ป้องกันและรักษาโรคในช่องคลอดด้วยการ อัลตร้าซาวด์มดลูก
หากได้ยินคำว่า การตรวจภายใน เราคงจินตนาการถึงการที่แพทย์ให้คนไข้ผู้หญิงนั่งบนขาหยั่งใช้เครื่องถ่างอวัยวะเพศ แล้วก็ตรวจหาสิ่งแปลกปลอมด้วยเครื่องมือต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันการตรวจภายในยังมีอีกวิธีหนึ่งที่ไม่ต้องใช้ขาหยั่ง เครื่องถ่าง และไม่ต้องให้แพทย์มายุ่งวุ่นวายกับอวัยวะเพศของเราเลยคือการ อัลตร้าซาวด์มดลูก นั่นเอง
อัลตร้าซาวด์มดลูก
อัลตร้าซาวด์ หรือ การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง คือ การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงตรวจอวัยวะภายใน การอัลตร้าซาวด์มดลูกก็เช่นกันแต่เฉพาะเจาะจงไปที่การตรวจบริเวณมดลูก ช่องคลอด และเชิงกราน ซึ่งการอัลตร้าซาวด์มดลูกสามารถบ่งบอกอะไรได้หลายอย่าง เช่น เพื่อดูความผิดปกติทั่ว ๆ ไป, เพื่อยืนยันอาการอื่น ๆ ที่แพทย์วิเคราะห์ ด้วย ภาพอัลตร้าซาวด์มดลูกผิดปกติ, เพื่อตรวจหาก้อนเนื้อ และเพื่อดูทารกในครรภ์ เป็นต้น
ทำความรู้จักมดลูกและรังไข่
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักมดลูกและรังไข่กันก่อน
มดลูก เป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ตัวมดลูกซึ่งทำหน้าที่รองรับทารกตั้งแต่ระยะเอ็มบริโอจนคลอด ปีกมดลูกที่เป็นท่อลำเลียงไข่ไปสู่มดลูก และปากมดลูกที่เป็นทางให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ พูดง่าย ๆ ก็คือมีหน้าที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ และประจำเดือนก็เกิดที่มดลูกนี้เอง
ส่วนรังไข่เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สร้างไข่สุกเพื่อให้พร้อมตั้งครรภ์และสร้างฮอร์โมน 2 ตัว ได้แก่ เอสโทรเจน ที่มีเพื่อควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของเพศหญิงที่ไม่มีในเพศชาย อย่าง เต้านมขยาย เสียงแหลม รวมถึงการตกไข่ และ โปรเจสเตอโรน ที่ทำหน้าที่กระตุ้นมดลูกให้เตรียมรับไข่
การตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกสำคัญอย่างไร
การตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกมีความสำคัญกับผู้หญิงทุกท่านมากเพราะโรคต่าง ๆ ที่ผู้หญิงต้องระวัง สามารถตรวจได้ด้วยการตรวจภายใน และการอัลตร้าซาวด์มดลูกถือเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้มาก ๆ
1. ตรวจหาความผิดปกติและก้อนเนื้อ
เพื่อ อัลตร้าซาวด์เนื้องอกมดลูก อย่างเช่น เนื้องอกทั้งในรังไข่ ในมดลูก ในอุ้งเชิงกราน เพื่อให้แพทย์สามารถเริ่มการรักษาได้อย่างถูกต้องและทันเวลา
2.เพื่อวินิจฉัยและรักษา
ในกรณีนี้หากเป็นการตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกและรังไข่ ผู้ที่ป่วยอยู่แล้วก็จะช่วยให้การวินิจฉัยและรักษาเป็นไปได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
3. การตรวจเกี่ยวกับทารก
