ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม วิธีการรักษาเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม

อวัยวะภายในร่างของคนเรามีอายุการใช้งาน ยิ่งใช้งานมากเท่าไร หรือคุณมีอายุที่มากขึ้นเรื่อย ๆ อวัยวะภายในร่างกายก็เสื่อมสภาพตามกาลเวลา รวมถึงอวัยวะส่วนสำคัญที่ช่วยรับน้ำหนักตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะ ยืน วิ่ง การเดิน เล่นกีฬา นั่งพับเพียบ และกิจกรรมต่าง ๆ การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้

ข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และวัยรุ่น เกิดจากอุบัติเหตุ หรือเกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวข้อตามกาลเวลา เริ่มจากกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายมีการเปลี่ยนแปลงภายในข้อ และร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อได้ทัน เมื่อมีอาการรุนแรง หรือเป็นเรื้อรังในระยะเวลายาวนาน วิธีรักษาที่ช่วยให้ข้อเข่ากลับมาเป็นปกติ คือ ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม โดยเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ในบทความนี้จะมีเนื้อหาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม  รูปแบบการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม เตรียมตัวก่อนและดูแลหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม และควรเลือกผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมที่ไหนดี?

รู้จักการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม คืออะไร

ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมโดยการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Knee Arthroplasty) ถือว่าเป็นกรรมวิธีหนึ่งในการรักษาข้อเข่าที่เสื่อม โดยวิธีเปลี่ยนข้อเข่าที่เสื่อมเป็นข้อเข่าเทียมใหม่ ทำการผ่าตัดในส่วนผิวกระดูกอ่อนที่เสื่อมสภาพออก หลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นข้อเข่าเทียมที่ทำจากวัสดุโลหะ และพลาสติกชนิดพิเศษมาใส่ทดแทน ทำการยึดด้วยซีเมนต์ใช้สำหรับกระดูกจะมีโพลีเอทีลีนเป็นส่วนรองรับน้ำหนัก เพื่อกันการกระแทกและลดแรงเสียดสีระหว่างผิวข้อ  

หรือรักษาข้อเข่าเสื่อมมีวิธีรักษาอยู่หลายวิธี ในแต่ละวิธีจะขึ้นอยู่กับแพทย์จะพิจารณาอาการความรุนแรงจากผู้ป่วย หากผู้ป่วยมีอาการที่ไม่รุนแรงมากหนักก็จะใช้วิธีรักษาแบบส่องกล้อง แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรงก็จะใช้วิธีรักษาผ่าตัดเข่าในรูปแบบผ่าตัดเข่า เอ็นไขว้หน้า เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้งานข้อเข่าได้อย่างปกติ

วิธีรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ในปัจจุบันมีด้วยกันอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่อาการของผู้ป่วยว่ามีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน และดุลยพินิจของแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย

รูปแบบการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมมีอะไรบ้าง

ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมมีกี่แบบ

ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมมีหลายวิธี และในแต่ละขั้นตอนขึ้นอยู่ตามลักษณะของปัญหาข้อเข่าของผู้ป่วย ความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อม รวมถึงความเหมาะสมของแต่ละกรณี วิธีที่ใช้ในการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม มีดังนี้

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด (Total Knee Replacement)

วิธีผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมแบบเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด (Total Knee Replacement) เริ่มจากผ่าตัดในส่วนผิวกระดูกอ่อนที่เสื่อมสภาพออก ตรงส่วนของกระดูกส่วนปลายต้นขา และส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง ทั้งด้านในและนอกออกทั้งหมด หลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นข้อเข่าเทียมที่ทำจากวัสดุโลหะโดยใช้แผ่นโพลีเอทิลีนกั้น และพลาสติกชนิดพิเศษมาใส่ทดแทน

เป็นวิธีผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมที่ได้ผลดีกับผู้ป่วยที่มีปัญหากระดูกอ่อน และเอ็นเข่าอักเสบเสียหายอย่างมาก  ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะอยู่ในช่วงอยาก 50 ปีขึ้นไป หรือมีแนวขาที่ผิดรูป ซึ่งวิธีผ่าตัดเข่าจะสามารถแก้ไขเห็นสำเร็จในครั้งเดียว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเฉพาะฝั่ง (Unicompartmental Knee Replacement)

วิธีผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมแบบเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเฉพาะฝั่ง (Unicompartmental Knee Replacement)

  เริ่มผ่าตัดผิวข้อเข่าทตรงบริเวณที่เสียหายออก ทั้งกระดูกส่วนปลายต้นขา และส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง เฉพาะด้านในหรือด้านนอกด้านใดด้านหนึ่ง จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นข้อเข่าเทียมที่ทำจากวัสดุโลหะโดยใช้แผ่นโพลีเอทิลีนกั้น ส่วนใหญ่ทำผ่าตัดเข่าผู้ป่วยที่กระดูกยังไม่ค่อยเสื่อมสภาพมากนัก หรือเป็นเฉพาะฝั่งใดฝั่งหนึ่ง 

