|

แนะนำ 6 วิธี ลดไขมันในเลือด โดยไม่ต้องพึ่งยา

ใคร ๆ ก็คงทราบกันดีว่าเมื่อมีไขมันสะสมในร่างกายย่อมไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ยิ่งการมีไขมันในเลือดสูงแล้วยิ่งส่งผลอันตรายกับร่างกายเป็นอย่างมากและเป็นจุดเริ่มต้นของโรคอันตรายหลาย ๆ โรคอีกด้วย ฟังแบบนี้แล้วการมีไขมันในเลือดสูงใคร ๆ ก็คงจะไม่อยากเป็นกันใช่ไหมล่ะครับ นอกจากการรักษาด้วยการกินยาแล้ว ยังมีวิธีลดไขมันในเลือด โดยไม่ต้องกินยาก็ให้ผลดีในระยะยาวเช่นเดียวกัน 

ระดับไขมันในเลือด ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

ก่อนเราจะไปทราบถึงระดับไขมันในเลือดสูงเท่าไรจึงจะอันตราย เรามารู้จึกถึงชนิดของไขมันในร่างกายมนุษย์กันก่อนครับ

ไขมันในร่างกายมนุษย์มีทั้งหมด 2 ประเภทใหญ่ ๆ 

  1. คอลเรสเตอรอล (Cholesterol) การรับประทานอาหารประเภทของหวาน มัน เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทะเล รวมไปถึงขนมคบเคี้ยวที่อาจมีส่วนประกอบของไขมันทรานส์ เมื่อรับประทานเข้าไปก็จะส่งผลให้ระดับคอลเรสเตอรอลในร่างกายสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคอลเรสเตอรอลยังสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ชนิด
  • LDL, ไขมันชนิดความหนาแน่นต่ำ หรือไขมันชนิดไม่ดี ซึ่งไขมันชนิดนี้ก่ออันตรายแก่สุขภาพเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถไปสะสมที่ผนังหลอดเลือด ทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตแย่ลงและอาจทำให้หลอดเลือดตีบตันได้ จนเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองตีบตัน
  • HDL, ไขมันชนิดความหนาแน่นสูง หรือไขมันชนิดดี ไขมันชนิดนี้มักพบในอาหารประเภทเนื้อปลา ไข่ อะโวคาโด น้ำมันมะกอก และอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งไขมันดีนี้มีส่วนช่วยให้ไม่ให้ไขมันไม่ดีไปสะสมและเกาะตัวที่ผนังหลอดเลือด ทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ 
  1. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเองจากแป้งและน้ำตาลที่รับประทานเข้าไป เมื่อร่างกายได้รับพลังงานเกินพอ พลังงานนั้นจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันหรือไตรกลีเซอไรด์นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามการที่ร่างกายเก็บพลังงานในรูปไตรกลีเซอไรด์ไว้มากและไม่มีการนำออกมาใช้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงเช่นกัน

เมื่อรู้จักถึงชนิดของไขมันในร่างกายแล้ว มาดูกันว่าไขมันชนิดไหนควรมีระดับเท่าไร และหากมีเกินกว่าเท่าไรจึงจะนับว่าอันตรายครับ

  • คอลเรสเตอรอล ในเลือดไม่ควรมีระดับคอลเรสเตอรอลเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และในคอลเรสเตอรอลยังสามารถแบ่งประเภทได้อีกคือ
    • LDL ในเลือดไม่ควรพบเกิน 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
    • HDL ในเลือดควรพบมากกว่าหรือเท่ากัน 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเพศชายและพบมากกว่าหรือเท่ากับ 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเพศหญิง

ไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดไม่ควรพบมากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

แนะนำการลดไขมันในเลือด โดยไม่ต้องกินยา

เมื่อทราบว่าตนเองมีภาวะไขมันในเลือดสูง แพทย์จะแนะนำให้ ลดไขมันในเลือด โดยไม่ต้องกินยา ด้วยการปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แพทย์จะพิจารณาการจ่ายยาลดไขมันในเส้นเลือดให้ในผู้ที่ปรับพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อลดไขมันในเลือดแล้วก็ยังไม่ได้ผล ก่อนไปถึงจุดที่ต้องใช้ยาลดไขมันในเลือด เรามาลองใช้วิธีลดไขมันในเลือด โดยไม่ต้องกินยากันก่อนครับ

