เหงือกบวมเกิดจากอะไร ? รีบรักษาหากไม่อยากเสียฟัน
เหงือกเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยยึดฟันในกระดูกขากรรไกร ช่วยรับแรงบดเคี้ยวอาหารสุขภาพเหงือกที่ดี จะช่วยรองรับฟันได้ดี ดังนั้นถ้าหากเหงือกบวม ใหญ่ผิดปกติ สุขภาพฟัน และช่องปากก็ได้รับผลกระทบไปด้วย
หากคุณเริ่มสัมผัสได้ถึงอาการเจ็บปวดที่เหงือก เหงือกบวมกว่าปกติ เหงือกอักเสบ หรือขณะแปรงฟันกลับมีเลือดติดออกมาด้วย ควรรีบหาทางพบแพทย์เพื่อตรวจถึงความผิดปกติ และเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อให้ไม่เกิดการติดเชื้อจนลุกลาม และทำให้เสียฟันไปโดยใช่เหตุในที่สุด
อาการเหงือกบวม คือ
เหงือกบวม จะมีสีเหงือกกลายเป็นสีแดงเข้มกว่าปกติ มีลักษณะเหงือกขยายใหญ่ บวมขึ้นผิดปกติ มักมีอาการอักเสบร่วมด้วย ทำให้เกิดการระคายเคือง เจ็บ ปวดบริเวณที่เหงือกบวม หรือเสียวฟัน ในขณะแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน หรือทานอาหารที่มีลักษณะแข็งอาจมีเลือดปนออกมาได้ อาการอื่น ๆ เช่นแผลในปาก กลิ่นปาก เหงือกร่น หากคุณมีอาการเหล่านี้มากกว่า 2 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุ และรักษา
อาการเหงือกบวมเกิดจากอะไร
ปัญหาเหงือกบวม เหงือกอักเสบอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้
- เกิดจากแปรงฟันไม่สะอาดทำให้คราบจุลินทรีย์สะสมในช่องปากจำนวนมาก กลายเป็นหินปูนที่ระคายเคืองต่อเหงือก ส่งผลให้เกิดอาการเหงือกอักเสบ เหงือกบวมในเวลาต่อมา
- การเปลี่ยนยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก หรือยาบางชนิดที่ไปกระตุ้นการระคายเคือง
- ทานอาหารไม่ครบตามหลักโภชนาการ ขาดวิตามินบี และซี ส่งผลต่อความแข็งแรงของอวัยวะช่องปาก
- ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง เช่น ผู้หญิงในช่วงเวลาตั้งครรภ์ หรือโรคที่ทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนผิดปกติ
- การมีฟันผุ ฟันคุด ทำให้มีการระคายเคืองเรื้อรัง จนอาจติดเชื้อลุกลามทำให้เหงือกบวม เป็นหนอง และเกิดหลุมจนเสียฟันแท้ไปในที่สุด
สังเกตอาการเหงือกบวมยังไง
อาการเหงือกบวมสามารถสังเกตได้จากเหงือกที่มีสีแดงก่ำ เหมือนช้ำกว่าปกติ มีกลิ่นปาก รู้สึกเจ็บปวด ระบมบริเวณเหงือก หรือขณะทำความสะอาดฟันด้วยแปรง ไหมขัดฟัน มีเลือดปนออกมาด้วย อาจมีอาการปวดฟันอยู่ตลอด เหงือกอักเสบ จนไม่สามารถทานอาหารมื้อระหว่างวันได้อย่างปกติสุข ตลอดจนการเป็นไข้ก็อาจเป็นอาการหนึ่งของเหงือกบวมได้
อาการเหงือกบวมแบบไหนที่ต้องพบแพทย์
เมื่อมีอาการเหงือกบวมเรื้อรังนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ หรือมีภาวะเจ็บป่วย ติดเชื้อรุนแรงร่วมด้วย ควรรีบทำการวางแผนพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม เช่น
- เหงือกบวมจากผลข้างเคียงของยา มีลักษณะบวมหน้าผิดปกติ
- มีอาการเหงือกบวมด้วยสาเหตุกระดูกงอก มีตุ่มกระดูกดันเหงือกออกมาทำให้เหงือกขาวซีด หรือชมพูซีดกว่าปกติ
- ถูกระคายเคืองต่อเนื่องเป็นเวลานานจนมีอาการเหงือกบวมเรื้อรัง ไม่สามารถทานยารักษาเองได้ง