เป็นวิธีผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมที่สามารถเก็บผิวข้อเข่าในฝั่งใดฝั่งหนึ่งที่มีสภาพดีอยู่ และเส้นเอ็นภายในข้อเข่าให้คงอยู่ในสภาพเดิม ทำให้สามารถกลับไปดำเนินชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น และยังสามารถลงเดินลงน้ำหนักที่หัวเข่าได้หลังผ่าตัด 1 – 2 วัน 

วิธีรักษาผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ราคา 220000 – 390000 บาท ขึ้นอยู่โปรแกรมการรักษาผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ว่าเปลี่ยนข้อเข่า 1 ข้าง หรือ 2 ข้าง ซึ่งราคาจะแตกต่างกันไป

ใครที่ควรเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ใครควรผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะมีอาการปวด หรือเจ็บข้อเข่าอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากอายุที่มากขึ้น อวัยวะภายในก็เสื่อมสภาพลงด้วยเช่นกัน หรือผู้ที่เกิดอุบัติเหตุตรงบริเวณข้อเข่า และผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จึงส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำเป็นเรื่องที่ยากลำบาก ไม่ว่าจะกินยาช่วยรักษาอาการเจ็บตรงข้อเข่าแต่อาการก็ไม่บรรเทาลง วิธีรักษาที่จะช่วยให้แก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป คือผ่าตัดเข่า  

ดังนั้น ผู้ป่วยควรที่จะประเมินอาการของตัวเองในเบื่องต้นก่อน ตัดสินใจผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม

  1. อาการปวด เจ็บข้อเข่าเรื้อรัง หรือเป็นโรคข้ออักเสบ

ผู้ป่วยมีอาการปวด เจ็บข้อเข่าเรื้อรังเป็นระยะนานกว่า 6 เดือน หรือเป็นโรคข้ออักเสบ ไม่ว่าจะเป็นตอนเดิน ที่เคยเดินได้สะดวก แต่กลับมีอาการเดินลำบากขึ้น ทำให้ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงตอนช่วยเดิน อย่างไม้เท้า หรือไม้ค้ำยันหรือขึ้น – ลงบันได หรือแม้แต่ตอนลุกนั่ง เป็นสัญญาณที่ควรเข้ารักษาผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม

  1. มีอาการปวดข้อเข่าอยู่ตลอดเวลา

หากใครที่มีอาการปวดข้อเข่าในระดับปานกลาง หรือรุนแรง ปวดอยู่ตลอดเวลาแม้แต่นอนอยู่เฉย ๆ ก็ปวด เป็นสัญญาณบ่งบอกที่อาการขั้นรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรักษาผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม

  1.  รักษาด้วยยาแล้วไม่หาย

ผู้ป่วยในรายที่มีอาการข้อเข่าอักเสบเรื้อรัง รักษาด้วยรับประทานยามาอย่างต่อเนื่อง หรือทำกายภาพบำบัด และพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ข้อเข่าแต่ก็ไม่ดีขึ้น ผ่าตัดเข่าอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

  1.  ขาโก่งงอ ข้อเข่าติด

สังเกตจากขาของตัวเองจะได้ว่าขามีความโก่งงอผิดรูปตรงข้อเข่าไปจากเดิม จนส่งผลกระทบทำให้เคลื่อนไหวได้ลดลง และเหยียดเข่าได้ไม่สุดนี่ จำเป็นที่จะต้องผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมให้เร็วที่สุด เพราะถ้าหากปล่อยให้ขาโก่งมากขึ้น และเปลี่ยนพฤติกรรมไปลงน้ำหนักที่อีกข้างมากเกินไป จะทำเกิดปัญหาหมดทั้งสองข้าง

  1.  มีความผิดปกติในขณะใช้งานข้อเข่า

ไม่ว่าจะเป็นข้อเข่าหลวม เข่าบวม ข้อเข่ายึดติด งอเข่าได้น้อยกว่า 90 องศา หรือผู้ป่วยในบางรายรู้สึกว่าเหยียดข้อเข่าได้ไม่เต็มที่เหมือนเดิม หากไม่รีบรักษาเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะยิ่งส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม 

เมื่อผู้ป่วยตัดสินใจเลือกเข้ารับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมแล้ว ทางแพทย์จะนัดวันมานอน โรงพยาบาลล่วงหน้าภายใน 1 – 2 วันก่อนผ่าตัดเข่า ซึ่งผู้ป่วยสามารถติดต่อกับพยาบาลคัดกรอง และรับผู้ป่วยในเพื่อจองเตียง หรือห้องพัก ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว หรือต้องรับประทานเป็นประจำ เช่น ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดจะต้องแจ้งกับทางแพทย์ก่อนผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม เพื่อจะได้พิจารณาว่าควรหยุดรับประทานยาก่อนผ่าตัดเข่าหรือไม่

