|

โสม สุดยอดประโยชน์จากสมุนไพร

โสม เป็นสมุนไพรยอดนิยม และมีชื่อเสียงอย่างมากในเรื่องสรรพคุณด้านการเป็นยาบำรุง เป็นยาสมุนไพรที่อยู่คู่กับการแพทย์แผนตะวันออกมาอย่างยาวนานเป็นเวลานับพันปี ในปัจจุบันโสมนั้นเป็นที่นิยมกับคนทั่วโลกเป็นที่เรียบร้อย คนมักนำโสมไปเป็นส่วนผสมในอาหาร เครื่องดื่ม ยาบำรุง เพื่อช่วยเสริมสร้างพละกำลัง และปรับสมดุลให้กับร่างกาย ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ โสม ราชาสมุนไพรแห่งโลกตะวันออก ว่าสรรพคุณของมันมีอะไรบ้าง และดียังไง

โสม ที่สุดของสมุนไพร อุดมด้วยสรรพคุณ

โสม

โสมมีอยู่ด้วยกันกี่สายพันธุ์

โสมเป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดในแถบประเทศจีน และประเทศเกาหลี แต่ในปัจจุบันด้วยความที่โสม ถูกยกให้เป็นเหมือนเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ทั่วโลกเริ่มตื่นตัวในคุณค่าของโสม ทำให้โสมในพื้นที่ต่างๆ ที่เคยถูกเพิกเฉย เริ่มมีการนำมาใช้ และนำมาขยายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ของโสมที่เราจะนำมาเสนอมีอยู่ด้วยกัน ดังนี้

  1. โสมเกาหลี

โสมเกาหลี เป็นโสมที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ถูกกล่าวถึงอย่างมากทั้งในวงการแพทย์ สื่อโฆษณาต่างๆ ไปจนถึงสื่อบันเทิงมากมาย โดยโสมเกาหลีนั้นมีลักษณะเหมือนโสมทั่วๆไป ตั้งแต่ราก ลำต้น ใบ ไปจนถึงดอก สามารถนำมาทำเป็นยาบำรุงร่างกาย หรืออาหารเสริมได้

  1. โสมจีน

โสมจีน มีการใช้มาเป็นเวลานานแล้ว โดยโสมจีนนั้นได้มาจากมณฑลกวางสี หรือยูนนาน ปัจจุบันมีการนำมาปลูกในเวียดนามเป็ยจำนวนมาก แต่เนื่องจากต้นกำเนิดของมันอยู่ที่จีน ทำให้คนเรียกมันว่า โสมจีน ซึ่งสรรพคุณของมันนั้นก็ไม่ได้แพ้โสมชนิดอื่นเลย

  1. โสมอเมริกา

สำหรับโสมอเมริกา ถูกค้นพบครั้งแรกในป่าแถบอเมริกาเหนือ และเริ่มมีการเพาะปลูก ขยายพันธุ์มาเมื่อปลายปี ค.ศ.1800 โสมสายพันธุ์นี้ค่อนข้างต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก ต้องควบคุมอุณหภูมิ แสงแดด และความชื้นให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถปลูกโสมอเมริกาที่มีคุณภาพมากได้ 

  1. โสมซานซี

โสมซานซี เป็นคนละสายพันธุ์กับโสมจีนทั่วไป และมีสรรพคุณที่แตกต่างจากโสมจีนทั่วไปอยู่บ้าง โดยในปี 2005 มีการยืนยันจากวงการแพทย์ว่า โสมซานซีมีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างความทนทานให้แก่ร่างกาย ลดอาการเหนื่อยล้า และทำให้ร่างกายสามารถนำออกซิเจนไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะกับการใช้บำรุงสำหรับคนออกกำลังกายเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นสรรพคุณที่โสมจีนทั่วไปไม่มี

  1. โสมไทย

มาถึงโสมไทยของบ้านเรา เป็นสายพันธุ์ที่สามารถพบได้หลายภูมิภาคในไทย ในภาคกลางจะเรียกว่าโสมคน ภาคเหนือจะเรียกว่าว่านผักปั๋ง ลักษณะ และสรรพคุณทั่วไปค่อนข้างคล้ายกับโสมเกาหลี และโสมจีน

วิธีการรับประทาน

วิธีการรับประทานโสม ก็มีอยู่ด้วยกกันหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสกัดไปทำเป็นยาบำรุง นำมาปรุงอาหาร หรือการแปรรูปออกมาให้น้ำโสม เพื่อให้ดื่มได้ง่าย ซึ่งเป็นวิธีที่คนนิยมกัน โดยวิธีการรับประทานโสมที่ดีที่สุดนั้น ควรรับประทานในตอนที่ท้องว่าง เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารสกัดจากโสมได้ดียิ่งขึ้น ดัังนั้นช่วงเวลาเหมาะที่สุดในการทานโสมจะเป็นเวลา ตื่นนอน ระหว่างมื้ออาหาร และก่อนนอน

