โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ อาการ และวิธีการรักษา

โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

ไม่ว่าจะอวัยวะส่วนใดก็ตามในร่างกายของคนเรา เมื่อถูกใช้งานมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา และอวัยวะส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบเมื่อมีอายุที่มากขึ้น คือข้อเข่า ที่ทำหน้าที่คอยรับน้ำหนักตัวของร่างกาย ตอนก้าวเดิน นั่งยอง หรือตอนออกกำลังกาย

ช่วงอายุที่ข้อเข่าเสื่อมสภาพมักเกิดกับผู้สูงอายุในวัย 60 ปีขึ้นไป จนทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ มักจะมีอาการชองเสียงดังภายในข้อเข่า เจ็บข้อเข่า ปวดเมื่อลุกนั่ง เป็นอาการเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุทำให้คุณภาพชีวิตของคุณแย่ลง หากมีความผิดปกติที่ข้อเข่า จึงควรปรึกษาแพทย์ และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ในบทความนี้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ไปจนถึงวิธีรักษา และวิธีป้องกันช่วยชะลอโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ 



ทำความเข้าใจ โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุคือ 

โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ คือเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยมากที่ผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ เกิดจากความเสื่อมสภาพ และเสียดสีระหว่างกระดูกอ่อนที่ห่อหุ้มกระดูกต้นขา กับหมอนรองกระดูกบนกระดูกหน้าแข้ง ทำให้สึกหรอบนผิวกระดูกอ่อนจนถูกทำลายที่ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น น้ำหนักตัวมากเกินไป ใช้งานข้อเข่าอย่างหนัก เคยประสบอุบัติเหตุ และมีโรคประจำตัว ก่อให้เกิดข้อเข่าเสื่อม 

ยิ่งไปกว่านั้น พบว่าผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ มักจะมีลักษณะกระดูกผิวข้อเข่าบางลง หรือมีรอยแตกและเปื่อยยุ่ย บางรายอาจมีการอักเสบของเยื่อบุข้อร่วมด้วย ส่งผลให้น้ำในข้อมากขึ้น จึงเกิดอาการบวมน้ำตรงบริเวณข้อเข่า มีกระดูกงอตามขอบผิวข้อ ร่วมกับการโก่งผิดรูปของข้อเข่าในระยะสุดท้ายของโรค ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมจะเป็นขาโก่งในผู้สูงอายุแบบโค้งออก เป็นต้น


อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุที่พบ

อาการเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

โดยทั่วไปอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ จะมีอาการปวดตรงบริเวณข้อเข่า ซึ่งอาการปวดนั้นจะรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ป่วยสูงอายุควรมักสังเกตตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรละเลย หรือปล่อยผ่านให้อาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ สาเหตุที่บ่งบอกถึงอาการ มีดังนี้ 

อาการปวดเข่าอยู่บ่อยครั้ง ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ มักรู้สึกปวดเข่าอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะ ก้าวเดิน วิ่ง นั่งยองๆ นั่งพับเพียบ และนั่งสมาธิ  จะรู้สึกปวดเข่าเป็น ๆ หาย ๆ ติดต่อกันนานกว่า 6 เดือน

อาการเข่าติด หรือฝืด  ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุไม่สามารถขยับเข่า หรือเคลื่อนไหวตรงหัวเข่าได้อย่างยากลำบาก เมื่อเหยียดขา หรืองอเข่า รู้สึกตึงข้อ และมีอาการข้อติดขัด

ได้ยินเสียงดังในเข่า มีเสียงในข้อเข่าเป็นปัญหาข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ที่สามารถสังเกตได้ง่ายในขณะที่เคลื่อนไหวจะได้ยินเสียงดังมาจากข้อเข่า เช่น ตอนเดิน ตอนเหยียดขา และตอนงอเข่า

อาการบวมตรงข้อเข่า  ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ สังเกตเห็นอาการเข่าบวม หากเอามือไปสัมพันธ์ตรงที่บวมจะรู้สึกอุ่น ๆ ร้อน ๆส่งผลให้ปวดเข่าในผู้สูงอายุ เพราะว่าอาการบวมในบริเวณข้อเข่านั้นบ่งบอกถึงโรคข้อเข่าเสื่อมที่เกิดอักเสบภายในข้อเข่า หรือข้ออักเสบ