เช่น ดูเพศ, ดูความผิดปกติ และดูขนาดของทารกในครรภ์ เพื่อให้ทราบสุขภาพของทารกในครรภ์ ผ่านภาพอัลตร้าซาวด์มดลูก
อาการแบบไหนที่ควรเข้าตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูก
เมื่อคุณผู้หญิงรู้สึกถึงความผิดปกติในบริเวณช่วงล่างทั้งจากภายในและภายนอก เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ, ปวดบริเวณท้องน้อย, เลือดออกที่ช่องคลอด, กดไปแล้วพบก้อนอะไรบางอย่างแล้วไม่มั่นใจ หรือแม้แต่การตรวจสุขภาพประจำปีของคุณผู้หญิงก็ควรจะใส่การอัลตร้าซาวด์มดลูกเข้าไปในโปรแกรมด้วย
เตรียมตัวอย่างไรก่อนตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูก
ก่อนจะมาอัลตร้าซาวด์มดลูกนั้น คุณผู้หญิงจำเป็นต้องงดทานอาหารมาก่อนโดย ผู้ใหญ่งด 6 ชั่วโมง และเด็กงด 3-4 ชั่วโมง แต่ยังสามารถดื่มน้ำได้และก่อนตรวจไม่นานควรดื่มแล้วอย่าเพิ่งเข้าห้องน้ำ เพื่อให้แพทย์ตรวจดูสภาพภายใน และที่สำคัญคุณผู้หญิงที่จะมาอัลตร้าซาวด์มดลูกต้องไม่มาช่วงที่เป็นประจำเดือน
วิธีตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกทางหน้าท้อง
การอัลตร้าซาวด์มดลูก รังไข่โดยผ่านทางหน้าท้องซึ่งจะเป็นทางเลือกแรกเสมอเนื่องจากไม่ต้องยุ่งวุ่นวายกับช่วงล่างของคุณผู้หญิง และการอัลตร้าซาวด์มดลูกทางหน้าท้องจะใช้กับคุณผู้หญิงที่อายุยังน้อยหรือยังไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
ขั้นตอนการตรวจอัลตร้าซาวด์ทางหน้าท้อง
ก่อนอัลตร้าซาวด์มดลูกทางหน้าท้อง คนไข้จะต้องดื่มน้ำแล้วกลั้นปัสสาวะเพื่อให้นํ้าในกระเพาะปัสสาวะช่วยดันลำไส้ออกจากช่องเชิงกราน และเมื่ออัลตร้าซาวด์มดลูกจะทำให้เห็นภาพอัลตร้าซาวด์มดลูกได้ชัดขึ้น
ต่อมาคนไข้จะนอนบนเตียงและแพทย์จะทำความสะอาดหน้าท้องจากนั้นก็ทาเจลสำหรับอัลตราซาวน์บนหน้าท้องจากนั้นก็เริ่มแตะอุปกรณ์ลงที่ท้องแล้วก็เลื่อนไปตามตำแหน่งที่ต้องการตรวจจากนั้นแพทย์ก็จะวินิจฉัยไปเรื่อย ๆ รวมทั้งบอกสภาพทั่วไปของช่องคลอดให้คนไข้ฟังเมื่อครบถ้วนแล้วก็ทำความสะอาดหน้าท้องอีกครั้งก็เป็นอันจบการตรวจ
วิธีตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกทางช่องคลอด
วิธีอัลตร้าซาวด์มดลูก แบบนี้จะต่างจากการตรวจทางกน้าท้อง อุปกรณ์อัลตร้าซาวด์ก็จะมีหัวตรวจไม่เหมือนกัน แต่การตรวจประเภทนี้ จะเข้าใกล้มดลูกและรังไข่ได้มากกว่า ทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนกว่าและไม่ต้องกลั้นปัสสาวะด้วย
ขั้นตอนการตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอด
เริ่มต้นแพทย์จะสอดอุปกรณ์ไปทางช่องคลอด ซึ่งหัวของอุปกรณ์นี้จะแท่งเล็ก ๆ อุปกรณ์ก็จะเข้าใกล้ตำแหน่งของมดลูกและรังไข่ และไปตามตำแหน่งที่แพทย์ต้องการดู จากนั้นแพทย์จะอธิบายสภาพของมดลูกและวินิจฉัยจนได้ข้อมูลครบก็ถอดอุปกรณ์และจบการตรวจ
ตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูก บอกโรคอะไรได้บ้าง
