|

ตาเป็นต้อ อาการเป็นอย่างไร? รู้ทัน 4 โรคต้อก่อนสายเกินแก้!

เรื่องของดวงตาเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับเลยว่าไม่สามารถเลี่ยงต่อการเสื่อมสภาพได้เลย ยิ่งสูงวัยการใช้งานยิ่งถดถอยหรือมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับดวงตาได้ มาเช็คอาการต่างๆ ของดวงตาและการมองเห็นกันว่าอาการเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของโรคต้อชนิดไหนกันและเมื่อรู้แล้วจะได้ตรวจเพื่อรักษาโดยไวเพื่อยืดอายุการใช้ดวงตาไปกับเราอีกนาน

โรคต้อ หรือที่เรียกกันว่า “ตาเป็นต้อ”

โรคต้อ หรือตาเป็นต้อคือกลุ่มอาการที่ดวงตาเสื่อมสภาพ โดยโรคต้อสามารถแบ่งตามลักษณะได้เป็น 4 โรค ได้แก่ ต้อลม ต้อเนื้อ ต้อกระจก และต้อหิน ซึ่งอาการและสาเหตุของโรคต้อมีความแตกต่างกันออกไป หากไม่ได้รับการรักษาหรือเข้ารับการรักษาที่ช้าเกินไปอาจจะทำให้การมองเห็นแย่ลงอย่างมากและหากร้ายแรงมากขึ้นอาจจะทำให้สูญเสียดวงตาไปเลยก็เป็นได้

ต้อที่ตาเกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุการเกิดต้อที่ตามีความแตกต่างกันไปตามชนิดของโรค สามารถแบ่งได้ดังนี้

  • จากสภาวะสายตาสั้นมากๆ อีกทั้งดวงตาจ้องแสงจ้าเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต้อกระจก รวมทั้งอายุที่มากขึ้นก็มีส่วนให้เป็นโรคนี้ด้วยเช่นกัน
  • จากกรรมพันธุ์ภายในครอบครัวโดนตรง ส่วนมากจะเป็นในโรคต้อหิน หรือจากการโรคเบาหวาน
  • จากการได้รับแสง UV หรือดวงตาสัมผัสกับลม ฝุ่นควันมลภาวะต่างๆเป็นเวลานาน และการใช้สายตานานๆ ก็เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคต้อลมและโรคต้อเนื้อ
  • นอกจากนี้แล้วการใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์เป็นเวลานานและอายุที่มากขึ้นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคต้อได้อีกเช่นกัน

รู้ทันโรคต้อ 4 ประเภท

โรคต้อลม (Pinguecula)

โรคต้อ

โรคต้อลม คือ โรคที่เกิดจากดวงตาสัมผัสกับมลภาวะต่างๆ เช่น ฝุ่น ควัน หรือลมอยู่เสมอ อีกทั้งการได้รับแสง UV ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ พบได้มากในผู้ที่ทำงานกลางแจ้งเป้นประจำ

ลักษณะของต้อลมที่พบได้บ่อยๆนั้นจะเป็นพังผืดขนาดเล็กสีขาว พบที่หัวตามากกว่าบริเวณหางตา โดยอาการของโรคต้อลมไม่ได้รายแรงมาก และไม่ได้มีผลกับการมองเห็น เพียงแต่จะทำให้รู้สึกเคืองตา แสบตาหรืออาจมีอาการตาแดง บวมคันตา และมีน้ำตาไหล

โรคต้อเนื้อ (Pterygium)

ต้อเนื้อ

โรคต้อเนื้อ คือ โรคที่มีสาเหตุเช่นเดียวกับโรคต้อลม นั่นก็คือดวงตาสัมผัสกับมลภาวะต่างๆ เช่น ฝุ่น ควัน หรือลมอยู่เสมอและได้รับแสง UV เป็นระยะเวลานานๆ

ลักษณะของต้อเนื้อจะเป็นพังผืดสีขาวออกแดงบริเวณหัวตาหรือหางตา โดยส่วนใหญ่จะมีอาการตาแดง ระคายเคือง คันบริเวณดวงตา เห็นภาพไม่ชัด เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นต้อเนื้อจะ ลุกลามเข้าตาดำจนปิดรูม่านตา ซึ่งจะไปปิดบังการมองเห็นทำให้ตามองเห็นได้ชดลง หรือทำให้เกิดสายตาเอียงในที่สุด

