|

ปัญหาผมร่วงรบกวนใจ สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ผมร่วง ผมบาง หรือศีรษะล้าน เป็นปัญหาก็กวนใจของใครหลายคน บางคนผมร่วงหนักมาก เป็นกังวลกันจนรู้สึกสูญเสียความความมั่นใจโดยเฉพาะผู้หญิง เวลาสระผมแล้วมีผมร่วงเยอะมาก ในท่อระบายน้ำ หรือจับเป็นก้อนผมในแปรง  

ซึ่งผมร่วงนั้นเกิดได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง หากคุณพบว่าคุณมีปัญหาผมร่วง ลองมาอ่านบทความนี้ดู เราได้รวบรวมเกี่ยวกับปัญหาของผมร่วงเกิดจากอะไร สาเหตุผมร่วง ผมร่วงขาดสารอาหารอะไร รวมถึงวิธีแก้ผมร่วง การรักษาผมร่วง แนะนำวิธีแก้ผมร่วง วิธีลดผมร่วง วิธีทําให้ผมไม่ร่วง ควรรักษาผมร่วงที่ไหนดี


สาเหตุหลักปัญหาผมร่วง

สาเหตุหลักปัญหาผมร่วง

โดยปกติแล้วเส้นผมคนเราจะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนหลุดร่วง ได้ประมาณ 50 – 100 เนื่องจากการผมร่วงเป็นส่วนหนึ่งในวงจรชีวิตของเส้นผม และงอกขึ้นใหม่ตามธรรมชาติ 

แต่ในบางคนอาจเกิดปัญหาผมร่วงเยอะมาก มากกว่าปกติ หรือร่วงแล้วไม่งอกขึ้นใหม่ ซึ่งใครๆก็ไม่อยากผมร่วงผมบาง อยากหาวิธีแก้ผมร่วง การรักษาผมร่วงก็มีหลายวิธี แต่เราควรมาทำความรู้จักกันก่อนว่า สาเหตุผมร่วงนั้น ผมร่วงเกิดจากอะได้ไรบ้าง มีดังนี้

  • ผมร่วงเกิดจากพันธุกรรม ฮอร์โมน
  • ผมร่วงจากความเครียด
  • ผมร่วงขาดสารอาหารอะไร
  • ผมร่วงจากการใช้ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม

จะเห็นได้ว่า ปัญหาผมร่วง อาจไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม หรือฮอร์โมนเพียงแค่นั้น สามารถเกิดจากพฤติกรรมของเราได้ด้วย ดังนั้นเราควรสังเกตตัวเองอยู่เสมอ เพื่อให้รู้ถึงสาเหตุของปัญหาผมร่วง จะได้รักษา และแก้ไขผมร่วงได้อย่างตรงจุด

1. ผมร่วงกรรมพันธุ์

ผมร่วง เป็นอีกภาวะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานแบบเป็นทอด ๆ ได้ โดยภาวะนี้จะมีอาการแสดงออกมาที่แตกต่างกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิง แต่ส่วนใหญ่ผมร่วงในผู้ชายเกิดจากพันธุกรรมมากถึง 95%

2. ผมร่วงจากฮอร์โมน

ผมร่วงจากฮอร์โมนส่วนใหญ่จะพบในเพศชาย ฮอร์โมนนี้ชื่อว่า dihydrotestosterone หรือ DHT การทำงานของมันคือจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นผม

3. ผมร่วงจากโรคต่างๆ

โรคที่ทำให้ผมร่วงได้ มีดังนี้ โรคผมร่วงทั่วศีรษะ,โรคผมร่วงเป็นหย่อม, โรคกลากเชื้อราบนหนังศีรษะ และโรคดึงผม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆ เช่น โรคติดเชื้อต่างๆ เอชไอวี ซิฟิลิส ติดเชื้อรา โรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน โรคผิวหนัง โรคไต ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โลหิตจาง

4. ผมร่วงหลังผ่าตัด 

หลังจากรับการผ่าตัด 3 – 4 เดือน อาจมีโอกาสร่วงได้ ผลมาจากการใช้ยาสลบ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดมไอระเหย และรูปแบบฉีด

5. ผมร่วงหลังคลอด 

หลังคลอดบุตร ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลงจนกว่าเดิม ส่งผลให้ผมก็จะไม่แข็งแรงเท่าเดิม

