9 เคล็ดลับ วิธีลดน้ำตาลในเลือด โดยไม่ต้อง กินยา
ภาวะน้ำตาลในเลือดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา วิธีลดน้ำตาลในเลือด ดีจึงขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการ
ใช้ชีวิตในเรื่องการรับประทานอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน และตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงคืออะไร
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia)ได้แก่ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ค่าปกติ คือ มากกว่า 99 มก./ดล.หลังอาหาร 8 ชม. และ เกิน 140 มก./ดล. หลังมื้ออาหาร 2 ชม.
ผู้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมักมีสาเหตุมาจากโรคเบาหวานเป็นหลัก เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นมีระดับ
น้ำตาลสูงขึ้นได้ง่าย เนื่องจากร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอหรือเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้การควบ
คุมระดับน้ำตาลผิดปกติ ต่างจากคนทั่วไปที่ฮอร์โมนอินซูลินจะถูกผลิตและหลั่งจากตับอ่อนหลังมื้ออาหาร
โดยทำหน้าที่เป็นตัวนำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายเพื่อเผาผลาญเป็นพลังงาน ส่งผลให้
ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงในระดับปกติ
อันตรายจากน้ำตาลในเลือดสูง
หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่องและไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจเสี่ยงเกิด
ภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายตามมา เช่น
- การทำงานของไตเสื่อมลงจนอาจเกิด ไตวาย
- โรคหัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง
หรือโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
- เส้นประสาทถูกทำลายและทำงานผิดปกติ ทำให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อน เจ็บเหมือนเข็มทิ่ม
และการรับรู้ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป
- โรคทางตาหรือเกิดความผิดปกติกับดวงตาที่เรียกว่าเบาหวานขึ้นตา เช่น จอประสาทเสียหาย
โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น
- ผิวหนังเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ
- มีปัญหาเกี่ยวกับเท้า เนื่องจากเส้นประสาทถูกทำลายและเลือดไหลเวียนไม่สะดวก เช่น เท้า
ติดเชื้อ หรือไร้ความรู้สึก บางรายอาจรุนแรงจนต้องตัดขาทิ้ง
- เกิดปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อต่อ
โรคฟันและเหงือก
9 วิธีลดน้ำตาลในเลือด เพื่อร่างกายที่แข็งแรงในระยะยาว
เนื่องจากความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล การลดน้ำตาลในเลือดจะพิจารณาจากสาเหตุที่ทำให้เกิด
ความรุนแรงและความเสี่ยงด้านสุขภาพของแต่ละคนเป็นหลัก
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร
ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและดื่มน้ำให้มากขึ้น แพทย์หรือนักโภชนาการจะช่วย
ดูแลและให้คำแนะนำด้านการกินอาหารที่ถูกต้อง เช่น ลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
หรือดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน เพราะน้ำจะช่วยขจัดน้ำตาลออกจากร่างกายผ่านทาง
ปัสสาวะและป้องกันภาวะขาดน้ำ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน วันละ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง จะช่วยเพิ่มการใช้พลังงาน ทำ
ให้น้ำตาลถูกน้ำออกมาใช้ แต่ผู้ที่โรคประจำตัวบางชนิด ควรระมัดระวังในการเลือกประเภท
ของการออกกำลังกาย โดยอาจขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อน แต่การออกกำลังกายนั้นต้อง
ได้เหงื่อ เพราะถ้าไม่ได้เหงื่อก็ไม่ได้ผล
- ระมัดระวังระดับน้ำตาลในร่างกาย
ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นสิ่งสำคัญที่
ช่วยควบคุมอาการไม่ให้แย่ลง การจดบันทึกและตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ จะ
ช่วยให้แพทย์ติดตามการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- งดเครื่องดื่มเเอลกอฮอล์ และบุหรี่
งดการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ เพราะมันทำให้อาการจากระดับน้ำตาลในเลือดรุนแรงขึ้น
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง
เลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูง นวัตกรรมใหม่สามารถสร้างโปรตีนจากพืชแทนสัตว์
เน้นอาหารที่ปลอดไขมันทรานส์ สด สะอาด ปลอดภัย และหาซื้อได้สะดวกและแน่นอน
เน้นทานอาหารที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เช่น พวกกระเทียม แอปเปิ้ลสีเขียว สำไย เป็นต้น
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
นอนหลับให้เพียงพอ เพื่อทำให้ร่างกายสดชื่น เพราะถ้าร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจทำ
ให้ระดับน้ำตาลในเลือดแกว่ง ส่งผลให้รู้สึกอยากของหวาน
- ลดอารมณ์เครียด
หลีกเลี่ยงความเครียด ซึ่งเป็นต้นเหตุของทุกโรค ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญกระตุ้นให้
ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เพราะฮอร์โมนคอร์ติซอ (ฮอร์โมนที่ทำให้อยากของหวาน) และ
ฮอร์โมนกลูคากอน (ที่ทำหน้าที่เผาผลาญคาร์โบไฮเดรต เพิ่มกลูโคสในกระแสเลือด) จะหลั่ง
ออกมามากกว่าปกติ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจข้นเฉียบพลัน
- จัดแบ่งการทานอาหาร
แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ แต่บ่อยขึ้น เพราะถ้าเป็นมื้อใหญ่ จัดเต็ม จะเสี่ยงต่อการได้รับ
อาหารมากเกินไป แต่ถ้าเป็นมื้อเล็ก ๆ ระหว่างวัน จะสามารถบริหารระดับน้ำตาลเข้าร่างกาย
ได้น้อยลงไปด้วย
- ทานอาหารบำรุงที่มีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาล
กินยาบำรุงสมุนไพรเพื่อลดน้ำตาลในเลือด ซึ่งในที่นี้เราขอแนะนำ สมุนไพรจีน ‘ถั่งเช่า’ ที่เป็น
วัตถุดิบจากธรรมชาติ สามารถทานต่อเนื่องได้ ไม่มีผลข้างเคียง ทำให้ภูมิต้านทานดีขึ้น
บำรุงการทำงานของไต ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่ม oxygen ในการไหลเวียนเลือด
หรือ สามารถนำถังเช่าอบแห้งมาต้มรวมกับน้ำซุปในแกงจืด หรือตุ๋นกับเนื้อหมู เหมือนเป็น
สมุนไพรจีนอย่างหนึ่ง หรืออาจนำไปชงดื่มเป็นชาก็ได้
สรุป
ระดับน้ำตาลในเลือด เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้นการป้องกันที่ดีจึงอยู่ที่ความใส่ใจใน
เรื่องการรับประทานอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รักษา
สุขอนามัยพื้นฐานและตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ควรต้องระมัดระวัง และหลีกเลี่ยง
“น้ำตาลในเลือดสูง อย่าเบาใจ เพราะเสี่ยง เบาหวาน”