|

ผมร่วง สาเหตุปัญหากวนใจของใครหลายคน

ผมร่วง ผมร่วงเยอะมาก ผมร่วงหนักมาก

ผมร่วงเป็นปัญหากวนใจของใครหลายคนที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย บางคนผมร่วงเล็กน้อย บางคนผมร่วงเยอะมาก ซึ่งอาการผมร่วงสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หากคุณรู้ และเข้าใจต้นตอของปัญหาที่ทำให้มีอาการผมร่วง คุณอาจจะรักษาอาการผมร่วงเหล่านั้นได้อย่างตรงจุด อย่าปล่อยให้อาการผมร่วงทำให้คุณสูญเสียความมั่นใจ 

วันนี้จะมาให้ข้อมูลที่ทำให้คุณเข้าใจปัญหาผมร่วงได้มากขึ้นว่า ผมร่วงเกิดจากอะไร และเมื่อรู้สาเหตุผมร่วงแล้วจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร ให้ปัญหาผมร่วงกวนใจนี้หมดไป ใครที่กำลังประสบปัญหาผมร่วงหนักมาก คุณไม่ควรพลาดที่จะฟังข้อมูลดีๆ เหล่านี้


สาเหตุของผมร่วง

สาเหตุของผมร่วง

ผมร่วงเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย ถึงแม้ว่าคุณอายุยังไม่เยอะคุณก็อาจประสบปัญหาผมร่วงได้ โดยปัญหาผมร่วงสามารถเกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ ดังต่อไปนี้

1. ผมร่วงจากความเครียด

ความเครียดเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ และคนในยุคปัจจุบันต้องประสบพบเจอจากการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากทางร่างกาย หรือจิตใจ ก็สามารถทำให้เกิดปัญหาผมร่วงได้ เพราะว่าเวลาเครียดบางคนอาจมีพฤติกรรมดึงเส้นผม จิกทึ้ง หรือถอนผมตัวเอง เพื่อระบายอารมณ์ และระบายความเครียดแบบไม่รู้ตัว เมื่อมีอาการแบบนี้มากๆ อาจนำไปสู่โรคดึงผม หรือภาษาอังกฤษ เรียกว่า Trichotillomania ได้

แต่ถ้าหากคุณคิดว่า เวลาที่คุณเครียด คุณไม่เคยดึงผมตัวเองเลย ผมจะร่วงจากความเครียดได้อย่างไร ซึ่งจริงๆ แล้วถึงแม้ว่าคุณจะไม่ดึงผมตัวเองตอนเครียด แต่ความเครียดของคุณก็สามารถส่งผลทำให้เกิดอาการผมร่วงได้อยู่ดี เพราะว่าความเครียดจะส่งผลต่อการทำงานของร่างกายของคุณ ซึ่งอาจทำให้หัวใจเต้นเร็ว หรือฮอร์โมนทำงานผิดปกติ เป็นต้น

หากคุณมีความเครียดเป็นระยะเวลานานไปเรื่อยๆ อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง ส่งผลให้ผมร่วงง่ายขึ้น ผมที่ขึ้นมาใหม่มีเส้นเล็ก และอ่อนแอกว่าเดิม หรืออาจทำให้ผมของคุณร่วงเป็นหย่อมๆ และร่วงเป็นวงๆ ได้

2. ผมร่วงกรรมพันธุ์

ผมร่วงจากกรรมพันธ์ุเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่พบเจอได้ค่อนข้างเยอะในคนที่มีอาการผมร่วง โดยอาการผมร่วงที่มีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์จะเกิดขึ้นในผู้ชายมากถึง 95% และสามารถเกิดขึ้นกับผู้หญิงได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งพันธุกรรมจะส่งผลกับรากผม และฮอร์โมน 2 ประการ ดังนี้

