ไขมันในเลือดสูง ภาวะเสี่ยงที่ควรระวัง
ภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นภัยเงียบอันตรายที่ควรระวัง เนื่องจากไขมันในเลือดสูงเป็นภาวะที่เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ภายในร่างกายมากมาย เช่น เส้นเลือดตีบ อุดตัน หรือ โรคหัวใจ เป็นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงรวมถึงควบคุมร่างกายไม่ให้มีปริมาณไขมันในเส้นเลือดสูงเกินไป จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะนี้ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร รวมถึงมีการดูแลรักษาอย่างไรเมื่อร่างกายกำลังประสบกับปัญหาภาวะไขมันในเลือดสูง
ภาวะไขมันในเลือดสูงคือ?
ไขมันในเลือดสูง(Dyslipidemia) คือ ภาวะเลือดที่อยู่ในร่างกายมีปริมาณไขมันมากกว่าปกติ โดยในร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยไขมัน 3 ประเภท คือ
ไขมันชนิดความหนาแน่นสูง (HDL)
ไขมันชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) หรือไขมันชนิดดี คือ ไขมันที่จะเป็นประโยชน์ให้กับร่างกาย ซึ่งจะช่วยป้องกันและกำจัดคอเรสเตอรอลและไขมันชนิดไม่ดีที่เกาะสะสมตามผนังหลอดเลือดแดงออกไป โดยในร่างกายควรมีไขมันชนิดดีในระดับไม่ต่ำกว่า 40 mg/dL
ไขมันชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL)
ไขมันชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) หรือไขมันชนิดไม่ดี คือ ไขมันที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งก็คือคอเรสเตอรอลที่เกาะสะสมตามผนังหลอดเลือด เป็นเหตุของหลอดเลือดแดงตีบตันและแข็ง โดยในร่างกายไม่ควรมีไขมันชนิดไม่ดีเกิน 120 mg/dL
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
ไตรกรีเซอไรด์ (triglycerides) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่เกิดจากการสังเคราห์ลำไส้เล็กและตับ หรือ ได้รับจากการรับประทานอาหารประเภทไขมันโดยตรง เช่น น้ำมัน เนย เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วไตรกลีเซอไรด์ระดับปกติจะอยู่ที่ 50-150 mg/dL แต่ในกรณีที่ร่างกายมีปริมาณไตรกลีเซอไรด์มากเกินไปก็จะส่งผลต่อร่างกายทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น
ประเภทของ ภาวะไขมันในเลือดสูง
Familial combined hyperlipidemia
เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไตรกรีเซอไรด์และระดับคอเรสเตอรอลสูงผิดปกติ ภาวะนี้จะไม่ทราบสาเหตุของการเกิดอย่างแน่ชัด แต่มีการค้นพบว่าอาจมีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม โดยพบผู้ที่มีภาวะนี้ประมาณ 1 คนใน 200 คน
Familial hypercholesterolemia
เป็นภาวะไขมันที่มีคอเรสเตอรอลในเลือดสูงตลอดเวลาที่พบบ่อย เกิดจากพันธุกรรมการที่ยีนมีการสร้างตัวหรือการกลายพันธุ์อย่างผิดปกติ
Familial hyperapobetalipoproteinemia
เป็นภาวะไขมันในเลือดสูงประเภทหนึ่ง โดยร่างกายจะมี Apolipoprotein B กล่าวคือโปรตีนที่เป็นส่วนหนึ่งของคอเลสเตอรอล(ไขมันชนิดไม่ดี)สูง
ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคไขมันในเลือดสูง
ผู้ที่สูบบุหรี่
