เจ็บข้อเข่า สาเหตุมาจากอะไร วิธีการรักษาอาการปวดเข่า
ข้อเข่า เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในร่างกายที่ค่อนข้างรับบทหนักกว่าส่วนอื่นในร่างกาย เพราะไม่ว่าคุณจะทำกิจกรรมอะไร การเดิน การนั่ง การยืน ล้วนส่งผลกระทบต่อเข่า อาการเจ็บข้อเข่าสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกเพศทุกวัย และถ้าคุณปล่อยไว้ไม่เร่งรีบทำการรักษา
อาจนำไปสู่ภาวะข้อเข่าเสื่อมตามมาได้ หากคุณกำลังอยากทราบคำตอบเกี่ยวกับ ข้อเข่า ไม่ว่าจะเป็น เจ็บข้อเข่า ทําไงดี สาเหตุของการเจ็บข้อเข่า เกิดจากอะไรบ้าง ปวดเข่า สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง ในบทความนี้ เราได้รวบรวมคำตอบมาให้คุณแล้ว
ทำความรู้จัก ‘ข้อเข่า’
ข้อเข่า จะอยู่ในบริเวณที่ติดกับกล้ามเนื้อด้านหน้าของเข่า เป็นตัวช่วยในการเคลื่อนไหว และลดการเอียง การเจ็บข้อเข่า หรือบิดของกล้ามเนื้อลักษณะคล้ายของข้อเข่าก็คล้ายกับบานพับ บริเวณของข้อเข่าก็ประกอบไปด้วย 3 ส่วนในร่างกาย ซึ่งมีดังนี้
ส่วนประกอบของเข่า
1.ส่วนปลายกระดูกต้นขา (Femur)
ส่วนปลายกระดูกต้นขา จัดเป็นกระดูกที่ยาวที่สุดในร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ชิ้น โดยปลายด้านบนเรียกว่า Head ต่อเข้าในเบ้า Accetabulum ถัดลงมาเรียกว่า Neck ลงมามีปุ่ม 2 ปุ่ม มีชื่อเรียกว่า Greater trochanter (ด้านนอก) และ Lesser trochanter (ด้านใน)
2.ส่วนต้นของกระดูกหน้าแข้ง (Tibia)
ส่วนต้นของกระดูกหน้าแข้ง ประกอบไปด้วย 2 ชิ้น ส่วนที่แข็งแรงอยู่บนปลายขาด้านใน ปลายบนใหญ่ติดกับกระดูกต้นขา ปลายล่างเล็กกว่าปลายบน ทำให้มีโอกาสหักได้ง่าย ด้านในของปลายล่างมีปุ่มยืนออกไป ประกอบเป็นตาตุ่มใน (Medial Malleolus)
3.ลูกสะบ้า (Patella)
กระดูกสะบ้า (Patella) ประกอบไปด้วยกระดูก 2 ชิ้น เป็นกระดูกแบนรูปสามเหลี่ยมที่ด้านหน้าหัวเข่า ซึ่งมีปลายแหลมจะชี้ลงข้างล่าง กระดูกสะบ้ามี Ligament patella เกาะอยู่ที่ส่วนปลายยึด ทำให้กระดูกนี้อยู่กับที่ได้นั้นเอง
อาการเจ็บข้อเข่า เกิดจากสาเหตุใด
อาการเจ็บข้อเข่าส่วนใหญ่เกิดจากหลังทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การวิ่ง การเดิน การยืนนานๆ การกระโดด หรือแม้แต่น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น สาเหตุของอาการเจ็บข้อเข่าสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลาย อาการเจ็บข้อเข่ามีดังนี้
หมอนรองกระดูก
ความเสื่อมของเนื้อหมอนรองกระดูกตามการใช้งานตามอายุ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้แม้ในคนที่อายุน้อย หรือผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาความเสื่อมของหมอนรองกระดูก สามารถเกิดจากการประสบอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
กระดูกอ่อน
สาเหตุที่พบได้บ่อยของการเจ็บข้อเข่าด้านใน หรืออาจเจ็บข้อเข่าด้านนอก มักเกิดจากการใช้งานซ้ำ ๆ หรือมีการกระแทกซ้ำ ๆ จนทำให้เกิดการอักเสบหรือสึกหรอขึ้นบริเวณกระดูกอ่อน
หรือจากการงอเข่า นั่งยองเป็นประจำ การใช้งานข้อเข่าในการเดินขึ้นลงบันได ร่วมกับกล้ามเนื้อโดยรวมของสะโพกและขาไม่แข็งแรงมากพอ ก็อาจส่งผลทำให้คุณเกิดอาการเจ็บข้อเข่าได้
เส้นเอ็น
เจ็บข้อเข่า เกิดจากเส้นเอ็นถูกใช้งานซ้ำๆ ในระหว่างการเล่นกีฬา การหกล้ม การสะดุดล้ม เจ็บข้อเข่า จากการวิ่ง ทำให้เส้นเอ็นอักเสบบริเวณข้อเข่า ส่งผลให้เกิดการปวดบวมเข่า ข้อเข่าไม่มั่นคงได้
ภาวะข้อเข่าเสื่อม
ภาวะข้อเข่าเสื่อม โดยส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากการเจ็บข้อเข่าด้านใน หากอาการเสื่อมเป็นรุนแรงขึ้นก็จะทำให้ปวดทั่ว ๆ หัวเข่าตามมา เช่น เส้นเอ็น หรือหมอนรองกระดูก คุณควรรีบเข้ารับการรักษาให้ทันท่วงที เพื่อไม่ให้อาการเจ็บข้อเข่าเกิดการลุกลามจนเป็นภาวะข้อเข่าเสื่อม
วิธีสังเกตอาการเจ็บข้อเข่า ปวดเข่า
- การเจ็บ ปวด ขัด เสียว
- เกิดจากอุบัติเหตุ
- เกิดจากการบาดเจ็บขณะเล่นกีฬา
- มีความรู้สึกไม่มั่นคง รู้สึกว่าข้อเข่าไม่มีแรง
- อาการปวดร้าวขึ้นไปบนต้นขา
- อาการปวดร้าวลงไปบริเวณน่อง
ปวดเข่า เจ็บข้อเข่า มักพบในใครบ้าง
ผู้ที่มีความเสี่ยงว่าอาจจะมีอาการ ปวดเข่า เจ็บข้อเข่า ซึ่งมีดังนี้
- ผู้สูงอายุตั้งแต่อายุราว 45 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน
- ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุ เช่น อาการเคล็ด ระคายเคือง อักเสบชั่วคราว และการเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เข่าเสียอย่าถาวร
- ผู้ที่ออกกำลังกาย เล่นกีฬา ที่ต้องใช้เข่าหนัก เช่น การวิ่ง การยกน้ำหนัก
- ผู้ที่เป็นโรคข้อ เช่น รูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ โรคข้ออักเสบอื่นๆ
อาการเจ็บข้อเข่าอาจเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ
อาการเจ็บข้อเข่า เป็นสัญญาณบ่งบอกของโรคต่างๆที่สามารถเกิดขึ้นตามมาได้ มีดังนี้
โรคเก๊าท์
เกิดจากมีกรดยูริค ไปรวมตัวสะสมอยู่ตามข้อต่างๆของร่างกายจนเกิดการอักเสบ แดง ร้อน และปวดบวมอย่างรุนแรง ส่วนมากมักจะพบในเพศชายวัยกลางคน และเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน หากสามารถควบคุมระดับกรดยูริกได้ ก็จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบของอาการเจ็บข้อเข่าได้
โรครูมาตอยด์
เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำลายเนื้อเยื่อตนเอง จนทำลุกลามไปถึงข้อต่างๆที่อยู่ตามร่างกาย ทำให้เกิดการอักเสบ ปวดบวม และเจ็บข้อเข่า อักเสบ เกิดอาการปวดรวมกัน
โรคข้อเข่าเสื่อม
เกิดจากการสึกหรอของกระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่าที่เริ่มเสื่อมสภาพไปตามอายุที่มากขึ้น ส่วนใหญ่จึงพบในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ใช้งานเข่าเป็นประจำจากการออกกำลังกายหรือการทำงาน นอกจากนี้โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดจากอุบัติเหตุได้เช่นกัน
โรคอื่นๆ
ผู้มีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน โรคเอสแอลอี หรือผู้ที่ใช่ยาสเตียรอยด์ หากผู้ป่วยมีความเกี่ยวข้องเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ในตัวเอง ก็สามารถทำให้ข้ออักเสบได้ เพราะการทำลายเนื้อเยื่อของตัวเอง
การตรวจวินิจฉัยอาการเจ็บข้อเข่า
แพทย์อาจจะทำการตรวจวินิจฉัยอาการเจ็บข้อเข่าด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- การตรวจสอบเข่าของคุณเพื่อดูอาการบวม ปวด
- การทดสอบข้อเข่าของคุณสามารถขยับขาท่อนล่างไปในทิศทางต่างๆ ได้เต็มที่หรือไม่
- การทดสอบการกดหรือการดึงข้อต่อ เพื่อประเมินหัวเข่าของคุณ
- การดูภาพถ่ายภายในข้อเข่า ไม่ว่าจะเป็นการเอกซเรย์, การทำ CT scan, การทำอัลตราซาวด์, การทำ MRI
วิธีการรักษาอาการเจ็บข้อเข่า
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การใช้ชีวิตประจำวัน ยอมมีผลต่อข้อเข่าของคุณตลอดเวลา คุณควรหลีกเหลี่ยมพฤติกรรมเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น การขึ้นลงบันได การนั่ง การยื่นนานๆ การยกของหนัก การนั่งขัดตะหมาด การนั่งพับเพียบ คุณควรพักการใช้งานของข้อเข่าเป็นระยะ เพื่อไม่ให้ข้อเข่านั้นทำงานหนักจนเกินไป
ควบคุมน้ำหนัก
คุณควรพยายามควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์มาตราฐาน วิธีนี้เป็นการแก้ปัญหาจากต้นเหตุของการเจ็บข้อเข่า เพราะช่วยลดแรงกระทำต่อข้อเข่า ไม่ต้องรับน้ำหนักที่มากเกินไปนั้นเอง
รับประทานยาแก้ปวด
หลายคนมีอาการปวดเข่า กินยาอะไรดี การรับประทานยาพาราเซตามอล หรือยาแก้อักเสบ เป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้กัน เพราะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ ถ้าคุณรับประทานยาแก้ปวดหลายวันติดต่อกัน แต่อาการยังไม่ดีขึ้นคุณควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและเข้ารับการรักษา
วิธีดูแลข้อเข่าเพื่อป้องกันอาการเจ็บข้อเข่า
การออกกำลังกายโดยการบริการกล้ามเนื้อหัวเข่าอย่างเป็นประจำ เช่น การเดินเร็ว, การว่ายน้ำ, การเต้นแอโรบิกที่ไม่มีท่ากระโดด หรือออกกำลังกายด้วยท่าบริหารกล้ามเนื้อหัวเข่า สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บข้อเข่า เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น และความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า
FAQs เจ็บข้อเข่า ปวดเข่า
เจ็บข้อเข่า ปวดเข่า เลือกออกกำลังกายแบบไหนดี
คุณสามารถออกกำลังกายด้วยการยกปลายขาขึ้น ในเวลาที่คุณนั่งหรือนอน สำหรับท่านั่งให้ยกขาขึ้นมาบนเก้าอี้ ส่วนท่านานให้หาหมอนหรือผ้าห่มมาหนุน เพื่อยกปลายเท้าให้สูงขึ้นกว่าลำตัว วิธีนี้สามารถบรรเทาอาการปวดของข้อเข่าได้เล็กน้อย
หากเกิดอาการเจ็บข้อเข่า ปวดเข่า ควรประคบร้อนหรือประคบเย็น
การประคบเย็นและประคบร้อน จะใช้ในลักษณะอาการที่แตกต่างกัน เพราะการประคบเย็น จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบเฉียบพลันภายใน 24 ชั่วโมง แต่ถ้าคุณประคบเย็นมานานเกินกว่า 24 ชั่วโมงแล้ว อาการเจ็บข้อเข่ายังไม่ดีขึ้น สาเหตุอาจจะเป็นการอักเสบเรื้อรัง แนะนำให้ประคบอุ่น เพราะการประคบอุ่นช่วยให้เลือดเข้ามาเลี้ยงบริเวณหัวเข่ามากขึ้น
ข้อสรุป
อาการเจ็บข้อเข่า เกิดมาจากกระดูกของข้อเข่า อาจเกิดการอักเสบ การกดทับ หรือการเปราะหักอยู่ภายใน หากคุณรับประทานยาบรรเทาอาการปวด และประคบร้อนต่อเนื่องหลายวันแล้ว ยังพบว่าอาการไม่ดีขึ้น ไม่ควรปล่อยให้อาการเรื้อรัง คุณควรเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและรักษาที่ต้นเหตุ