การอัลตร้าซาวด์มดลูก สามารถระบุความผิดปกติและโรคได้หลายโรคตั้งแต่
1. โรคช็อกโกแลตซีสต์
ช็อกโกแลตซีสต์ คืออาการที่ประจำเดือนไหลย้อนเข้าไปในท้องแล้วฝังตัวที่รังไข่จนทำให้เกิดเป็นถุงน้ำที่เรียกว่า ถุงน้ำช็อกโกแลต ซึ่งจะทำให้ประจำเดือนมามากผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย และปัสสาวะอุจจาระเป็นเลือด
2. โรคมะเร็งมดลูกหรือรังไข่
มะเร็งคือเนื้อร้ายที่จะกัดกินอวัยวะอื่นที่ใกล้เคียง เพราะงั้นหากเป็นโรคมะเร็งมดลูกหรือรังไข่ มะเร็งจะแพร่กระจาย และทำลายเนื้อเยื่อที่อยู่ในระบบสืบพันธุ์ของคุณผู้หญิงและหากไม่รีบรักษาก็จะลามไปอวัยวะอื่น ๆ
3. โรคเนื้องอกมดลูกหรือรังไข่
เนื้องอก คือ เนื้อเยื่อที่โตขึ้นเร็วผิดปกติ ต่างจากมะเร็งที่เนื้องอกจะไม่กัดกินเนื้อเยื่ออื่น แต่ก็อันตรายเช่นกัน เช่น เนื้องอกมดลูก อาจทำใปวดท้องรุนแรงหรือทำให้ประจำเดือนมามากผิดปกติ เพราะงั้นเราก็ไม่ควรปล่อยให้เนื้องอกอยู่ในร่างกายเช่นเดียวกันกับมะเร็ง
4. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
คือการที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญอยู่นอกมดลูกและอาจแพร่กไปนอกอุ้งเชิงกราน ซึ่งจะทำให้คุณผู้หญิงปวดที่ท้องน้อยรุนแรงมากโดยเฉพาะช่วงมีประจำเดือน ซึ่งอาจเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์, ขณะปัสสาวะด้วย และอาจทำให้มีปัญหาการมีบุตรยากด้วย
อัลตร้าซาวด์มดลูก มีผลข้างเคียงไหม
ผลข้างเคียงจากการอัลตร้าซาวด์มดลูกนั้นมีเพียงความไม่สบายตัวจากการที่โดยเครื่องมือและคลื่นเสียงต่าง ๆ สัมผัสกับร่างกาย นอกเหนือจากนั้นยังไม่ตรวจพบว่าอัลตร้าซาวด์มดลูกมีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงแต่อย่างใด
อัลตร้าซาวด์มดลูก ราคาเท่าไหร่
ปัจจุบันการ อัลตร้าซาวด์มดลูก ราคา ไม่สูงอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาก โดยราคาก็มีตั้งแต่ 2,000 – 10,000 บาทต่อครั้ง ตามแต่สถานที่ ที่รับบริการ และแพคเกจการดูแลต่อจากนั้น
เป็นประจําเดือน อัลตร้าซาวด์ ได้ไหม
อย่าที่กล่าวปแล้วในข้างต้นว่าถ้ามีประจําเดือน ไม่ควรมาอัลตร้าซาวด์มดลูก เพราะช่วงนั้นบริเวณช่องคลอดและมดลูกจะอ่อนแอและบอบช้ำง่าย การตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกและรังไข่ อาจทำให้บาดเจ็บแทน
ข้อสรุป
การอัลตร้าซาวด์มดลูก ถือเป็นการดูแลร่างกายของผู้หญิงที่จำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากอวัยวะภายในของผู้หญิง ทั้งมดลูก ช่องคลอด รังไข่ และอื่น ๆ เป็นส่วนที่เราไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก และเป็นอวัยวะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตมากที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะงั้นการอัลตร้าซาวด์มดลูกจะช่วยตรวจหาโรคต่าง ๆ และสามารถป้องกันหรือรักษาได้ก่อนที่จะเกิดโรคหรืออาการอะไรขึ้น