  1. เนื่องด้วยเพศชายจะมีความไวต่อฮอร์โมน Androgen จึงทำให้ผมร่วงง่ายกว่าผู้หญิง โดยผู้ชายที่มีกรรมพันธุ์ผมร่วงจะมี Androgentic Receptor ที่รากผมบริเวณหน้าผาก และกลางกระหม่อม ซึ่งจะตอบสนองกับฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) ส่งผลให้เส้นผมมีขนาดเล็กลง และเกิดภาวะผมร่วงได้ในที่สุด ซึ่งอาการผมร่วงสามารถพบเจอได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป และอาจเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุที่เปลี่ยนไป
  1. หากพันธุกรรมของผู้ชายมีเอนไซน์ Type 2- 5 reductase ที่รากผมบริเวณหน้าผาก และกลางกระหม่อม ตัวเอนไซน์ประเภทนี้จะทำปฏิกิริยากับฮอร์โมนเพศชาย หรือที่เรียกกันว่าฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone) โดยการเปลี่ยนฮอร์โมนเพศชายดังกล่าวให้กลายเป็นฮอร์โมน DHT ที่จะส่งผลให้ผมของคุณบางขึ้น และร่วงมากขึ้นนั้นเอง

ถึงแม้ว่าผู้หญิงจะมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และฮอร์โมน DHT เหมือนกับผู้ชาย แต่สำหรับผู้หญิงโอกาสที่ผมจะร่วงจากพันธุกรรมก็น้อยกว่าผู้ชายอยู่ดี เพราะว่าผู้หญิงจะมีเอนไซน์ที่ชื่อว่า Cytochrome P450 Aromatase ซึ่งมีหน้าที่เปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนให้เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่มีชื่อว่า Estrodiole และช่วยต้านการทำงานของฮอร์โมนเพศชาย พอฮอร์โมนเพศชายน้อยก็ไม่ส่งผลต่อการทำงานของออร์โมน DHT จึงช่วยลดโอกาสการเกิดผมร่วงได้

สำหรับผู้หญิงการเกิดผมร่วงจากพันธุกรรม ถึงแม้จะไม่ได้มีสาเหตุมาจากฮอร์โมน DHT โดยตรง แต่ทางการแพทย์ก็ยังไม่ได้มีผลวิจัยรองรับว่าเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งเรื่องนี้ยังคงมีการศึกษา และหาต้นตอของสาเหตุต่อไป เพื่อที่จะได้หาทางรักษาได้อย่างตรงจุด

3. ผมร่วงเพราะขาดสารอาหาร

การขาดสารอาหารก็เป็นหนึ่งสาเหตุของผมร่วงได้เมื่อกัน เพราะว่าเส้นผมและหนังศีรษะต้องการวิตามินในการบำรุง หากคุณทานอาหารได้ไม่ครบ 5 หมู่เป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจทำให้เส้นผม และหนังศีรษะของคุณอ่อนแอ และขาดหลุดร่วงได้ง่าย ซึ่งสารอาหารที่ช่วยให้บำรุงเส้นผมก็ได้แก่ โปรตีน ไบโอติน ธาตุเหล็ก ซิงค์ กรดไขมันโอเมกา 3 วิตามินเอ บี และซี เป็นต้น

ซึ่งสารอาหารเหล่านี้เราสามารถได้รับจากการรับประทานอาหารทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ไข่ เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว และผลไม้ต่างๆ เป็นต้น หรือคุณสามารถซื้อวิตามิน และอาหารเสริมต่างๆ มากินเพื่อทดแทนสารอาหารบางชนิดที่ขาดหายไปได้

4. ผมร่วงจากฮอร์โมน

ฮอร์โมนหลักๆ ที่เป็นสาเหตุของผมร่วงเลย ก็คือฮอร์โมน DHT อย่างที่อธิบายไปข้างต้นว่า ฮอร์โมน DHT จะมีปฏิกิริยากับฮอร์โมนเพศชาย หรือที่เรียกกันว่า ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ส่งผลให้ผมร่วงเป็นหย่อมๆ และฮอร์โมน DHT ยังมีปฏิกิริยากับฮอร์โมน Androgen ที่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของผมร่วงอีกด้วย ซึ่งฮอร์โมนของผู้ชายจะส่งผลต่อฮอร์โมน DHT ที่ทำให้ผมร่วงมากกว่าผู้หญิง