ขาโกงงอผิดรูป ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ จะมีลักษณะขาที่โกงงอผิดรูป รวมกับอาการเจ็บปวดตรงบริเวณข้อเข่า ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้ หรือเวลาเดินยากลำบากจะพบในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง มักจะเกิดขึ้นตอนนั่ง หรือตอนนอนเป็นระยะเวลานาน หากปล่อยไว้นานไม่รักษา อาจจะรุนแรงถึงขั้นไม่สามารถเดินได้


วิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ 

รักษาเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุวิธีรักษามีอยู่หลากหลายวิธี เช่น รักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัด เป็นแนวทางรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยอาการยังไม่รุนแรงมากนัก รักษาในรูปแบบกินยา ออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อื่น ๆ รักษาด้วยวิธีผ่าตัด เป็นแนวทางรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง รับประทานยาก็แล้ว หรือออกกำลังกาย แต่อาการยังคงไม่ดีขึ้น โดยวิธีรักษาการรักษาข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุมีรายละเอียดดังนี้

รักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด

  • รักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุโดยรับยา เป็นวิธีแก้ปวดเข่าปวดเข่าในผู้สูงอายุ จากโรคข้อเข่าเสื่อม คือ รับประทานยาแก้ปวด หรือยาแก้เอ็นเข่าอักเสบ ตัวกลุ่มยาที่ใช้รับประทาน เช่น  ยาพาราเซตามอล และไอบูโปรเฟน ช่วยลดอักเสบของเนื้อเยื่อและข้อ เนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถแก้ปวดข้อเข่าได้อย่างตรงจุด เห็นผลได้อย่างรวดเร็ว 
  • การออกกําลังกาย เป็นวิธีแก้ปวดเข่าในผู้สูงอายุ และลดการเจ็บข้อเข่า เมื่อผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ทางแพทย์จะแนะนำในเบื้องต้น ด้วยวิธีออกกำลังเพื่อลดน้ำหนักตัว ถ้าหากผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวที่เกินเกณฑ์ เพราะน้ำหนักตัวที่มากเกินไปส่งผลให้ข้อเข่ารับน้ำหนักจนเกินไป จนเกิดข้อเข่าอักเสบและอาจจะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในที่สุด
  • รักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิธีการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ต้องใช้งานข้อเข่าอย่างหนัก เช่น หลีกเลี่ยงยกของหนัก ไม่นั่ง ไม่นอน และไม่ยืนจนนานเกินไป เพื่อให้ข้อเข่ารับน้ำหนัก หรือทำงานมากจนเกินไป

ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ วิธีรักษาไม่ผ่าตัดเป็นการดูแลข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ที่อาการยังไม่รุนแรง เป็นวิธีนี้แก้ไขที่ต้นเหตุ ช่วยชะลอของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ  และยังช่วยบรรเทาอาการปวดข้อเข่าอีกด้วยเช่นกัน

รักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

  • ผ่าตัดเข่าส่องกล้อง (Knee Arthroscopic Surgery) โดยเจาะรูขนาดเล็กประมาณ 6 – 8 มิลลิเมตร บริเวณด้านหน้าข้อเข่า และใช้กล้อง Arthroscope ส่องเข้าไปในข้อเข่า หลังจากนั้นใช้เครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กสอดเข้าไปเพื่อผ่าตัด วิธีผ่าตัดเข่าส่องกล้องในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีอาการสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อมีไม่มาก และมีอาการขัดในข้อเนื่องมาจากหมอนรองกระดูกฉีก หรือมีเศษกระดูกงอกหลุดมาขัดในข้อ
  • ผ่าตัดจัดแนวกระดูก (High Tibial Osteotomy) สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ แพทย์จะผ่าตัดจัดแนวกระดูกใหม่ เพื่อลดแรงกดที่บริเวณกระดูกอ่อนผิวข้อที่เกิดความเสื่อมสภาพ แพทย์พิจารณาจากการสึกหรอที่บริเวณกระดูกผิวข้อเพียงด้านเดียว โดยส่วนใหญ่มักพบที่ด้านในของข้อเข่า ผ่าตัดวิธีนี้จะมีลักษณะขาโก่งในผู้สูงอายุแบบผิดรูป หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถกลับไปมีกิจกรรมต่าง ๆได้ใกล้เคียงกับข้อเข่าเดิม แต่ระยะพักฟื้นหลังผ่าตัดค่อนข้างนานสำหรับผ่าตัดด้วยวิธีนี้
  • ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าแบบบางส่วน (Partial Knee Arthroplasty)  สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ผ่าตัดด้วยวิธีนี้ทางทีมแพทย์จะผ่าตัดเปลี่ยนเฉพาะผิวข้อเข่าในส่วนที่สึกหรอเท่านั้น จะพิจารณาจากในกรณีที่ผู้ป่วยมีการสึกหรอที่บริเวณกระดูกผิวข้อเพียงด้านเดียว และขาของผู้ป่วยยังไม่โก่งผิดรูปมากนัก
  • ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าแบบทั้งหมด (Total Knee Arthroplasty)  สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ผ่าตัดด้วยวิธีนี้ทางทีมแพทย์จะทำการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อทั้งหมด ซึ่งวิธีนี้จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยระยะรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมที่ขาโก่งในผู้สูงอายุมีลักษณะผิดรูปของข้อเข่า และมีการสึกหรอลามไปยังบริเวณกระดูกผิวข้อเกือบทั้งหมด โดยทางทีมแพทย์จะผ่าตัดนำผิวข้อเข่าออก ทั้งหมดหลังจากนั้นจะเปลี่ยนใส่ผิวข้อเทียมที่ประกอบโลหะผสมและพลาสติกสังเคราะห์เข้าไปแทนที่

