โพรไบโอติก (Probiotic) และพรีไบโอติก (Prebiotic) มีประโยชน์อย่างไร

Probiotic และ Prebiotic

ผู้ที่สนใจในการดูแลสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารควรรู้ กับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ที่จะเข้ามาช่วยดูแลระบบทางเดือนอาหาร ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมอาหารได้ดียิ่งขึ้น โดยชื่อของจุลินทรีย์นั้นก็คือ โพรไบโอติก (Probiotic) และพรีไบโอติก (Prebiotic) เป็นจุลินทรีย์ที่มีชื่อคล้ายคลึงกัน แต่มีประโยชน์ที่แตกต่างกัน ซึ่งในบทความนี้จะมาแนะนำให้รู้จักกับProbiotic Prebiotic ให้มากขึ้น ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดต่าง ๆ ได้ในบทความนี้ 

Probiotic คืออะไร 

Probiotic หรือโพรไบโอติกคือ จุลินทรีย์ที่จัดอยู่ในกลุ่มของจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยจะมีอีกชื่อที่หลาย ๆ คนนิยมเรียกกันนั้นก็คือ “จุลินทรีย์ที่มีชีวิต” มักพบได้บ่อยในอาหารหลายประเภท เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว โพรไบโอติกจะเข้าไปกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ลดปัญหาของการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น ท้องร่วง, ท้องผูก, โรคเกี่ยวกับลำไส้บางชนิด เป็นต้น 

Prebiotic คืออะไร

Prebiotic หรือพรีไบโอติกคือ อาหารที่ไม่มีชีวิต เป็นอาหารที่ร่างกายของคนเราไม่สามารถดูดซึมได้ โดยอาหารชนิดนี้จะถูกส่งตรงไปยังลำไส้ใหญ่เพื่อให้โพรไบโอติกเป็นตัวดูดซึม ทำให้โพรไบโอติกที่อยู่ในร่างกายสามารถเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น

Probiotic และ Prebiotic แตกต่างกันอย่างไร ? 

Probiotic กับ Prebiotic ต่างกันอย่างไร

Probiotic เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต เป็นจุลินทรีย์ที่ปกติจะสามารถพบได้ในร่างกาย เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง ช่วยในการยับยั้งไม่ให้จุลินทรีย์ที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ เติบโต ลดปัญหาท้องเสีย และช่วยป้องกันอาการผิดปกติของลำไส้ โดยโพรไบโอติกสามารถพบได้ในอาหารได้หลายชนิดเช่น นมเปรี้ยว, โยเกิร์ต, อาหารหมักดอง เป็นต้น

Prebiotic เป็นอาหารที่สำคัญของ Probiotic ช่วยให้ Probiotic สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ เป็นอาหารที่ร่างกายของคนเราไม่สามารถดูดซึมได้เมื่อรับประทานเข้าไป ซึ่งจะสามารถพบพรีไบโอติกได้ในอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง, กล้วย, ข้าวโอ๊ต, กระเทียม เป็นต้น

ทานอาหารที่มี Probiotic กับ Prebiotic ควบคู่มีประโยชน์กว่าจริงไหม ?

มีประโยชน์มากกว่าจริงเพราะว่า Probiotic เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งต้องการสารอาหารสำหรับใช้ในการเจริญเติบโต เพื่อที่จะสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้การรับประทานอาหารที่มี Prebiotics ควบคู่ไปกับการกินอาหารที่มี Probiotics จะยิ่งส่งผลดีที่มากกว่าการรับประทานเพียงชนิดเดียว

Probiotic สำคัญต่อร่างกายมากขนาดไหน ?

Probiotic มีประโยชน์อย่างไร

Probiotic ถือว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายคนเรามาก ช่วยสร้างสมดุลให้กับระบบต่าง ๆ ของร่างกาย แถมยังสามารถป้องกันโรคได้หลายชนิด และยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกหลายอย่าง ซึ่งในหัวข้อนี้จะขอบอกถึงประโยชน์ของโพรไบโอติก

  1. ปรับสมดุลให้กับระบบการย่อยอาหาร
  2. ปรับสมดุลให้กับระบบการขับถ่าย
  3. ช่วยกระตุ้น ฟื้นฟูภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  4. ป้องกันอาการอักเสบ และภูมิแพ้
  5. ป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  6. ป้องกันการอักเสบของระบบปัสสาวะ
  7. บรรเทาอาการโรคต่าง ๆ เช่น โรคตับ, โรคอ้วน, โรคไขมันพอกตับ, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคโคลิคในเด็ก เป็นต้น

Probiotic รับประทานได้มากเท่าไหร่ ควรรับประทานตอนไหน ?

