อไรโนไวรัส (Rhinoviruses) แต่ก็สามารถเกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสอื่น ๆ ได้เช่นกัน ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น เจ็บคอ ไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล มีไข้ ปวดหัว อ่อนเพลีย
- ไข้หวัดใหญ่ เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza) ทำให้มีอาการคล้ายกับโรคหวัด คือ เจ็บคอ ปวดหัว มีไข้ แต่มักจะมีอาการที่รุนแรงกว่า และเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน
- โรคเริมที่ปาก เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) ซึ่งอาจได้รับจากผู้อื่นผ่านทางการจูบหรือการมีเพศสัมพันธ์ทางปากโดยไม่ป้องกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลที่บริเวณริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น และคอ และอาจมีอาการเหงือกหรือคอบวม ทำให้มีอาการเจ็บคอเวลากลืนน้ำลาย
- โรคโมโนนิวคลิโอซิส (Mononucleosis) เป็นโรคที่ติดต่อผ่านทางน้ำลาย ซึ่งสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นผ่านทางการจูบ การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน หรือการรับประทานอาหารจานเดียวกัน โดยจะมีอาการเจ็บคอ เหนื่อยล้า เป็นไข้ ปวดหัว ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอและรักแร้บวม ต่อมทอนซิลบวม ม้ามบวม
- โรคโควิด-19 (Covid-19) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก และได้กลายพันธุ์เป็นหลากหลายสายพันธุ์ เช่น อัลฟา (Alpha) เดลตา (Delta) โอไมครอน (Omicron) อาการทั่วไปของโรคโควิด-19 มักคล้ายคลึงกับไข้หวัด คือ เจ็บคอ เป็นไข้ ไอ คัดจมูก หายใจลำบาก หนาวสั่น อ่อนเพลีย นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการสูญเสียการรับรู้รสชาติและกลิ่นอีกด้วย
2. การติดเชื้อแบคทีเรีย
อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอสคัส ไพโอจีน (Streptococcus pyogenes) หรือเรียกอีกอย่างว่า เชื้อสเตรปโตคอสคัสกลุ่มเอ (Group A streptococcus) ทำให้เกิดอาการคออักเสบ เจ็บคอ โดยเฉพาะเวลากลืนน้ำลาย ระคายเคืองคอ คอบวมและแดง ปวดหัว มีไข้ คลื่นไส้ และอาเจียน
3. คออักเสบ
แยกได้หลายสาเหตุ เช่น
- ทอนซิลอักเสบ เป็นการติดเชื้อที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณช่องคอ ทำให้เกิดอาการคล้ายกับไข้หวัด เช่น เจ็บคอ คอบวม ไข้สูง กลืนลำบาก ปวดหัว
- ฝากล่องเสียงอักเสบ โดยจะมีอาการกลืนลำบาก น้ำลายไหล เสียงเปลี่ยน มีไข้ และหายใจเร็ว เนื่องจากฝากล่องเสียงที่บวมจะขวางทางหายใจ
- หลอดลมอักเสบ โดยจะอุดกั้นให้ช่องทางเดินหลอดลมแคบลง ส่งผลให้เกิดอาการไอ มีเสมหะเหนียวมากขึ้น บางครั้งอาจมีอาการหอบเหนื่อยร่วมด้วย
- ไซนัสอักเสบ ทำให้เกิดอาการ เจ็บคอ ระคายเคืองคอ
4. โรคกรดไหลย้อน
โดยโรคกรดไหลย้อนคือภาวะที่กรดภายในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดระหว่างกระเพาะอาหารกับหลอดอาหารปิดไม่สนิท ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก รู้สึกเหมือนมีก้อนในคอ เสียงแหบ และกลืนลำบาก
5. การติดเชื้อรา
การติดเชื้อราที่ปาก เช่น เชื้อราแคนดิดา (Candida) อาจทำให้เกิดอาการคราบสีขาว ๆ ในบริเวณลิ้น กระพุ้งแก้ม เพดานปาก เหงือก และต่อมทอนซิล สูญเสียการรับรสชาติ รวมถึงอาจทำให้เกิดรอยแดงและอาการแสบเวลากลืนน้ำลาย
6. แผลในลำคอหรือหลอดอาหาร
โดยการที่เกิดแผลในลำคอหรือหลอดอาหาร อาจจะทำให้เกิดโรคหลอดอาหารอักเสบ โดยอาจเกิดจากโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหารระคายเคือง และเนื้อเยื่อหลอดอาหารถูกทำลาย จนหลอดอาหารอักเสบในที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้จากโรคการกินผิดปกติ (Eating disorders) การใช้ยามีฤทธิ์กัดเนื้อเยื่อหลอดอาหาร และการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัดและรังสีบำบัด เป็นต้น
7. โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ
โดยสาเหตุของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ อาจเกิดได้จากพันธุกรรมจากพ่อและแม่ ญาติพี่น้องเป็นโรคภูมิแพ้ หรือจากสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น สัตว์เลี้ยง แมลงสาบ เชื้อรา เป็นต้น โดยจะมีอาการไอ คัดจมูก จาม มีน้ำมูก หายใจไม่ออก
เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