โรคต้อกระจก (Cataract)

ต้อกระจก

โรคต้อเนื้อ คือ โรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของเลนส์ตาทำให้เกิดความขุ่นมัวจนการมองเห็นค่อยๆแย่ลง โดยมีสาเหตุเสี่ยงมาจากการสูบบบุหรี่ ดวงตาได้รับแสง UV เป็นเวลานาน หรือใช้ยาประเภทสเตียรอยด์ รวมทั้งอายุที่มีขึ้นก็มีผลต่ออาการของโรคนี้

ลักษณะของต้อกระจกจะเป็นเลนส์ตาที่มีความขุ่นมัว ซึ่งมีอาการที่เห็นได้ชัดคือมองไม่ค่อยชัดช่วงแสงจ้าแต่ถ้าอยู๋ในแสงสลัวจะสามารถเห็นได้เป็นเกือบปกติ หรือมีสายตาสั้นมากขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาอาจจะถึงขั้นเสียการมองเห็นไปเลยก็ได้

โรคต้อหิน (Glaucoma)

ต้อหิน

โรคต้อหิน คือ โรคที่เกิดจากความดันในลูกตาสูงขึ้นจนไปทำลายประสาทตา หากมีบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นต้อหินก็มีโอากาสเสี่ยงเพิ่มขึ้น หรือแม้กระทั้งอายุมีมากขึ้นและภาวะที่สายตาสั้นมากๆ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยง

ลักษณะของต้อหินจะมีอาการตาแดงและเกิดการอักเสบ มองเห็นแสงสว่างรัศมีสีรุ้งรอบๆแหล่งกำหนดแสง เมื่ออาการแย่ลองการมองเห็นภาพแคบลงเรื่อยๆจนสูญเสียการมองถาวรไปในที่สุด

ขั้นตอนการรักษาโรคต้อ

อาการแต่ละต้อมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นแล้วการรักษาและขึ้นตอนการรักษาดูแลจึงมีความต่างกันไปด้วยเช่นกัน โดยจะรักษาแบบไม่ผ่านการผ่าตัดในกรณีที่อาการไม่ได้รุนแรงและในกรณีผ่าตัดเมื่อได้วินิจฉัยสมควรหรือมีอาการที่รุนแรงควรรีบรักษา

  • รักษาต้อลม เนื่องจากอาการของโรคที่เป็นผังผืดบนดวงตาไม่ได้มีผลต่อการมองมาก แต่อาจจะมีอาการระคายเคืองตา น้ำตาไหล ก็สามารถใช้ยาหยอดเพื่อบรรเทาอาการและทำให้ไม่ตาแดง งดสูบบุหรี่เพราะสารที่เป็นส่วนประกอบทำให้อาการแย่ลง
  • รักษาต้อเนื้อ จะมีอาการคล้ายกับต้อลม เบื้องต้นจะยังไม่มีผลต่อการเห็น หากอาการระคายเคืองดวงตา ตาแดงสามารถใช้ยาหยอดเพื่อบรรเทาอาการลง แต่เมื่อไหร่มีอาการที่ผังผืดลุกลามไปยังกระจกตาทางแพทย์ผู้เชี่ยญชาญจะมีการพิจารณาให้ต้องผ่าตัด แต่ต้อเนื้อมีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำได้โดยจะมีลักษณะที่แดงและหนาขึ้น
  • รักษาต้อกระจก ในระยะเริ่มต้น แพทย์จะให้รักษาตามการ หากมีค่าสายตาที่เพิ่มขึ้นหรือสายตาเอียงจะแนะนำให้ตัดแว่นเพื่อการมองเห็นที่จัดเจนและให้ใส่แว่นกันแดดในกรณีที่ไม่สามารถมองเห็นในที่แสงจ้าได้
  • รักษาต้อหิน โรคนี้ยังไม่มีวิธีรักษาที่สามารถทำให้หายขาดได้ แต่สามารถเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ยืดระยะเวลาออกไปได้ โดยการงดใช้ประเภทยาสเตียรอยดื ลดการใช้สายตา และเข้าผ่าตัดในการลดความดันของลูกตา เพื่อที่จะไม่ให้ขั้วประสาทของดวงตาเสื่อมมากขึ้น เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต้องมาพบแพทย์ตามนัดถูกครั้ง และหลีกหลี่ยงปัจจัยที่ก่อโรคอย่างเคร่งครัด