ส่วนฮอร์โมนอีกประเภทที่ส่งผลให้ผมร่วงก็คือ ไทรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid Stimulating Hormone) ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะมีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการทำงานของร่ายกายอย่างเช่น ต่อมไขมันบนหนังศีรษะ หากฮอร์โมนตัวนี้มีการทำงานผิดปกติก็อาจส่งผลให้หนังศีรษะมัน และเกิดการอุดตันจนทำให้เส้นผมขาดหลุดร่วงได้ง่าย แต่ถ้าหากมีไขมันน้อยเกินไปก็จะทำให้หนังศีรษะแห้ง ผมก็จะแห้ง และขาดหลุดร่วงได้ง่ายเช่นกัน

5. ผมร่วงหลังคลอด

สำหรับผู้หญิงที่มีการคลอดบุตรจะมีระดับฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนไป ซึ่งฮอร์โมนเพศหญิงที่ส่งผลต่อเส้นผมก็คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในช่วงที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเพศหญิงตัวนี้จะสูงกว่าปกติ จึงทำให้ช่วงตั้งครรภ์ผมจะมีสุขภาพดี และไม่มีปัญหาเรื่องผมขาดหลุดร่วง แต่หลังจากคลอดบุตรแล้วฮอร์โมนเพศหญิง หรือฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง จึงทำให้หลังจากคลอดบุตร คุณแม่หลายคนอาจประสบปัญหาผมร่วงเยอะมากได้

6. ผมร่วงจากเคมี

สารเคมีจากการทำผมอย่างเช่น น้ำยากัดสีผม หรือน้ำยาย้อมผม ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน เพราะว่าหากหนังศีรษะมีอาการแพ้สารเคมีเหล่านั้น  หรือสารเคมีทำให้เส้นผมอ่อนแอก็จะทำให้ผมขาดหลุดร่วงได้ง่าย

และสารเคมีอีกประเภทหนึ่งที่ทำให้ผมร่วงอย่างแน่นอนก็คือ สารเคมีบำบัด หรือที่เราเรียกกันว่า คีโม ในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งจำเป็นต้องใช้เคมีบำบัดอย่างคีโม ซึ่งเคมีตัวนี้จะไปออกฤทธิ์กับเซลล์มะเร็ง และเซลล์อื่นๆ ในร่างกาย รวมถึงเซลล์ของรากผมด้วย จึงทำให้เซลล์เส้นผมอ่อนแอ แบ่งตัวได้ช้าลง และผมก็จะค่อยๆ ร่วงในที่สุด

7. ผมร่วงจากโรคต่างๆ

นอกจากนี้ยังมีโรงบางชนิดที่เป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาผมร่วงได้เช่นกัน ซึ่งก็ได้แก่ โรคผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) โรคกลากเชื้อราบนหนังศีรษะ (Tinea Capitis) และโรคดึงผม (Trichotillomania) เป็นต้น ซึ่งโรคที่กล่าวไปเหล่านี้เป็นโรคที่ทำให้เกิดผมร่วงโดยตรง และต้องทำการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

นอกจากนี้ยังมีโรคบางชนิดที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงของอาการผมร่วงด้วย ซึ่งได้แก่ โรคติดเชื้อต่างๆ เอชไอวี ซิฟิลิส ติดเชื้อรา โรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน โรคผิวหนัง โรคไต ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โลหิตจาง และอีกมาก ซึ่งหากรักษาโรคเหล่านี้ให้หายได้ อาการผมร่วงก็จะน้อยลง

8. ผมร่วงจากพฤติกรรมประจำวัน

พฤติกรรมประจำวันของคุณบางส่วนก็อาจเป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน ซึ่งก็ได้แก่พฤติกรรมดังต่อไปนี้

  • หวีผมในขณะที่ผมเปียก เส้นผมของคุณจะอ่อนแอในขนาดที่ผมเปียกจึงทำให้ผมร่วงง่าย และในระหว่างวันคุณก็ไม่ควรหวีผมจนมากเกินไปเช่นกัน
  • มัดผมแน่นเกินไปจนหนังศีรษะตึง ก็สามารถทำให้ผมของคุณบริเวณหน้าผาก หรือบริเวณอื่นๆ ขาดหลุดร่วงได้เช่นกัน
  • ผมขาดการบำรุง ใช้สารเคมี และความร้อนกับผมมากเกินไป ทำให้ผมแห้งเสีย และขาดหลุดร่วง ซึ่งหากยังไม่ดูแลเส้นผม ผมก็จะขาดหลุดร่วงเรื่อยๆ จนผมบางอย่างเห็นได้ชัด
  • ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่จัด ทำให้เส้นเลือดหดตัวจนเลือดไปเลี้ยงผมไม่พอ 
  • อาหารการกิน ทานอาหารที่มีรสจัด หรือไขมันสูง ที่ส่งผลต่อความแข็งแรงของเส้นผม และหนังศีรษะ หรือร่างกายขาดสารอาหารจากการลดน้ำหนักที่ผิดวิธีก็มีส่วนให้ผมขาดหลุดร่วง

9. ผมร่วงหลังผ่าตัด 

อาการผมร่วงหลังผ่าตัดเราจะเรียกว่า อาการ Shock Loss ซึ่งอาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาสลบสามารถเกิดขึ้นได้กับยาสลบแทบทุกชนิด หรืออาจจะเกิดจากความเครียดในการผ่าตัดก็ได้ ซึ่งอาการผมร่วงมักจะเกิดหลังจากการผ่าตัดได้ 3 – 4 เดือน 

วิธีแก้ผมร่วง

วิธีแก้ผมร่วง

แก้ผมร่วงด้วยตนเอง

หากเกิดอาการผมร่วง และอาการผมร่วงยังไม่หนักมาก คุณสามารถลองแก้ปัญหาผมร่วงด้วยตนเองได้ก่อน ซึ่งสิ่งที่คุณสามารถทำได้ก็คือ 

  • ดูแลสุขภาพจิตของคุณให้ดีอยู่เสมอ ให้ไม่เครียดจนเกินไป และทานอาหารที่ดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อให้สารอาหารและวิตามินเหล่านั้นไปบำรุงร่างกาย และเส้นผมให้สุขภาพดี
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่จัดจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการมัดผมที่แน่นจนเกินไป หวีผมตอนเปียก หรือหวีผมบ่อยๆ ระหว่างวัน
  • รักษาเส้นผมให้มีความแข็งแรง อย่างเช่น ไม่ใช้ความร้อนจากการไดร์ผม หนีบผม หรือดัดผมบ่อยๆ หรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่มีผลกระทบต่อหนังศีรษะ และเส้นผม

ซึ่งวิธีดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นวิธีรักษาเบื้องต้นที่คุณสามารถทำได้เอง แต่ถ้าหากอาการผมร่วงของคุณไม่ดีขึ้น คุณควรพบแพทย์เพื่อรักษาอาการดังกล่าวอย่างจริงจัง หรือจะใช้วิธีรักษาด้วยตนเอง ควบคู่ไปกับคำแนะนำของแพทย์ก็ได้

แก้ผมร่วงด้วยวิธีทางการแพทย์

หากคุณพยายามรักษาอาการผมร่วงด้วยตนเองแล้ว แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น คุณควรจะต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำในเรื่องของการรักษา หรืออาจจะต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อรักษาอาการผมร่วงของคุณ ซึ่งวิธีรักษาทางการแพทย์ก็ได้แก่

  • ทานยาแก้ผมร่วงตามที่แพทย์สั่ง 
  • การปลูกผมด้วยวิธีปลูกผม FUE หรือปลูกผม FUT ในกรณีที่รากผมฝ่อจนไม่สามารถงอกผมใหม่ได้แล้ว
  • การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น หรือที่เรียกว่าการทำ PRP ผม เพื่อเพิ่มอาหารผม ทำให้ผมงอกได้ดีขึ้น และรากผมแข็งแรง
  • การฉีดสเต็มเซลล์ผม เพื่อกระตุ้นให้ผมงอก และสร้างเส้นเลือดฝอยให้ไปเลี้ยงผมอย่างทั่วถึงมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะใช้เซลล์ผมของคุณเอง จึงทำให้เกิดผลค้างเขียงน้อย
  • การใช้เลเซอร์รักษาผมร่วง (Fotona Laser, LLLT) เพื่อกระตุ้นให้เส้นผมและหนังศีรษะทำงานได้ดีขึ้น

