ตรวจภายใน ครั้งแรกเจ็บไหม? ใครบ้างที่ควรตรวจ?
สำหรับผู้หญิงแล้วการตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอ เป็นเรื่องจำเป็น เพราะจะช่วยให้หาสาเหตุของโรคที่เกิดจากอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานได้ และโดยมากแล้วมักจะไม่แสดงอาการในระยะแรก ตรวจภายใน ครั้งแรกเจ็บไหม? มีอะไรที่ควรรู้อีกบ้าง ไปดูกัน
การตรวจภายใน ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว
การตรวจภายใน (Pelvic exam) หรือ การตรวจ PV คือ การตรวจหาความผิดปกติบริเวณอวัยวะในอุ้งเชิงกรานของผู้หญิง ทั้งภายในและภายนอก อาทิ ปากช่องคลอด, ช่องคลอด, ปากมดลูก, มดลูก และรังไข่ เป็นต้น การตรวจนี้จะช่วยคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ ซึ่งหมอตรวจภายในเรียกว่า แปปสเมียร์ (Pap Smear)
ตรวจภายในสำคัญอย่างไร
ผู้หญิงควรตรวจภายในทุกปี เพื่อคัดกรองความผิดปกติ ที่แสดงและไม่แสดงอาการ เพื่อป้องกันการลุกลาม พร้อมกับการติดตามอาการได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจภายใน
กรณีผู้ที่มีอาการ
- ประจำเดือนมามากหรือน้อยกว่าปกติ มีกลิ่น
- ตกขาวปริมาณมาก มูกคล้ายแป้ง อาจมีสีเขียวหรือเหลือง กลิ่นแรง
- ปวดหน่วงท้องน้อย
- แสบขัดในช่องคลอด
- คลำเจอก้อนเนื้อที่ท้องน้อย
กรณีผู้ไม่มีอาการ
- ผู้หญิงอายุมากกว่า 21 ปี ขึ้นไป
- เคยผ่าตัดเอามดลูกออก
- ผู้ที่เคยรับวัคซีน HPV มาก่อน
- ผู้ที่ตรวจพบโรคติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์
กรณีผู้มีบุตรยาก
- เพื่อตรวจหาความผิดปกติของรังไข่, เนื้องอกรังไข่ หรือเนื้องอกในโพรงมดลูก เป็นต้น
กรณีหญิงตั้งครรภ์
- เพื่อตรวจพยาธิสภาพของปากมดลูก, มดลูก และรังไข่ พร้อมคัดกรองความผิดปกติขณะตั้งครรภ์
ตรวจภายในครั้งแรกเจ็บไหม
ผู้หญิงส่วนมากมักอายและกลัวเจ็บเมื่อต้องตรวจภายใน การตรวจภายในนอกจากจะตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานแล้ว ยังสามารถตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ แบบนี้เจ็บไหม ปกติแล้ว อุปกรณ์ที่สอดใส่เข้าไปมีหลายขนาด ใครไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน แจ้งแพทย์ได้ หรือใครที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนแล้ว ก็หมดกังวลได้ เนื่องจากอุปกรณ์มีขนาดเล็กกว่าอวัยวะเพศชายมาก
การเตรียมตัวก่อนตรวจภายใน
ข้อควรรู้เพื่อเตรียมตรวจภายใน ดังนี้
- ไม่สวนล้างช่องคลอดภายใน 2 วันก่อนตรวจ
- ก่อนตรวจภายในมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม? หลีกเลี่ยงดีที่สุด
- ควรสวมกระโปรง หรือกางเกงที่ไม่รัด
- มีประจำเดือนตรวจภายในได้ไหม? ทำได้หากปวดท้องมากจนทนไม่ไหว
- ตรวจภายในต้องโกนขนไหม? ไม่จำเป็น
ขั้นตอนวิธีการตรวจภายใน
วิธีตรวจภายใน มีขั้นตอน ดังนี้
- แพทย์ซักประวัติประจำเดือน และอาการผิดปกติ
- แพทย์ตรวจภายนอกด้วยตาเปล่าก่อน
- แพทย์จะใช้ ปากเป็ดตรวจช่องคลอด, ส่องดูปากมดลูก และผนังช่องคลอด
- แพทย์ใช้นิ้วสอดเข้าไป คลำปากมดลูก และใช้มืออีกข้างคลำหน้าท้อง
- แพทย์จะใช้เครื่องมือเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูก เพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูก
ตรวจภายในบอกอะไรได้บ้าง
- มดลูก
เป็นการตรวจภายในเพื่อตรวจมดลูกว่ามีโอกาสเกิดเนื้องอกหรือไม่ ถ้ามีจะใช่เนื้อร้ายหรือไม่
- รังไข่
มะเร็งรังไข่ สามารถเกิดได้กับผู้หญิงทุกวัยตั้งแต่เด็กไปจนผู้สูงอายุ
- ปากมดลูก
หากพบเนื้องอก แพทย์จะวินิจฉัยต่อไปว่าเป็นมะเร็งหรือไม่
- เยื่อบุโพรงมดลูก
เยื่อบุมราหนาเกินไป อาจส่งผลให้มีประจำเดือนมากกว่าปกติ ซึ่งมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้
การตรวจภายในของหญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ แพทย์จะไม่ตรวจภายในให้ เพราะหากมดลูกมีการบีบตัวอาจเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ ยกเว้นว่าหากมีเลือดออกทางช่องคลอด
คำถามที่พบบ่อย
ควรเริ่มตรวจภายในตั้งแต่อายุเท่าไหร่
สามารถตรวจภายในได้ตั้งแต่อายุ 25-30 ปี ขึ้นไป แต่หากเคยมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย เข้าตรวจได้เลย
หากไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ จำเป็นต้องตรวจภายในไหม
แนะนำว่าควรเข้ารับการตรวจทุกปี เนื่องจากมะเร็งรังไข่ และมะเร็งปากมดลูก เกิดได้กับผู้หญิงทุกวัย
หลังตรวจภายในแล้วมีเลือดออก เกิดจากอะไร
อาจเกิดจากหัวเครื่องอัลตร้าซาวด์อาจเสียดสีกับผนังมดลูก ทำให้เลือดออกเล็กน้อย
ตรวจภายในสามารถรู้ผลได้ทันทีหรือไม่
รอผลประมาณ 1-2 สัปดาห์
การตรวจภายในผู้หญิงส่วนใหญ่มักอาย แต่เมื่อเทียบกับการที่ไม่เข้ารับการตรวจเลย หากกังวลเรื่องความเจ็บสามารถแจ้งแพทย์ได้ ไม่ควรปล่อยให้อวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานเกิดความผิดปกติจนสายเกินแก้ แบบนี้คงไม่คุ้มกันนะคะ