ในกลุ่มผู้ที่สูบบุหรี่ จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคไขมันในเลือดสูงมาก เนื่องจากบุหรี่จะทำให้ระดับไขมันไตรกรีเซอไรด์สูงเพิ่มขึ้น แต่จะทำให้ระดับไขมันชนิดความหนาแน่นสูงหรือไขมันชนิดดีลดลง เป็นเหตุทำให้เลือดเกาะตัว และทำให้เส้นเลือดอุดตัน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ อัมพาต อัมพฤกษ์ เป็นต้น
กลุ่มคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายจะช่วยลดปริมาณไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และช่วยเพิ่มระดับไขมันชนิดความหนาแน่นสูง เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาได้ขยับร่างกาย หรือไม่ค่อยออกกำลังกายจึงต้องพึงระวังเกี่ยวกับภาวะไขมันในเลือดสูง ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงจึงควรหาเวลาออกกำลังกายสั้น ๆ ระหว่างวัน
ทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวหรือคอเลสเตอรอลสูง
การทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว หรือ มีคอเรสเตอรอลสูง เช่น ไขมัน มันจากสัตว์ จะทำให้ร่างกายมีปริมาณไขมันชนิดไม่ดีมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ในเลือดมีปริมาณไขมันเพิ่มสูงขึ้น และมีโอกาสทำให้เลือดเกิดการแข็งตัว และอุดตัน ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว โดยเลือกทานเนื้อส่วนที่ไม่ติดมัน หรือเนื้อปลาแทน
การวินิจฉัยโรค
ในกรณีที่ต้องการตรวจว่าเป็นภาวะไขมันในเลือดสูงไหม จำเป็นจะต้องเจาะเลือดเพื่อให้แพทย์ประเมินว่าไขมันในเลือดอยู่ในระดับที่ผิดปกติหรือไม่ และในกรณีที่ตรวจหาค่าไตรกลีเซอไรด์ ควรปฏิบัติตัวโดยงดอาหารอย่างน้อย 12 ชั่วโมงก่อนการเจาะเลือดเพื่อให้ผลการตรวจเป็นไปได้อย่างแม่นยำ (ในระหว่างที่งดอาหารสามารถดื่มน้ำได้)
วิธีการรักษา
การรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงนั้น นอกจากจะต้องรับประทานยาเพื่อช่วยลดระดับไขมันในเลือดแล้ว ผู้ป่วยนั้นก็จำเป็นจะต้องคอยควบคุมพฤติกรรมการกินหรือการใช้ชีวิตประจำวันด้วย โดยทางบทความมี วิธีลดคอเลสเตอรอล มาแนะนำ ดังนี้
1.เลือกบริโภคไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก แซลมอน ธัญพืชตระกูลถั่วทุกชนิด อะโวคาโด เป็นต้น เพื่อช่วยลดคอเรสเตอรอล
2.รับประทานผลไม้ที่มีส่วนช่วยลดคอเรสเตอรอลในร่างกาย เช่น ส้ม ส้มโอ มะพร้าว ทับทิม ลูกพลับ เป็นต้น
3.รับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยลดคอเรสเตอรอลในร่างกาย เช่น บล็อคโคลี ผักกวางตุ้ง คะน้า ถั่งเช่า รวมถึงปลาทะเล เป็นต้น
4.ลดการบริโภคไขมันทรานซ์หรือไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกาย เช่น ขนมเบเกอรี่ ขนบกรุบกรอบ ฟาสต์ฟู้ด เป็นต้น
5.ทำร่างกายให้ผ่อนคลาย ห่างไกลจากความเครียด ในกรณีที่รู้สึกเครียดให้หากิจกรรมอื่น ๆ ทำเพื่อลดความเครียด
6.ไม่สูบบุหรี่ รวมถึงงดดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
7.นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ
8.ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ในกรณีที่มีน้ำหนักมากเกินควรลดน้ำหนักเพื่อลดไขมันส่วนเกิน
9.รับประทานอาหารเสริมผู้ชายที่มีส่วนผสมจากสมุนไพรต่าง ๆ ที่มีสรรพคุณช่วยลดระดับคอเรสเตอรอลในร่างกายได้ เช่น เป็นต้น โดยรับประทานควบคู่พร้อมกับออกกำลังกายเพื่อช่วยลดคอเรสเตอรอลในร่างกายได้อย่างดี