การดูแลตนเองหลังการผ่าตัดต้อ

  • ใส่ที่ครอบตาในเวลากลางคืน เผื่อป้องกันไม่ให้เผลขยี้ตาหรือเกิดอุบัติเหตุที่ตาได้
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับลม ฝุ่นละออง แสงแดด โดยใส่แว่นกันแดดเมื่ออยู่ต้องออกที่แจ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ไปกระตุ้นให้กลับมาเป็นต้อได้อีกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการสระผมหรือล้างหน้าโดยตรงหลังการผ่าตัด หากต้องการทำความสะอาาใบหน้าให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำแล้วเช็ดรอบๆแทน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำโดนตาตาที่มีโอากสเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
  • ไม่ควรยกของหนักหรือทำงานหนัก หรือออกกำลังกายที่ใช้แรงเยอะๆ
  • ห้ามซื้อยาหยอดตานอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
  • ต้องพบแพทย์ตามกำหนดในทุกๆทุกครั้ง เพื่อตรวจดูแผลและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
  • หากเกิดอาการผิดปกติกับดวงตาขึ้น เช่น ตาแดง มีขี้ตาหรือหากเผลอขยี้ตา ควรรีบพบแพทย์โดยทันที

การป้องกันโรคต้อ

โรคต้อยังไม่มียากินหรือยาหยดที่สามารถทำให้หายขาดโดยปกติได้ แต่มีวิธีป้องกันเพื่อชะลออาการของโรคต้อต่างๆ ได้ตามนี้

  • ควรพักผ่อนร่างกายให้เพียงพอและทานอาหารที่มีประโยชน์รวมทั้งอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา อย่าเช่น วิตามินซี เอ และอี
  • ไม่ใช่สายตาเกินจำเป็น ต้องเว้นระยะพักสายตาเป็นช่วงๆ
  • ใส่แว่นกันแดดเมื่อต้องออกไปที่โล่งแจ้งหรือที่มีแสงสว่างจ้าเพื่อป้องกันแสง UV เข้าตาโดยตรง
  • ใส่อุปกรณืป้องกันตาทุกครั้ง เมื่อต้องทำงานที่เสี่ยงจะทำให้ดวงตาได้รับบาดเจ็บ
  • ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง หากดวงตาเกิดมีอาการผิดปกติให้รีบเข้ารักษาโดยทันที
  • หากเป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเป็นต่อ เช่น โรคเบาหวาน ให้ควบคุบโรคเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นต้อ

รักษาโรคต้อที่ไหนดี

อาการของตาเป็นต้อแม้จะดูไม่รุนแรงแต่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานๆเพราะจะส่งผลเสียต่อดวงตาอย่างมากหรืออาจจะสูญเสียการมองเห็นถาวรไปเลยก็ได้ ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นแนะนำให้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับสถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือ รักษาโดยแพทย์มากประสบการณ์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีการรับรองมาตราฐานเพื่อความมั่นใจว่าดวงตาของเราจะกลับมามองเห็นชัดเจนได้อีกครั้งนึง

ข้อสรุป

แม้ว่าโรคตาเป็นต้อในช่วงแรกส่งผลต่อดวงตาไม่มากแต่การมองเห็นสิ่งสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และยังมีปัจจัยต่างๆที่อาจเร่งทำให้เกิดโรคต้อเกิดไวหรือมีอาการรุนแรงขึ้นจากเดิม ดังนั้นในขณะที่ดวงตายังไม่มีอาการผิดปกติควรดู หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคอย่างสม่ำเสมอ และหาเวลาไปตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำ เพื่อให้ดวงตาอยู่กับเราได้นานขึ้น