|

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ตรวจง่าย ไม่เจ็บ รู้ผลเร็ว

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

หากคุณรู้สึกว่า มีอาการเหนื่อยง่าย รู้สึกเจ็บแน่นบริเวณทรวงอก รู้สึกว่าหัวใจกำลังเต้นแรง มีอาการหายใจลำบาก หรือหายใจไม่ออก รีบตัดสินใจเข้าและขอคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อค้นหาสาเหตุของอาการต่าง ๆ เหล่านั้น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ตรวจง่าย ไม่เจ็บ รู้ผลเร็ว ช่วยให้รู้อัตราการเต้นของหัวใจ ว่ามีความผิดปกติอะไรบ้างเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG จะช่วยค้นหาสาเหตุต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการข้างต้นได้ดี 


ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) หรืออาจเรียกว่าการตรวจ ECG เป็นวิธีการตรวจกระแสไฟฟ้าหัวใจ ความสมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าในกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นกระบวนการนำขั้วไฟฟ้ามาติดกับตัวคนไข้ตามจุดต่าง ๆ เช่น บริเวณหน้าอก เป็นการตรวจลักษณะของไฟฟ้าหัวใจช่วยให้แพทย์ค้นหาสาเหตุเกี่ยวกับหัวใจได้ง่าย มีกระบวนการขั้นตอนการตรวจง่าย ใช้เวลาน้อย รู้ผลเร็ว ไม่เจ็บ และเหมาะสมกับทุกกลุ่มอายุ

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ คือ กระบวนการคัดกรองโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, สภาวะหัวใจล้มเหลว ค้นหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บ แน่นหน้าอก ความเหนื่อยง่าย หรือคนที่เริ่มสงสัยว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ และต้องการทราบสาเหตุเบื้องต้น
ดังนั้น ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) จะช่วยให้ผู้ป่วยทราบสาเหตุได้เร็ว ง่าย และมีความปลอดภัย


ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจอะไรได้บ้าง

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจอะไรได้บ้าง

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่ออะไร ปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์ได้สร้างการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เพื่อให้เราทราบสภาวะการทำงานของหัวใจที่มีความปกติ หรือทราบสาเหตุของผิดปกติของหัวใจ ซึ่งจะส่งผลต่อการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ 

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) จะทำให้แพทย์ทราบข้อมูลและวิเคราะห์สาเหตุของโรคหัวใจ เช่น

  • จังหวะและอัตราการเต้นของหัวใจ เช่น เต้นเร็วหรือช้าเกินไป หรือเต้นผิดปกติ
  • ขนาดของหัวใจและห้องหัวใจ
  • คลื่นไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นก่อนจังหวะ 
  • ค้นหาสาเหตุโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจหนา, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ประโยชน์ของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 

ปัจจุบันการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ekg ได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะเมื่อตรวจสุขภาพประจำปี เพราะการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีข้อดี ดังนี้

  • มีขั้นตอนการตรวจกระชับ
  • รู้ผลเร็ว
  • ผลตรวจเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตเพราะสามารถวินิจฉัยโรคได้หลากหลาย
  • ไม่เป็นอันตรายต่อทรวงอก ไม่มีผลแทรกซ้อนหลังตรวจ
  • ใช้เวลาในการตรวจไม่นาน (ประมาณ 10 – 30 นาที)
  • เหมาะสมกับทุกกลุ่มอายุ 

ผู้ที่ควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ สามารถเข้ารับการตรวจได้ทุกกลุ่มอายุ แต่สำหรับผู้ที่ควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วย 

  • กลุ่มผู้มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ 
  • ผู้มีไขมันสูง 
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ 
  • ผู้ที่เป็นเบาหวาน
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะลิ้นหัวใจรั่ว
  • ผู้ที่มึความรู้สึกเจ็บแน่นบริเวณหน้าอก เหนื่อยง่าย มีอาการวูบ เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก 

ขั้นตอนการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG

ขั้นตอนการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG

ขั้นตอนการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG มีกระบวนการที่ง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่เจ็บ ประหยัดเวลา วิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ ขณะตรวจ และการดูแลตนเองหลังตรวจ ดังนี้