การป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุทำได้อย่างไร

ป้องกันเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นโรคที่สามารถจะเกิดได้ไม่ว่าจะใครก็ตาม ถ้าหากรู้จักวิธีป้องกัน และวิธีดูแลข้อเข่าที่ถูกต้อง ก็จะช่วยชะลอหรือบรรเทาโรคข้อเข่าเสื่อมได้ วิธีป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงทางนั่งที่ต้องงอเข่ามากกว่า 90 องศา เช่น นั่งคุกเข่า การนั่งขัดสมาธิ การนั่งพับเพียบ เพราะถ้าหากงอเข่ามาก ๆ นั้นจะทำให้เพิ่มแรงกระทำต่อกระดูกอ่อนที่ผิวข้อ
  • หลีกเลี่ยงยกของหนัก เพราะเวลาที่ยกของที่มีน้ำหนักเยอะ จะทำให้บริเวณหัวเข่าได้รับแรง

กระแทรกส่งผลทำให้ข้อเข่าเสื่อมในไม่ช้า

  • หลีกเลี่ยงออกกำลังที่ใช้หัวเข่ามากเกินไป เช่น กระโดดเชือก ฟุตบอล และบาสเกตบอล มีโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บของข้อเข่าค่อนข้างสูง และอาจเป็นสาเหตุของโรคข้ออักเสบ
  • ควรพักอาศัยอยู่ชั้นล่าง และขึ้นลงบันไดให้น้อยเที่ยวที่สุด จับราวบันไดเมื่อขึ้นลง เนื่องจากขณะก้าวขึ้น หรือลงบันได ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักถึง 3 – 4 เท่า
  • ควรนอนบนเตียงที่มีความสูงระดับเข่า ไม่ควรนอนราบกับพื้นเพราะตอนล้มตัวลงนอน หรือลุกขึ้นยืนจะต้องใช้แรงจากข้อเข่าเพื่อช่วยในการเปลี่ยนท่าทางอย่างมาก
  • ควรบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหน้าขา จะช่วยพยุงตัว ทรงตัวให้ความมั่นคงมากขึ้น
  • ควรบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ หรืออาหารเสริม เช่น ผัก ผลไม้ คลอลาเจน และแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูก

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุไม่ควรทานอะไรบ้าง

สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ไม่ควรรับประทานอาหาร จำพวก ของหวาน อาหารเค็ม หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง แป้งขัดขาว ของทอด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุรักษาหายหรือไม่?

ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ วิธีรักษาให้หายขาด คือเข้ารับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด แต่วิธีผ่าตัดนั้นต้องขึ้นอยู่ดุลยพินิจของแพทย์ที่จะเลือกวิธีผ่าตัด และการบริหารข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ เพียงแค่ช่วยชะลอของโรคข้อเข่าเสื่อมเท่านั้น


ข้อสรุปเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยหลายสาเหตุ เช่น ยกของหนัก หรือแค่ขึ้นลงบันไดก็ตาม จนทำให้เอ็นเข่าอักเสบ จึงเป็นเหตุที่ของโรคข้อเข่าเสื่อม ถ้าหากดูแลข้อเข่าอย่างเหมาะสม จะใช้ยืดเวลาการใช้งานของข้อเข่ามากยิ่งขึ้น 

หากใครมีความกังวลเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ วิธีรักษาที่จะให้หายขาดจากโรคคือการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ทางศูนย์ผ่าตัดข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ยินดีให้ความปรึกษา แนวทางการรักษากับทุกคน สามารถติดต่อได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง