โรคแพนิค ก่อให้เกิดอาการกลัว วิตกกังวล จะมีวิธีรักษาได้อย่างไรบ้าง?

โรคแพนิครักษาหายไหม

ในปัจจุบันมีผู้คนมากมายที่อาจจะยังไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเป็นโรคแพนิคอยู่ เพราะอาการแพนิคมีความคล้ายกับความรู้สึกกลัวโดยทั่วไป จึงทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยกับตัวเองว่าป่วยเป็นโรคแพนิคอยู่รึเปล่า หรือแค่มีภาวะตกใจ ความกดดัน และความกลัวเท่านั้นเอง แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิคนั้น อาการแพนิคจะมีความรุนแรงมากกว่าคนปกติทั่วไปโดยสิ้นเชิง เช่น เกิดความเครียดสะสม วิตกกังวลอยู่บ่อยครั้ง และไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกเหล่านี้ให้หายไปได้ ต้องจมอยู่กับความรู้สึกแบบนี้เป็นเวลานานกว่าปกติ อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า คุณกำลังเป็นโรคแพนิค

ในบทความนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของโรคแพนิคทั้งหมด เช่นโรคแพนิคคืออะไร ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิคจะมีอาการอย่างไรบ้าง สาเหตุที่ทำให้เกิดรวมถึงวิธีที่รักษาโรคแพนิคอย่างถูกวิธี



อาการโรคแพนิค เช็กให้ชัวร์ 

ก่อนอื่นเลย ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิคโดยทั่วไปแล้ว เมื่อต้องเจอกับสถานะการ์ณที่ไม่คาดคิด จนทำให้เกิดมีภาวะความเครียด ความวิตกกังวล รู้สึกกลัวแบบกะทันหัน จึงแสดงพฤติกรรมของตัวเองเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง อาการโรคแพนิคที่บ่งชี้อย่างเห็นได้ชัดในผู้ป่วยโรคแพนิคโดยทั่วไป มีดังต่อไปนี้

  • หัวใจเต้นเร็วมากกว่าปกติ หายใจติดขัด หรือหายใจไม่ค่อยออก
  • มีความรู้สึกหวาดกลัวแบบสุดขีด และมีภาวะวิตกกังวลอย่างรุนแรง
  • ร่างกายไม่สามารถขยับ และไม่สามารถก้าวขาเดินได้
  • มีอาการสั่นไปทั่วร่างกาย และมีเหงื่อไหลออกมาเป็นจำนวนมากทั่วร่างกาย หรือตรงบริเวณใบหน้า และตรงบริเวณมือ
  • เกิดความรู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ ตามร่างกาย
  • วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม คลื่นไส้อยากอาเจียน และรู้สึกภายในท้องปั่นป่วน
  • ไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกได้ด้วยตัวเอง
  • กังวลไปทุกอย่าง เพราะกลัวเกิดอันตรายกับตัวเองถึงขั้นเสียชีวิต

 หากคุณเกิดมีคำถามข้อสงสัยกับตัวเอง ว่าตอนนี้คุณกำลังเป็นโรคแพนิคอยู่รึเปล่า? ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบตัวเองได้จากอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หรือเข้าไปทำโรคแพนิคแบบทดสอบ ตามเว็บไซต์ออนไลน์ได้ เมื่อรับรู้ว่าตัวเองเป็นผู้ป่วยโรคแพนิค ก็ควรที่จะรีบรักษาในทันทีเพื่อให้เกิดอาการความรุนแรงไปมากกว่าเดิม


ทำความเข้าใจ โรคแพนิค คืออะไร 

โรคแพนิค คืออะไร

โรคแพนิค หรือโรคตื่นตระหนก คือมีภาวะตื่นตระหนกกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออาจจะไม่มีสาเหตุใดเลยก็ได้ จนทำให้ระดับฮอร์โมนภายในร่างกายลดลงแบบกะทันหัน ส่งผลทำให้สารสื่อประสาทในสมองผิดปกติ คล้ายกับว่าโดนไฟฟ้าลัดวงจร ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิคมักจะมีปัญหาในส่วนของระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ จึงส่งผลทำให้ระบบประสาทที่คอยควบคุมร่างกายผิดปกติไปด้วยเหมือนกัน โดยมักจะมีพฤติกรรมที่แสดงออกมาเปลี่ยนแปลงไป เช่นมีภาวะความเครียดอย่างเห็นได้ชัด มีความรู้สึกกลัวจนตัวสั่น หายใจติดขัด เหงื่อไหลตามใบหน้า ตามมือเป็นจำนวนมาก รู้สึกร้อนไปตามร่างกาย หรือรู้สึกเย็นตรงบริเวณนิ้วมือและนิ้วเท้า 

ผู้ป่วยโรคแพนิคจะไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกเหล่านี้ได้ด้วยตนเองในทันที จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 10 – 30 นาที หรืออาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่แต่ละบุคคล อาการแพนิคจะค่อย ๆ สงบลง หลังจากนั้นผู้ป่วยโรคแพนิคจะรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลียจนไม่มีแรง ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก

สำหรับผู้ที่มีอาการแพนิคแอทแท็ค  ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคแพนิคเสมอไป ก่อนอื่นเลย Panic attack คืออาการกลัว วิตกกังวลรุนแรง ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจอย่างกะทันหัน ซึ่งอาการจะคล้ายโรคแพนิค แต่โรคแพนิคจะแสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และมีอาการที่ค่อนข้างรุนแรงมากกว่า และโรคแพนิคมักจะเกิดจากสารสื่อประสาทในสมองผิดปกติ 


สาเหตุของโรคแพนิค เกิดจากอะไร

สาเหตุของโรคแพนิค สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ และปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เป็นโรคแพนิค ในเมื่อโรคแพนิคนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย แต่ส่วนมากที่พบเจอว่าเป็นโรคแพนิคมักจะเป็นช่วงวัยรุ่น หรือวัยทำงานโดยส่วนใหญ่ เพราะเป็นช่วงวัยที่มักจะเจอกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย เช่น เรื่องการเรียน ความกดดันในหน้าที่การงาน และปัญหาในครอบครัว สาเหตุของโรคแพนิคโดยทั่วไปมักจะเกิดขึ้นด้วย 2 สาเหตุหลัก ๆ มีดังนี้

  • สาเหตุทางร่างกาย เช่น ความผิดปกติของฮอร์โมน ปัจจัยด้านพันธุกรรม โรคหัวใจ โรคไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
  • สาเหตุสภาพจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล มีประสบการณ์ที่กระทบจิตใจอย่างรุนแรง

การรักษาโรคแพนิคมีกี่ประเภท

การตรวจและรักษาโรคแพนิค

รักษาโรคแพนิคด้วยจิตบำบัด

การรักษาโรคแพนิค ด้วยจิตบำบัด โดยอาศัยหลักการของจิตวิทยาเชิงพฤติกรรมนิยม มุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมเชิงลบที่ส่งผลให้เกิดอาการแพนิค โดยนักบำบัดจะพูดคุย ถามไถ่ผู้ป่วยเพื่อเล่าถึงความคิดและพฤติกรรมเชิงลบเหล่านั้น จากนั้นจึงช่วยให้ผู้ป่วยโรคแพนิคเรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมเหล่านั้นให้เป็นความคิดและพฤติกรรมเชิงบวกที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับมือกับความวิตกกังวลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รักษาโรคแพนิคด้วยยา

การรักษาโรคแพนิคด้วยยา เป็นการรักษาที่มุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ ให้กลับมาอยู่ในระดับที่ปกติ ช่วยแก้อาการแพนิคที่เกิดขึ้นได้ ยาที่ใช้รักษาโรคแพนิคแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) เป็นยาระงับประสาท ซึ่งช่วยลดอาการแพนิค และยากลุ่มต้านซึมเศร้า (Antidepressants) เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยการปรับสมดุลของสารเคมีในสมอง 


ยารักษาแพนิคมีผลข้างเคียงไหม?

ยารักษาโรคแพนิคทุกชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยารักษาโรคแพนิค ได้แก่ ง่วงซึม มึนงง อ่อนเพลีย ปากแห้ง ผลข้างเคียงของยารักษาโรคแพนิคมักเกิดขึ้นในช่วงแรก ๆ ของการรักษา และมักจะหายไปเองเมื่อร่างกายปรับตัวเข้ากับยาได้ อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยโรคแพนิคมีอาการผลข้างเคียงที่รุนแรงหรือรบกวนชีวิตประจำวัน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

อีกหนึ่งวิธีที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษาโรคแพนิคสำหรับผู้ป่วยที่พึ่งทราบว่าตนเองกำลังเป็นโรคแพนิคและไม่มีอาการรุนแรงมากนัก คือรักษาแพนิคด้วยตัวเอง โดยการฝึกหายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ และค่อยเตือนสติให้อยู่กับตัวเอง และหากิจกรรมที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น นั่งสมาธิ ออกกำลังกาย เล่นกีฬา เป็นต้น แต่ต้องเป็นผู้ป่วยโรคแพนิตที่มีอาการไม่ถึงระดับรุนแรง จึงจะเหมาะกับวิธีนี้


วิธีการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคแพนิค

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคแพนิคเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยบรรเทาอาการและปรับปรุงคุณภาพชีวิต โดยผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ดังนี้ 

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง และคาเฟอีน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
  • ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การหายใจลึก ๆ การนวดบำบัด
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด
  • พูดคุยกับคนที่คุณไว้ใจ การพูดคุยกับคนที่คุณไว้ใจ เช่น เพื่อน ครอบครัว หรือนักบำบัด จะช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจขึ้นและรับมือกับความวิตกกังวลได้ดีขึ้น

สรุปโรคแพนิค จะดีขึ้นได้ต้องดูแลตัวเอง

โรคแพนิคอันตรายไหม? ต้องบอกว่าสำหรับผู้ป่วยที่กำลังต้องเผชิญกับการเป็นโรคแพนิคที่เกิดขึ้นกับตนเองอยู่ ว่าจริง ๆ แล้วโรคแพนิคไม่อันตรายถึงขึ้นเสียชีวิต แต่ทำให้เกิดผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก สร้างความกลัว ความวิตกกังวลให้กับตัวผู้ป่วย ถึงอย่างนั้นผู้ป่วยโรคแพนิคควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่กระตุ้นความวิตกกังวล โดยค่อย ๆ เผชิญกับสถานการณ์เหล่านั้นทีละน้อย เมื่อผู้ป่วยเริ่มรู้สึกสบายใจขึ้นก็สามารถเผชิญกับสถานการณ์นั้น ๆ ได้นานขึ้น และอาการโรคแพนิคก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นตาม