เมื่อกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ จนเกิดเหตุการณ์ต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันที เช่น
- หายใจลำบาก
- คอบวมอย่างเห็นได้ชัด
- อ้าปากได้ลำบาก
- มีอาการเจ็บอย่างรุนแรง
- มีเลือดออกเมื่อไอ
- มีอาการเจ็บคอเกิน 1-2 อาทิตย์ แล้วไม่ดีขึ้น
- รู้สึกเหมือนมีก้อนที่คอ
การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์
หากอาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอไม่ดีขึ้น จะต้องมีการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุ จะได้รักษาได้อย่างถูกต้อง เช่น
- มีการตรวจเม็ดเลือด โดยการตรวจนับความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
- มีการสแกนด้วย MRI และ CT เพื่อตรวจความละเอียดบริเวณลำคอ
- มีการเก็บตัวอย่างเมือกภายในคอ เพื่อหาเชื้อโรค
- มีการเก็บตัวอย่างเสมหะ เพื่อเพาะหาเชื้อโรค ว่ามีการติดเชื้อหรือไม่
วิธีบรรเทาอาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ
เมื่อเกิดอาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ จะมีวิธีบรรเทาอาการได้ทั้งวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นและวิธีการรักษา ดังนี้
วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากคออักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวัรส ผู้ป่วยจึงมักจะมีไข้สูง อ่อนเพลีย และอ่อนล้า จึงควรพักการทำกิจกรรมต่าง ๆ แล้วพักผ่อนให้เพียงพอ
- ดื่มน้ำอุ่นให้มาก ๆ เช่น น้ำเปล่าไปจนถึงชาอุ่น ๆ โดยน้ำไม่ควรร้อนจนเกินไป เพื่อให้ลำคอมีความชุ่มชื้น และลดความเสี่ยงของภาวะขาดน้ำ
- บ้วนปากล้างลำคอด้วยน้ำเกลือ เพื่อลดอากาาระคายเคืองในลำคอและอาการเจ็บคอ เพราะน้ำเกลือมีสรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในลำคอ โดยกลั้วปากวันละหลาย ๆ ครั้ง
- งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เพราะสารในบุหรี่และแอลกอฮอล์จะทำให้เนื้อเยื่อในปากและท่ออาหารเกิดความระคายเคืองได้
- งดใช้เสียงดังหรือใช้เสียงมากเกินไป เพื่อลดการระคายเคือง
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด เพื่อให้สะดวกต่อการกลืน
การรักษาอาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ
- การทานยาอมบรรเทาเจ็บคอ มีสรรพคุณบรรเทาอาการเจ็บคอได้ชั่วคราว ช่วยให้ชุ่มคอ ลดอาการคันคอ
- การใช้สเปรย์พ่นคอ โดยจะทำให้คอรู้สึกชาและทำให้กลืนน้ำลายง่ายขึ้นและเจ็บน้อยลง โดยในปัจจุบันมีสเปรย์พ่นคอให้เลือกใช้หลายชนิด โดยเฉพาะสเปรย์พ่นคอ Biofresh ซึ่งมีสมุนไพรธรรมชาติ เช่น ดอกคาโมมายล์ ดอกอิชินาเซีย เป็นต้น และน้ำมันหอมระเหย 11 ชนิด ปราศจากน้ำตาล
- การทานยารักษาอาการเจ็บคอ เช่น ยาแก้อักเสบ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ทานยาลดกรด เป็นต้น
แนวทางการป้องกันอาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ
แนวทางการป้องกันอาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ ทำได้หลายอย่าง ดังนี้
- ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น แก้วน้ำ ช้อนส้อม แปรงสีฟัน ร่วมกับผู้อื่น
- หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ที่มีอาการเจ็บคอ เป็นไข้ และผู้ที่เป็นทอนซิลอักเสบ
- หลีกเลี่ยงการนำมือไปสัมผัสบริเวณตา จมูก ปาก
- ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ เพื่อกำจัดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียตามฝ่ามือหลังการสัมผัส และหลังเข้าห้องน้ำ
- ปิดปากและจมูกขณะไอจาม หรืออาจสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องออกไปนอกบ้าน
- ทำความสะอาดผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม หมอน เป็นประจำ
- สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงและซักที่นอนของสัตว์เลี้ยงเป็นประจำ
- หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เช่น เกสรดอกไม้ในสวน
- หมั่นทำความสะอาด ดูดฝุ่น โดยเฉพาะในบริเวณที่นอน ผ้าม่าน พรม โซฟา
ข้อสรุป
การกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอนั้น เป็นอาการที่รู้สึกเจ็บและระคายเคืองภายในปากหรือลำคอ ขณะเวลากลืนน้ำลาย ดื่มน้ำ หรือกลืนอาหาร โดยต้องพยายามหาสาเหตุเพื่อรักษาให้ถูกวิธี หมั่นสังเกตอาการหากไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์ และหาวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอาการขึ้นมาอีก