6. ผมร่วงจากเคมีบำบัด

ผมร่วงจากเคมี หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อคีโมผมร่วง คือผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็ง ทำให้รากผมแบ่งเซลล์เพื่อสร้างผมได้ช้าลง ผมที่ได้ก็จะไม่แข็งแรง

7. ผมร่วงจากความเครียด  

ความเครียดเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้โดยตรง ไม่ว่าเป็น หัวใจเต้นเร็ว ความดันสูง กล้ามเนื้อ และฮอร์โมนทำงานผิดปกติไป และก็ส่งผลต่อผมด้วยเช่นกัน ความเครียดอาจจะทำให้ผมร่วงง่ายกว่าเดิม

8. ผมร่วงเพราะขาดสารอาหาร

ผมร่วงเพราะขาดสารอาหารจำพวก โปรตีน ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินบี ดีและไบโอติน เป็นต้น เนื่องจากส่วนประกอบหลักของเส้นผม และช่วยในการบำรุงเส้นผม

9. ผมร่วงจากปัจจัยภายนอก 

ในกลุ่มคนที่กินคีโตนั้น เป็นการลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อลดปริมาณคาร์โบไฮเดรต จนทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ส่งผลให้ผมร่วงได้

สารเคมีเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่สามารถทำให้ผมร่วง เพราะเข้าไปอุดตันและสะสมบนหนังศีรษะ ทำให้ผมเปราะบางและหลุดร่วงง่ายอีกด้วย


เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับผมร่วง

เราได้เรียนรู้กับสาเหตุผมร่วง ผมร่วงเกิดจากอะไรกันไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่ผิดๆเกี่ยวกับเรื่องผมร่วง การรักษาผมร่วง มีดังนี้

  • ผมร่วงเพราะการไหลเวียนโลหิตไม่ดี 
  • ผมร่วงเพราะไขมันอุดที่รูขุมขน 
  • ผมร่วงเพราะหนังศีรษะมัน 
  • การสระผมบ่อยเกินไป สระผมแล้วผมร่วงบ่อยกว่าปกติ
  • การแพ้ยาสระผม 
  • การสวมหมวก หรือหมวกกันน็อกนานๆ
  • กินผงชูรสมาก ทำให้ผมร่วง ซึ่งยังไม่มีงานวิจัยที่ออกมารับรองชัดเจน
  • ใช้ไดร์เป่าผมบ่อย ๆ ไม่ได้ทำให้ผมร่วงได้
  • ทำสีผมนั้นทำให้ผมแห้งเสียได้ง่าย แต่ก็ไม่ใช่ต้นเหตุที่ทำให้ผมร่วงเป็นกระจุก ๆ

อาการผมร่วงที่ควรพบแพทย์

การผมร่วงที่ควรพบแพทย์

หลายคนสงสัยว่า อาการผมร่วง แบบไหนที่ควรพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณก่อให้เกิดโรคอันตราย มีดังนี้

  • ผมร่วงเป็นหย่อม หรือ ผมร่วงเป็นกระจุก

โรคนี้เกิดจากการอักเสบภายใต้หนังศีรษะ ผมร่วงเป็นวง โรคผมร่วงเป็นหย่อมเกิดได้กับทุกเพศทุกวัยเลย แต่ส่วนมากในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี สามารถเกิดขึ้นกับเส้นขนในบริเวณอื่นของร่างกายได้ เช่น คิ้ว หนวด เป็นต้น

  • การดึงผมตัวเอง

ผมร่วงที่เกิดจากพฤติกรรมการดึง หรือถอนผมตัวเอง โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ จัดโรคนี้ให้อยู่ในกลุ่มทางจิตเวชแบบย้ำคิดย้ำทำ


แนะนำวิธีแก้ปัญหาผมร่วง

วิธีรักษาผมร่วงด้วยตัวเอง

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร ทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น แร่ธาตุ และวิตามิน
  • หลีกเหลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด
  • หลีกเลี่ยงการทำร้ายเส้นผมด้วยเคมีและความร้อน เช่น ดัด ยืด ใช้ความร้อนสูงกับเส้นผม 
  • ใส่ใจสุขภาพจิตของตัวเอง ผ่อนคลาย ลดความเครียด ปล่อยว่าง
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่
  • ไม่มัดผมแน่นมากเกิน
  • ไม่หวีผมบ่อยจนเกินไป
  • ไม่หวีผมในขณะที่เปียกชื้น เพราะเป็นการทำร้ายเส้นผม
  • พยายามรักษาเส้นผมไม่ให้โดนแสงแดด ความร้อน หรือสารเคมีมากจนเกินไป
  • การหมักผมด้วยมะกรูด หรือหมักด้วยน้ำมันมะพร้าว
  • วิก ผมสามารถนำมาใช้ได้ทั้งกับผู้ที่มีปัญหาผมร่วงทั้งแแบบถาวร และแบบชั่วคราว