- เหงือกบวมจาก “โรคปริทันต์อักเสบ” (Periodontal disease) ทำให้มีหินปูนสะสมบริเวณช่องปากมาก อาจทำให้ติดเชื้อลุกลามทำลายสุขภาพช่องปาก จำต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
- มีหนองไหลในบริเวณที่เหงือกบวม เนื่องจากมีการติดเชื้อ อักเสบ ฝันพุเป็นหลุมจนทำให้มีหนองสะสม กรณีนี้อาจร้ายแรงจนถึงติดเชื้อจนฝันตาย ส่งผลให้สูญเสียฟันแท้
- เป็นก้อนคล้ายดอกกะหล่ำ กรณีนี้อาจสงสัยเบื้องต้นได้ว่าเป็นก้อนมะเร็งทำให้เหงือกบวม
วิธีรักษาอาการเหงือกบวม
ถ้าหากคุณมีอาการเหงือกบวมในระยะเริ่มต้น การรักษาให้กลับมาเป็นปกติสามารถทำได้ไม่ยาก แต่ถ้าหากมีภาวะอื่นร่วมด้วย หรือเป็นเหงือกบวมเรื้อรังมาระยะหนึ่งแล้ว การพบแพทย์เพื่อประเมินการรักษาอย่างถูกต้องจะทำให้เกิดผลดีมากที่สุด
1. รักษาเหงือกบวมด้วยทันตแพทย์
เมื่อมีอาการเหงือกบวมด้วยสาเหตุจากการติดเชื้อ ภาวะผิดปกติ เป็นโรคอื่นร่วมด้วย หรืออาการเหงือกบวมเรื้อรัง แพทย์จะประเมินอาการเพื่อทำการรักษาที่เหมาะสม อาจมีการทำการขูดหินปูน กำจัดคราบพลัค เพื่อลดอาการอักเสบ นำหนองออกจากบริเวณช่องปาก
หากมีอาการเหงือกบวม เหงือกร่นรุนแรงจะมีการผ่าตัดเพื่อรักษาร่วมด้วย ป้องกันความเสียหายแก่บริเวณเนื้อเยื่อ และฟันที่ใกล้เคียง นอกจากนี้แพทย์จะมีการแนะนำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปากที่เหมาะสมมากขึ้น เพื่อผลการรักษาที่ดี
2. รักษาเหงือกบวมด้วยตัวเอง
การรักษาเหงือกบวมด้วยตัวเองสามารถทำได้ในกรณีที่อาการเหงือกบวมไม่เป็นอันตราย ด้วยการทำความสะอาดฟัน เหงือก และช่องปากอย่างถูกวิธีไม่ให้มีสิ่งสกปรกตกค้าง ใช้น้ำยาบ้วนปากสูตรอ่อนโยน ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ทานอาหารตามหลักโภชนาการ ลดของหวาน แอลกอฮอลล์ และการสูบบุหรี่ รวมถึงพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการเหงือกบวม
การป้องกันเพื่อลดการเกิดของอาการเหงือกบวมสามารถทำได้ดังนี้
- ทำความสะอาดฟัน เหงือก รวมถึงสุขภาพช่องปากองค์รวมให้สะอาด หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดฟันที่แรงจนเกินไป ดูแลไม่ให้เกิดคราบพลัค คราบหินปูนสะสมก็เพียงพอแล้ว
- ตรวจเช็กสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์เป็นประจำอย่างน้อยทุก 6 เดือน เพื่อดูแลความแข็งแรงของเหงือก และฟัน
- ทานอาหารตามหลักโภชนาการ ให้ได้วิตามิน และสารอาหารที่ครบถ้วนสำหรับร่างกาย รวมทั้งดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้วเพื่อให้ร่างกายผลิตน้ำลายออกมาช่วยฆ่าแบคทีเรียในช่องปากซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเหงือกบวม
- ลดการทานขนมหวาน แอลกอฮลอลล์ ลดการสูบบุหรี่ที่ทำให้เกิดปัญหาช่องปาก
- คอยสังเกตอาการตนเองเป็นประจำว่ามีอาการผิดปกติเกี่ยวกับช่องปากหรือไม่เพื่อให้มีการปรับพฤติกรรม และรักษาได้ทันที
สรุป
เพื่อไม่ให้ปัญหาเหงือกบวม เหงือกอักเสบ ประสบปัญหาติดเชื้อลุกลามจนกลายเป็นการเสียฟันไปโดยใช่เหตุ ควรมีการดูแลตนเองที่ดี หมั่นตรวจสอบสุขภาพช่องปาก ปัญหาสุขภาพช่องปากทุกชนิดสามารถป้องกันได้ด้วยการทำความสะอาดฟัน และเหงือกอย่างถูกวิธี รวมถึงการพบทันตแพทย์เป็นประจำ อย่ารอจนฟันเสียไป กลายเป็นปัญหาเคี้ยวอาหารยาก หรือบุคลิกภาพไม่ดีในอนาคต