  1. ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG 
  • แจ้งข้อมูลแพทย์เกี่ยวกับการรับประทานอาหารเสริม เช่น วิตามิน ยา 
  • ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย เพราะจะส่งผลต่อการวินิจฉัย
  • ไม่ต้องอดน้ำ อดอาหาร ก่อนเข้ารับการตรวจ 
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ง่ายต่อการเปิดบริเวณหน้าอก เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจ
  1. ขั้นตอนขณะทำการตรวจ
  • แพทย์นำตัววัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจขนาดเล็กวงไว้ตามจัดต่าง ๆ ของผู้เข้ารับการตรวจ เช่น บริเวณหน้าอก แขน ขา ประมาณ 6 จุด 
  • ผู้เข้ารับการตรวจควรนอนหงาย มีอาการนิ่ง แต่ผ่อนคลาย ไม่เกร็งร่างกายขณะตรวจ
  • เวลาที่ใช้ประมาณ 10 – 30 นาที
  • แพทย์บันทึกผล คอมพิวเตอร์ประมวลผลเป็นรูปแบบกราฟ และปริ๊นเป็นกระดาษ
  1. ขั้นตอนหลังการตรวจ
  • แพทย์วินิจฉัยผลตรวจให้ผู้เข้ารับการตรวจถึงความปกติหรือความผิดปกติที่ตรวจพบ
  • ผู้เข้ารับการตรวจสามารถกลับบ้านได้ทันที ไม่ต้องพักฟื้น เพราะไม่มีอาการเจ็บ

การวินิจฉัยผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การวินิจฉัยผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แพทย์จะสามารถวินิจฉัยผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ในทันที และผู้เข้ารับการตรวจจะทราบถึงสาเหตุสภาวะของโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจหนา, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  


การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจร่วมกับวิธีอื่น

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อาจวิเคราะห์หาสาเหตุความผิดปกติของโรคได้หลากหลาย แต่อาจไม่ครบถ้วน เพราะการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจไม่พบสิ่งผิดปกติในคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ที่เป็นโรคหัวใจบางชนิด 

หากผู้เข้ารับการตรวจมีภาวะเสี่ยงต่อโรคอื่น ๆ ที่เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อาจไม่สามารถวิเคราะห์ได้ อาจต้องเข้ารับการตรวจซ้ำ และอาจจำเป็นต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจร่วมกับวิธีอื่น เช่น ตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST: Exercise Stress Test) หรือ ตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram : ECHO)

ตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST: Exercise Stress Test)

ตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST: Exercise Stress Test) หรือการตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย เป็นการตรวจการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย ซึ่งต้องทดสอบในสภาวะที่กำลังออกกำลังกาย วิธีนี้ตรงกันข้ามกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ที่ให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายก่อนตรวจ 

วิธีนี้จะช่วยให้ทราบถึงความปกติหรือผิดปกติในทันที แต่ขณะตรวจจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยผู้เข้ารับการตรวจจะต้องออกกำลังกายบนเครื่องปั่นจักรยานหรือการวิ่งบนสายพานไฟฟ้า ใช้วินิจฉัยภาวะหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน หรือมีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ 

ตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram : ECHO)

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram : ECHO) ช่วยค้นหาความผิดปกติของหัวใจ ปัจจุบันเป็นที่นิยมในการตรวจ โดยคลื่นเสียงที่ถูกปล่อยออกมาจะมีความถี่สูง ส่งผ่านไปยังทรวงอกไปถึงหัวใจ เมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลจึงเกิดสัญญาณสะท้อนกลับและช่วยแปลผลเป็นภาพ ทำให้วินิจฉัยสาเหตุความผิดปกติ การสูบฉีดหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ ช่วยให้พบสภาวะการติดเชื้อ หรือเนื้องอกในหัวใจได้


ข้อสรุป

จากขั้นตอน วิธีการตรวจ และประโยชน์ในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จึงถือเป็นการตรวจสุขภาพประจำปีที่สำคัญสำหรับทุกคน เพราะนอกจากจะช่วยค้นหาสาเหตุ ป้องกันความรุนแรงของโรคที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับหัวใจแล้ว ยังช่วยให้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของเราได้อีกด้วย