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การป้องกันไม่ให้ร่างกายนำพลังงานที่เหลือมาสะสมไว้ในรูปแบบไขมัน ซึ่งทำให้เกิดไขมันในเส้นเลือดสูงในอนาคตคือการใช้พลังงานให้เท่ากับที่เรารับประทานเข้าไปครับ การออกกำลังกายเป็นวิธีการดึงพลังงานที่เราได้รับออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้การสะสมพลังงานในรูปแบบไขมันน้อยลง จึงเป็นการลดโอกาสที่ไขมันในเลือดสูง และเป็นวิธีลดไขมันในเลือดแบบธรรมชาติวิธีหนึ่งครับ

  • พักผ่อนให้มากขึ้น

วิธีลดไขมันในเลือดแบบธรรมชาติอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ง่ายมาก ๆ คือการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ เพราะการนอนหลับที่ไม่เพียงพอจะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น และทำให้ระดับ HDL ในร่างกายต่ำลงนั่นเอง

  • ดื่มน้ำให้เยอะขึ้น

ในร่างกายมนุษย์มีน้ำเป็นองค์ประกอบส่วนมาก ซึ่งช่วยให้ระบบกลไกต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ หากดื่มน้ำไม่เพียงพอก็จะทำให้ขาดสมดุลในร่างกาย และเสี่ยงต่อการมีไขมันในเลือดสูงอีกด้วย ดังนั้นการลดไขมันในเลือด โดยไม่ต้องกินยาอีกวิธีก็คือการดื่มน้ำให้มากครับ

  • เลือกทานของที่มีประโยชน์

อย่างที่ได้ทราบแล้วว่าอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง ๆ ส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้นและก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทดังกล่าว นอกจากนี้ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เนื้อจำพวกปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ผักและผลไม้ ซึ่งช่วยเพิ่มระดับของ HDL หรือไขมันดี และยังช่วยให้ลดระดับไขมัน LDL หรือไขมันไม่ดีได้ครับ นอกจากนี้การรับประทานสมุนไพร อาหารเสริมก็มีประโยชน์เช่นกัน เช่น ถั่งเช่าซึ่งมีสรรพคุณมากมาย รวมทั้งช่วยลดระดับคอลเรสเตอรอลและน้ำตาลในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของไขมันในเลือดสูงครับ นอกจากนี้ ถั่งเช่า ยังมีสารโพลีแซคคารไรด์ มีส่วนช่วยในการลดไขมันไม่ดีในร่างกายอีกทั้งยังคุมคอเลสเตอรอลในร่างกายเราให้มีปริมาณที่เหมาะสมอีกด้วย

  • กินให้ช้าลง

เมื่อเราเริ่มรับประทานอาหาร สมองจะได้รับสัญญาณจากกระเพาะอาหาร และจะส่งสัญญาณให้ร่างกายรู้สึกอิ่ม ในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที ในผู้ที่กินเร็วจะทำให้ต้องกินมากขึ้น เนื่องจากกินเสร็จแล้วก็ยังไม่รู้สึกอิ่มนั่นเอง ทำให้ร่างกายได้รับอาหารมากเกินจำเป็นและถูกนำไปสะสมในรูปแบบไขมัน ดังนั้นการรับประทานอาหารช้า ๆ จะช่วยให้ระบบทางเดินอาหารดีขึ้น และยังช่วยให้ร่างกายได้รับประทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะครับ นอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น ร่างกายสามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้มากขึ้นอีกด้วยครับ

  • งดทานเครื่องดื่มหวาน

ในเครื่องดื่มรสหวานมักมีส่วนผสมจากน้ำตาล น้ำตาลเป็นอาหารพลังงานสูง เมื่อร่างกายได้รับมากเกินไปจะทำให้เกิดการแปรรูปเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ และสะสมอยู่ในร่างกาย เมื่อมีปริมาณมากก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มรสหวาน แต่หากงดไปเลยไม่ได้อาจค่อย ๆ ลดโดยการลดจำนวนปริมาณการดื่ม หรือดื่มเครื่องดื่มที่ใช้สารทดแทนความหวานที่ไม่ให้พลังงานแทนครับ

สรุป

นอกจาก 6 วิธีที่กล่าวไปยังมีอีกหลาย ๆ วิธีอย่างการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การรับประทานอาหารประเภทของหวาน มัน ทอด พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ การควบคุมน้ำหนักให้ไม่เกินตามเกณฑ์ และการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเช็คระดับไขมันในเลือด หากพบถึงความเสี่ยงที่จะมีไขมันในเลือดสูงจะทำให้การดูแลสุขภาพและการระวังไม่ให้พัฒนากลายเป็นโรคอันตรายได้เร็วขึ้นครับ