วิธีรักษาผมร่วงทางการแพทย์

  • การทานยาแก้ผมร่วง 

ยาทาหนังศีรษะไมนอกซิดิล (minoxidil) ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม 

  • การผ่าตัดปลูกผม

โดยวิธีผ่าตัดเจาะรากผมบริเวณท้ายทอยการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น PRP ผม ซึ่งการปลูกผมมีหลากหลายวิธี ได้แก่ FUE ( Follicular Unit Extraction ) ,การปลูกผมด้วยเทคนิค Long Hair FUE และการปลูกผมด้วยเทคนิค Direct Hair Implantation (DHI)

  • การฉีดสเต็มเซลล์ 

การฉีดสเต็มเซลล์ มาฉีดลงไปในหนังศีรษะ เพื่อกระตุ้นให้รากผมแข็งแรงขึ้น ช่วยลดการทำงานของฮอร์โมนที่ทำให้ผมร่วงอีกด้วย

  • การใช้เลเซอร์รักษาผมร่วง (Fotona Laser, LLLT)

ไม่เจ็บ ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องฉีดยา ไม่ต้องพักฟื้น ทั้งยังให้ประสิทธิภาพที่ดี ผมหนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การใช้เลเซอร์รักษาผมร่วง ช่วยกระตุ้นการทำงานของผม เสริมสร้างรากผม


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับผมร่วง

กินผงชูรสเยอะทำให้ผมร่วงจริงไหม?

ไม่มีรายงานถึงความสัมพันธ์ของการบริโภคผงชรสแล้วผมร่วง ทั้งรายงานในวารสารทางการแพทย์ หรือแม้แต่ข้อมูลจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา

โกนผมทำให้ผมหนาขึ้นไหม?

โกนผมทำให้ผมหนาขึ้นจะได้ผลแค่ช่วงเด็กเท่านั้น  เพราะเมื่อเราโกนผมเซลล์รากผมถูกกระตุ้น ร่างกายจึงต้องเร่งซ่อมแซมในส่วนนั้น แต่ถ้าเมื่ออายุช่วงประมาณ 20 ปีขึ้นไปแล้ว การโกนผมเส้นผม อาจจะไม่ได้ขึ้นได้ผลแล้ว

รังแคทำให้ผมร่วงหรือไม่?

รังแคไม่ได้ทำให้เส้นผมร่วงโดยตรง เป็นปัจจัยทางอ้อม เช่น อาการคันหนังศีรษะที่มาจากรังแค หรือความสกปรกที่เกิดจากรังแคสะสมบนหนังศีรษะที่ไปอุดตันตามรูขุมขนบนหนังศีรษะ


ข้อสรุป

ผมร่วงมีสาเหตุเกิดได้หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น มาจากกรรมพันธุ์ ฮอร์โมน และความเครียด เป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา เช่น การใช้สารเคมีมากเกินไป 

การล้างผมไม่สะอาด การทานอาหารไม่ถูกสุขอนามัย การเกาหนังศีรษะรุนแรงขณะสระผมโดนความร้อนมากเกินไป ก็มีส่วนทำให้เกิดปัญหาผมร่วงได้เช่นกัน

หากคุณรู้ตัวว่ากำลังผมร่วงจนผิดปกติ ควรปรับพฤติกรรมของตนเอง หรือพบแพทย์เพื่อรักษา อย่าปล่อยให้ปัจจัยเหล่านั้นทำร้ายเส้นผมคุณไปมากกว่านี้ ดูแลผมของคุณได้ด้วยตัวเอง 

โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โปรตีนต่างๆ ผักใบเขียว และธัญพืช ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดเกินไป  ไม่ทำสีผมบ่อย รวมทั้ง ไดร์ ยืด ดัด ม้วน กัดสี เพียงเท่านี้เส้นผมของคุณก็จะกลับมาแข็งแรง