Probiotics มีปริมาณที่มีเหมาะสมในการรับประทานเท่าไหร่ ? น่าจะเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนให้ความสนใจในการรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ โดยปริมาณที่มีความเหมาะสมกับร่างกายก็คือ 10-20 พันล้านตัวต่อวัน เพราะหากรับประทานมากเกินไปอาจเกิดผลเสียต่าง ๆ เช่น

  • แก๊สในกระเพาะอาหาร
  • เกิดผื่นคันบริเวณผิวหน้า
  • ปวดหัว เนื่องจากรับสารเอมีน(Amines) มากเกินไป
  • ประสิทธิภาพของ Probiotic ลดลง
  • อาจเกิดอาการต้านยาปฏิชีวนะ

Probiotic กินตอนไหนได้บ้าง ? ช่วงเวลาที่เหมาะสมก็คือ ช่วงเวลาก่อนอาหาร หรือระหว่างมื้ออาหาร เพราะว่าโพรไบโอติกสามารถถูกทำได้ด้วยน้ำย่อยภายในกระเพาะอาหาร การรับประทานอาหารไปด้วยจึงจะเป็นการช่วยไม่ให้โพรไบโอติกถูกทำลายไปมากจนเกินไป ไม่ควรรับประทานตอนท้องว่าง

อาหารที่มี Probiotic สูงมีอะไรบ้าง ? 

อาหารที่มี่ Probiotic
  1. โยเกิร์ต เป็นหนึ่งในอาหารที่มี Probiotic สูงมาก ยิ่งเป็นโยเกิร์ตสด ๆ จะยิ่งมี Probiotics มาก ซึ่งในหลายยี่ห้อจะมีการใช้ Probiotic หลายสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งเรื่องระบบขับถ่าย และระบบการย่อยอาหารเช่น Bifidobacterium,  Lactobacillus acidophilus, Lactobacillus casei เป็นต้น
  2. นมเปรี้ยว หรือนมที่ได้รับการหมักจนเกิด Probiotic ขึ้นมา ซึ่งในนมเปรี้ยวจะมีการใช้ Probiotic ชนิดเดียวกันกับโยเกิร์ตแต่มีการเปลี่ยนรูปแบบการรับประทานเป็นการดื่มเท่านั้น
  3. อาหารหมักดองหลายชนิด เช่น ผักกาดขาว, แตงกวา, หัวไชเท้า เมื่อผ่านกระบวนการหมักดองจะทำให้เกิด Probiotic ขึ้นมา แถมนอกจากนั้นยังทำให้สามารถรับสารอาหารต่าง ๆ จากใยอาหาร และพืชผักหลาย ๆ ชนิดยังเป็นอาหารเสริมโพรไบโอติกให้เติบโตได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
  4. นัตโตะ หรือก็คือถั่วหมัก ที่มีชื่อเสียงมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อถั่วถูกหมักจนเน่าจะทำให้เกิด Bacillus Natto โดยจะเห็นเป็นใยเมือกเหนียว ๆ สามารถรับประทานได้ ถือว่าเป็น Probiotic ชั้นดีจากธรรมชาติ

สรุป 

เพียงเท่านี้ผู้ที่มีความสนใจใน Probiotic กับ Probiotic นั้นมีประโยชน์อย่างไรซึ่ง Probiotics นับว่าเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์หลายอย่างต่อร่างกายมาก ทั้งในเรื่องของระบบการย่อยอาหาร และระบบการขับถ่าย ทำให้ระบบลำไส้ไม่ทำงานหนักจนเกินไป แถมยังช่วยบรรเทาอาการจากโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วยหากรับประทานโพรไบโอติกส์ในปริมาณที่เหมาะสม