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับผมร่วง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับผมร่วง

ผงชูรสทำให้ผมร่วงไหม

เรื่องการทานผงชูรสแล้วจะทำให้ผมร่วงนั้นอาจเป็นเรื่องเข้าใจผิด เพราะในปัจจุบันยังไม่มีผลงานวิจัยไหนรับรองว่าผงชูรสมีส่วนทำให้เกิดอาการผมร่วง แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากทานอาหารรสจัดก็จะส่งผลต่ออาการผมร่วงได้ ซึ่งอาหารรสจัดจะส่งผลให้เส้นเลือดหดเกร็ง ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงรากผมได้เพียงพอ

การไหลเวียนโลหิตไม่ดี ทำให้ผมร่วงจริงไหม

เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง เพราะการไหลเวียนของเลือดมีผลต่อรากผม และเส้นผม หากเลือดไม่ถูกส่งไปเลี้ยงเส้นผม และรากผมได้เพียงพอ ผมก็จะขาดความแข็งแรง และเส้นผมก็จะขาดหลุดร่วงได้ง่ายในที่สุด

สระผมบ่อยเกินไป ทำให้ผมร่วงไหม

การสระผมบ่อยเกินไปก็มีโอกาสทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน เพราะว่าการสระผมบ่อยจนเกินความจำเป็นจะทำให้หนังศีรษะแห้ง และเกิดอาการระคายเคืองได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดรังแค และเส้นผมของคุณก็จะขาดหลุดร่วงได้ง่าย

แพ้ยาสระผม ทำให้ผมร่วงจริงไหม

หากคุณแพ้ยาสระผม คุณก็มีโอกาสที่ผมจะร่วงได้ง่ายขึ้น เพราะการแพ้ยาสระผมย่อมส่งผลต่อหนังศีรษะ ทำให้หนังศีรษะเกิดการระคายเคือง หรือเป็นตุ่ม ซึ่งตรงนี้จะทำให้เส้นผม และรากผมของคุณอ่อนแอ หรือในบางกรณีบริเวณหนังศีรษะที่เกิดอาการแพ้อาจทำให้ผมขึ้นใหม่ได้ยาก จนกว่าคุณจะเปลี่ยนยาสระผม หรือรักษาอาการแพ้เหล่านั้นให้หายดี 

สวมหมวกทำให้ผมร่วงจริงไหม

หากคุณไม่ได้ใส่หมวกเป็นเวลานาน หรือใส่หมวกตลอดเวลา ผมก็จะไม่ร่วงเพราะสวมหมวก แต่ถ้าหากคุณสวมหมวกเป็นประจำ หรือสวมหมวกในเวลาที่ผมเปียก แล้วหนังศรีษะของคุณเกิดอาการอับชื้น จนเกิดเชื้อราบนหนังศีรษะ ก็มีโอกาสทำให้ผมร่วงได้ 

กินคีโตทำให้ผมร่วงไหม

การกินคีโตแบบหักโหม หรือหักดิบมากเกินไป ก็มีส่วนทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน เนื่องจากพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไปอย่างกะทันหันอาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน จนเกิดอาการช็อก และเครียดจนส่งผลให้ผมร่วงได้ ดังนั้นหากใครที่เริ่มต้นกินคีโตต้องค่อยๆ ปรับลงแป้ง และน้ำตาลลงเพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ได้ปรับตัว โอกาสที่ผมร่วงก็จะมีน้อยลง

สรุปเรื่องผมร่วง

สรุปเรื่องผมร่วง

ผมร่วงเป็นปัญหาที่เกิดได้กับทุกคน หากเรารู้สาเหตุที่แท้จริงว่าอาการผมร่วงเกิดจากอะไร เราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาผมร่วงได้อย่างตรงจุด หากใครที่มองว่าปัญหาผมร่วงของตนเองนั้นค่อนข้างรุนแรงเกินกว่าจะแก้ไขได้ด้วยตนเอง แนะนำให้คุณปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรงดีกว่า เพื่อให้ปัญหาผมร่วงกวนใจเหล่านี้จะหมดไป เรามีทีมแพทย์ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยให้คุณได้หมดห่วงเรื่องปัญหาผมร่วง