|

ไหล่ติด คืออะไร? รักษาได้ไหม? มาหาคำตอบกัน

คุณมีอาการไหล่ติดอยู่หรือไม่? ให้คุณลองสังเกตตัวเองดูว่ารู้สึกปวดไหล่ ไหล่ติดยกแขนขึ้นไม่ได้ หรือเหยียดแขนตรงไม่ได้หรือไม่? เพราะหากคุณมีอาการเหล่านี้อาจจะถือว่าคุณกำลังสุ่มเสี่ยงเป็นข้อไหล่ติด ซึ่งอาการข้อไหล่ติดสามารถส่งผลให้การใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงคุณภาพชีวิตของคุณลดลงได้

โดยบทความของเราจะพามาให้คุณรู้จักกับอาการข้อไหล่ติดว่าคืออะไร ไหล่ติดมีสาเหตุมาจากอะไร ไหล่ติด อาการเป็นแบบใด และแนะนำท่ากายบริหารเพื่อช่วยให้อาการข้อไหล่ติดดีขึ้น


ข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder)

ข้อไหล่ติด คืออาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณหัวไหล่ ทำให้หัวไหล่ติด ไหล่ติดยกแขนไม่ขึ้น เนื่องจากรู้สึกติดขัด หรือสะดุด และอาจมีอาการปวดคล้าย ๆ กับนิ้วล็อคร่วมด้วย

โดยอาการข้อไหล่ติดสามารถส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น สวมใส่เสื้อผ้าได้ลำบาก หยิบสิ่งของ หรือเล่นกีฬาบางชนิดไม่ได้


ข้อไหล่ติดเกิดจากสาเหตุใด

ไหล่ติดเกิดจาก 2 สาเหตุดังนี้

ไหล่ติดมีสาเหตุมาจากอะไร

ข้อไหล่ติดแบบปฐมภูมิ

สาเหตุข้อไหล่ติดแบบปฐมภูมิเกิดได้จากการที่ปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายมนุษย์ (Autoimmune Reaction) ทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจากเชื้อโรคหรือความผิดปกติ ซึ่งจะทำการโจมตีเนื้อเยื่อของตัวเองจนเกิดการอักเสบขึ้น

ข้อไหล่ติดแบบทุติยภูมิ

ส่วนสาเหตุของอาการข้อไหล่ติดแบบทุติยภูมิเกิดได้จากการกระแทกแรง ๆ ที่หัวไหล่ซึ่งจะมีสาเหตุมาจากการประสบอุบัติเหตุจนเอ็นหัวไหล่ฉีกอักเสบ และผลข้างเคียงจากการผ่าตัด หรืออาการไหล่ติดที่มีสาเหตุมาจากโรคประจำตัวของคนไข้ เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ และ โรคพาร์กินสัน


3 ระยะอาการข้อไหล่ติด

ไหล่ติดอาการมีกี่ระยะ

1. ระยะอักเสบ (Freezing stage)

ระยะการอักเสบในข้อไหล่ติด ถือว่าเป็นระยะที่ปวดมากที่สุด เพราะคนไข้อาจมีอาการเจ็บที่ข้อไหล่ ถึงแม้จะไม่ได้ใช้งานไหล่ก็ตาม

2. ระยะข้อยึด (Frozen stage)

ในระยะข้อยึดอาการปวดจะบรรเทาลง แต่ยังคงปวดอยู่ ในระยะนี้จะมีอาการข้อไหล่ติดที่รุนแรงกว่าเดิมร่วมด้วยจึงทำให้การเคลื่อนไหวข้อไหล่ผิดปกติ

3. ระยะฟื้นตัว (Thawing stage)

อาการข้อไหล่ติดในระยะฟื้นตัว อาการปวดบริเวณหัวไหล่ในตอนที่ขยับตัวหรือเคลื่อนไหวจะน้อยลงซึ่งคนไข้จะเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้มากขึ้น และอาการจะเริ่มดีขึ้นช่วง 12 – 42 เดือน

แต่ถ้าคนไข้กลับไปเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ตามปกติไม่ได้ แพทย์จะใช้วิธีการรักษาอาการไหล่ติดด้วยวิธีการดัดข้อไหล่ หรือ การผ่าตัดส่องกล้อง เพื่อทำการสลายไหล่ติดพังผืดซึ่งช่วยให้คนไข้เคลื่อนไหวหัวไหล่ได้ดียิ่งขึ้น


กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นโรคไหล่ติด

หลายคนอาจกังวลอยู่ว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคไหล่ติดหรือไม่ ? ถ้าหากคุณไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ก็ไม่ถือว่าคุณมีอาการไหล่ติดค่ะ

  • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เพราะอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย จะเริ่มมีเสื่อมสภาพไปตามอายุและเวลา
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน โรคไทรอยด์ และโรคที่เกี่ยวข้องกับความอ้วน
  • ผู้ที่มีหินปูนเกาะกระดูกไหล่หรือเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด
  • ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุจากการกระแทกแรงๆ บริเวณข้อไหล่
  • ผู้ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายนาน ๆ หรือ ไม่ได้ใช้งานไหล่นาน ๆ

การวินิจฉัยโรคไหล่ติด

ไหล่ติดวิธีการรักษา

ผู้ที่มีภาวะไหล่ติดจนทำให้รู้สึกปวดไหล่ ยกไหล่ไม่ได้ ขั้นตอนในการรักษาเริ่มแรกแพทย์จะตรวจวินิจฉัยโรค โดยการซักประวัติเบื้องต้น และตรวจร่างกายภายนอก จากนั้นจะ X-ray ตามด้วยทำอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) หรือ ทำ MRI เพื่อตรวจหาความผิดปกติ รวมถึงสาเหตุของการเกิดภาวะไหล่ติดเพื่อที่จะสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง


วิธีรักษาไหล่ติด

วิธีรักษาไหล่ติดสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่

วิธีแก้ไหล่ติดแบบไม่ผ่าตัด

ไหล่ติดเป็นแบบใด

  1. การทานยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs

ผู้ที่เป็นภาวะไหล่ติดระยะแรก แพทย์จะให้ทานยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non – Steroidal Antinnflammatory Drugs) หรือยาแก้ปวดข้อ ยาแก้ไหล่ติด เพื่อช่วยให้อาการอักเสบบรรเทาลง

  1. การฉีดยาสเตียรอยด์แก้ไหล่ติด

ผู้ที่อยู่ในภาวะไหล่ติดระยะแรกจะไม่สามารถทำกายบริหารได้ เพราะสามารถทำให้มีอาการอักเสบมากขึ้นกว่าเดิม หากลองทานยาแก้อักเสบแล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปในข้อไหล่เพื่อช่วยลดอาการอักเสบและอาการไหล่ติด ดังนั้นไหล่ติด ฉีดยาสเตียรอยด์จึงเป็นอีกวิธีที่สามารถรักษาอาการไหล่ติดได้

  1. การทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดหัวไหล่ คือการทำท่ายืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นซึ่งจะทำให้เยื่อบุนิ่มลง และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยสามารถช่วยให้หัวไหล่ขยับได้มากขึ้น และอาการเจ็บบรรเทาลง

วิธีผ่าตัดรักษาข้อไหล่ติด

ไหล่ติดผ่าตัดเพื่อรักษา

การผ่าตัดรักษาข้อไหล่เป็นวิธีการรักษาสำหรับคนไข้ที่รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล รักษาด้วยวิธีการอื่นไม่ได้ หรือคนไข้ที่มีอาการมามากกว่า 6 – 12 เดือน จนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน

โดยแพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่เพื่อทำการเลาะตัดเยื่อบุข้อที่หนาและแข็งตัวออกไปซึ่งสามารถช่วยให้ไหล่ขยับได้มากขึ้น แต่ไม่ว่าจะรักษาแบบไหนก็ตามต้องมีการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้ผลการรักษาได้ประสิทธิภาพมากที่สุด


แนะนำท่าบริหารสำหรับผู้ป่วยข้อไหล่ติด

สำหรับผู้ที่มีอาการไหล่ติดและอยากทำท่ากายบริหาร โดยเราได้นำ 5 ท่ากายบริหาร หรือ 5 วิธีแก้ไหล่ติดมาฝากคุณแล้ว

ไหล่ติดการทำกายภาพบำบัด

1. ท่านิ้วไต่กำแพง

ท่ากายภาพไหล่ติดท่าแรกที่เราจะแนะนำคือ ท่านิ้วไต่กำแพง โดยหันหน้าเข้าหากำแพงเว้นระยะ 3 ใน 4 ของความยาวแขน จากนั้นงอข้อศอกเล็กน้อยใช้นิ้วมือข้างที่เป็นอาการไหล่ติดทำการไต่กำแพงเรื่อย ๆ ให้สูงเท่าที่คนไข้ทนความเจ็บปวดได้ โดยควรทำท่านี้ซ้ำ 10 ครั้งต่อวันและไม่ต้องเขย่งหรือเอี้ยวตัว

2. ท่าเหยียดแขนเหนือศีรษะ

ยกแขนข้างที่ไหล่ติด เหยียดให้ตรงขึ้นไปทางศีรษะ และใช้มืออีกข้างพยุงข้อศอกไว้ จากนั้นออกแรงดันให้แขนเหยียดตรงให้ได้มากที่สุด

3. ท่าผ้าถูหลัง

นำผ้าขนหนูขนาดประมาณ 90 เซนติเมตร พาดไปที่หลังของตนเอง ใช้มือจับปลายทั้งสองข้างไว้ โดยใช้แขนข้างที่ไม่เป็นอาการไหล่ติดจับที่ปลายของผ้าขนหนูด้านบน ส่วนข้างที่มีอาการให้จับที่ปลายผ้าขนหนูด้านล่าง จากนั้นใช้มือด้านบนทำการดึงผ้าขนหนูขึ้นให้มากที่สุดและค้างไว้ 10 วินาที โดยท่านี้ควรทำซ้ำ 10 ครั้งต่อวัน

4.ท่าหมุนข้อไหล่

ยืนขนาบข้างกับโต๊ะ จากนั้นก้มตัวลงเล็กน้อยและใช้มือข้างที่ไม่มีอาการไหล่ติดยันโต๊ะเพื่อช่วยพยุงตัวไว้ แล้วปล่อยแขนข้างที่มีอาการไหล่ติดลง และค่อย ๆ ทำการวาดแขนเป็นวงกลม โดยควรทำท่านี้ทำซ้ำ 10 ครั้งต่อวัน

5.ท่ายืน

วิธีทํากายภาพไหล่ติดที่เราขอแนะนำคือ ท่ายืน ค่ะ โดยทำการยืนที่ประตูหรือโต๊ะ โดยใช้มือข้างที่เป็นไหล่ติดจับประตูหรือโต๊ะให้มั่นคง งอข้อศอกประมาณ 90 องศา โดยข้อศอกต้องแนบข้างลำตัว และทำการหมุนตัวไปใรทิศทางที่มือจับโต๊ะหรือประตู 90 องศา แล้วหมุนตัวกลับมายังจุดเดิม โดยที่มือและข้อศอกอยู่กับที่


แนวทางการป้องกันโรคข้อไหล่ติด

ไหล่ติดแนวทางการป้องกัน

  • ไม่ควรนั่งท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ควรทำการเหยียดแขนเพื่อทำให้กล้ามเนื้อได้มีการคลายตัวบ้าง
  • ไม่ควรเหวี่ยงแขน และสะบัดแขนแรง ๆ
  • ควรออกกำลังกาย เพราะช่วยให้ข้อไหล่ได้มีการคายตัว และยืดหยุ่นมากขึ้น
  • ควรบริหารข้อไหล่เป็นประจำ

ข้อสรุป

อาการข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder) คืออาการเจ็บปวดที่หัวไหล่จนไม่สามารถยกแขนได้สุด เพราะมีอาการไหล่ติดยกแขนไม่ขึ้น ติดขัด และสะดุด โดยอาการนี้สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้

อาการไหล่ติดนั้นถ้าไม่ได้มีอาการที่รุนแรงมากสามารถหายเองได้ หรือรักษาไหล่ติดด้วยตัวเองโดยการรับประทานยาแก้ปวดไหล่ติด แต่ถ้ามีอาการไหล่ติดรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและตรวจหาที่มาของอาการ และเข้ารับการรักษา

โดยในปัจจุบันวิธีการรักษาอาการไหล่ติดมีหลายวิธี แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของโรค สำหรับวิธีการรักษาอาการไหล่ติดที่ดีที่สุดคือการเข้าพบแพทย์เพื่อที่จะดำเนินการรักษาได้อย่างตรงจุดมากที่สุด