สมุนไพรน้ำ โสมสกัด

ผลกระทบจาก โสม

โสมนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่มีความปลอดภัยเป็นอย่างมาก ซึ่งได้รับการยืนยันจากวงการแพทย์ และงานวิจัยต่างๆ โสมนั้นสามารถทานติดต่อกันได้ตลอดช่วงอายุ โดยไม่มีผลกระทบอะไรต่อร่างกาย แต่การรับประทานโสม ก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และก็ไม่ใช่ต้องเริ่มรับประทานตั้งแต่เด็ก เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปียังไม่ควรเริ่มทานโสม ในช่วงอายุ 6 ปีขึ้นไปสามารถทานโสมได้ แต่ต้องทานในปริมาณที่น้อยกว่าผู้ใหญ่ทั่วไปทานกัน รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ซึ่งเป็นช่วงที่อ่อนไหวที่สุด ก็ควรงดเว้นการทานโสมก่อน

สรรพคุณของ โสม มีอะไรบ้าง

มาถึงหัวข้อที่ทุกคนคงอยากทราบกัน ว่าสรรพคุณโสมนั้นมีสรรพคุณอะไรบ้าง โดยโสมสายพันธุ์ต่างๆอาจจะมีสรรพคุณที่ต่างกันไปบ้าง แต่เราจะยกสรรพคุณที่โสมทั่วๆไปมีอยู่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. บรรเทาอาการที่เกี่ยวกับโรคมะเร็ง

สารออกฤทธิ์ ที่สามารถพบได้ในโสมชนิดต่างๆ เช่น จินเซนโนไซด์ เปปไทด์ พอลิแซ็กคาไรด์ สารเหล่านี้ ล้วนเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและเชื่อว่าอาจมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการต้านมะเร็งของจินเซนโนไซต์ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ที่พบได้ในโสมแดง รวมถึงในโสมเอเชีย โดยมีกลไกการต้านมะเร็งที่สำคัญ ได้แก่ หยุดวงจรชีวิตของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการสร้างเส้นเลือดใหม่เพื่อไปหล่อเลี้ยงเซลล์มะเร็ง หรือยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งโดยเฉพาะในระยะส่งเสริม (Promotion Phase) และระยะก้าวหน้า (Progression Phase) เป็นต้น นอกจากนี้ในโสมยังมีสารซาโปนินที่อาจช่วยลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งและเพิ่มการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัด อีกทั้งยังมีการรายงานเกี่ยวกับพอลิแซ็กคาไรด์ซึ่งเป็นสารประกอบหนึ่งของโสมว่ามีคุณสมบัติต้านมะเร็ง รวมถึงส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันและต้านอนุมูลอิสระ

  1. บรรเทาอาการเกี่ยวกับโรคทางระบบประสาท

โสมมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคทางระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง อัลไซเมอร์ หรือความผิดปกติของระบบประสาทชนิดเฉียบพลันหรือชนิดเรื้อรังอื่นๆ โดยที่โสมอาจช่วยบรรเทาภาวะเครียดจากออกซิเดชัน หรืออาจช่วยป้องกันและบรรเทาความเสียหายของเซลล์ประสาทที่เป็นผลมาจากโรคหลอดเลือดสมอง จึงช่วยยืนยันได้ว่าโสมมีประโยชน์ในการบรรเทาอาการเกี่ยวกับโรคทางระบบประสาทต่างๆ และยังช่วย บำรุงระบบไหลเวียนโลหิต อีกต่างหาก

  1. ช่วยบำรุงกำลัง เสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย

โสมมีสรรพคุณช่วยฟื้นฟูร่างกายที่เหนื่อยล้า ขจัดสารพิษต่างๆในร่างกาย เสริมภูมิคุ้มกัน และปรับสมดุลของร่างกายให้ทำงานได้เป็นปกติ ช่วยเพิ่มความอยากอาหารได้

  1. รักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

นอกจากนี้โสมยังมีสรรพคุณที่เป็นที่ต้องการสำหรับคุณผู้ชายหลายคน โดยการรักษาผู้หย่อนสมรรถภาพทางเพศก็มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี โดยมักจะมีใช้โสม ในการเป็นยาบำรุงควบคู่การรักษาไปด้วย โดยจะใช้โสมที่มีจินเซนโนไซด์เป็นสารประกอบสำคัญ จากการศึกษาโดยการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 7 ชิ้นได้ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโสมโดยให้ผู้ชายอายุตั้งแต่ 24–70 ปี จำนวน 393 คน รับประทานโสมวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 4–12 สัปดาห์ พบว่าโสมมีประสิทธิภาพช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศได้มากกว่าเมื่อเทียบกับยาบางชนิดด้วยซ้ำ

สรุป

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโสมจะเป็นสมุนไพรมากสรรพคุณ ที่ไม่มีผลกระทบอะไรกับร่างกาย แต่ที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะเป็นยาที่ดีแค่ไหน ก็ต้องควบคุมปริมาณการทานให้เหมาะสม ไม่ทานมากเกินไป เพราะอาจจะมีผล กระทบได้ นอกจากนี้แล้ว ผู้ที่มีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ หรือโรคประจำตัวอื่นๆ ควรลองปรึกษาแพทย์ก่อนว่า โรคประจำตัวที่เราเป็นอยู่มีปลอะไรกับการรับประทานโสมไหม

โสมน้ำ