เตรียมความพร้อมตั้งแต่ที่บ้าน

เคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางทางเดิน ไม่ใช้พรมเช็ดเท้าที่อาจจะทำให้ลื่นล้มได้ จัดวางสิ่งของให้อยู่ในระดับเอวเพื่อให้หยิบง่าย เพื่อไม่ให้ก้ม หรือเสียความเสียหายข้อเข่ามากกว่าเดิม ใช้โถส้วมแบบนั่งแทนใช้ ส้วมแบบยองๆ หรืออาจติดราวจับที่บริเวณโถส้วม เพื่อช่วยในการทรงตัว และป้องกันลื่นล้ม ย้ายที่นอนลงมาชั้นล่าง และคนช่วยดูแลประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ หลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม 

เตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อขารอบเข่า

ออกกำลังกายตรงส่วนของกล้ามเนื้อขารอบเข่า เช่น ท่าที่หนึ่ง หาเก้าที่มีพนักพิง และที่วางแขน นั่งหลังตรงบนเก้าอี้ จะได้ป้องกันไม่ให้หงายหลัง หรือพลัดตกเก้าอี้ เริ่มจากเหยียดเข่าเกร็งค้างไว้เป็นเวลา 10 วินาที แล้วค่อย ๆ งอเข่าเข้าช้า ๆ  ทำแบบนี้วันละ 100 – 200 รอบทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ก่อนผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม 

ท่าที่สอง หาเบาะที่นอน ไม่นิ่มจนเกินไป และไม่แข็งจนเกินไป นอนราบลงบนที่นอนแล้วเหยียดเข่าเกร็งค้างไว้เป็นเวลา 10 วินาที และค่อย ๆ วางขาลงช้า ๆ ทำอย่างนี้วันละ 100 – 200 รอบ เพื่อให้กล้ามเนื้อขารอบเข่าแข็งแรง ก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

วิธีดูแลตนเองหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน

เปลี่ยนข้อเข่าเทียม
  • ช่วง 1 – 3 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ไม่ควรขับรถนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยองๆ นั่งบนเก้าอี้เตี้ย หรือเดินขึ้นลงบันไดบ่อยเกินไป
  • ช่วง 1 –  6 สัปดาห์แรกหลักผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ไม่ควรยกของหนัก
  • หลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องงอหัวเข่า หรือต้องขยับหัวเข่าอยู่ตลอดเวลา
  • หลีกเลี่ยงกีฬาที่มีการปะทะ กระแทก กระโดด หรือต้องใช้เข่า เช่น กระโดดเชือก ฟุตบอล แบดมินตัน เทนนิส วิ่ง
  • หลีกเลี่ยงการเดินหรือทำกิจกรรมในที่มืดหลักผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ไม่เดินบนพื้นที่เปียก โดยเฉพาะบริเวณห้องน้ำ เพราะจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม เพราะอาจจะทำให้บาดเจ็บตรงข้อเข่าอีกครั้ง

ผู้ป่วยที่มีข้อสงสัย ผ่าตัดเข่าต้องพักฟื้นกี่วัน  โดยทั่วไปหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม จะพักฟื้นนอนที่โรงพยาบาลประมาณ 3 คืน 4 วัน แพทย์จะให้กลับบ้านได้ ช่วงแรกหลังผ่าตัดเข่าผู้ป่วยสามารถเดินได้ด้วยตัวเอง อาจจะใช้ไม้พยุง แบบ 4 ขา เพื่อรองรับน้ำหนักของร่างกาย และลดโอกาสอาการบาดเจ็บตรงข้อเข่า ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเดินประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ 

ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมที่ไหนดีปลอดภัย ?

ศูนย์ผ่าตัดข้อเข่าเทียมสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางโรคกระดูกและข้อ ประกอบด้วยทีมแพทย์ที่มีความชำนาญระดับสูง หนึ่งในทีมแพย์ที่ดูแลรักษา ได้แก่ หมอกีรติ ดูแลผ่าเข่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคข้อเสื่อม ข้อเข่า และข้อสะโพก ตั้งแต่ระดับการตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษาโดยใช้ยา หรือทำกายภาพบำบัด 

ซึ่งศูนย์ผ่าตัดข้อเข่าเทียมสมิติเวช ไชน่าทาวน์มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษเรื่องรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ผ่าตัดเข่า เมื่อเกิดข้อเข่าเสื่อม คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม

ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมพักฟื้นกี่วัน

หลังจากการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม พักฟื้นกี่วันนั้น จะขึ้นอยู่กับแต่ละรูปแบบของการรักษา ระยะการพักฟื้นของผู้ป่วยหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 4 – 5 วัน เพื่อให้แพทย์ได้คอยสังเกตว่ามีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ไหม โดยหัวเข่าจะยังคงมีอาการบวมอยู่ 1 – 2 เดือนแรก และใช้เวลาประมาณ 2 – 6 เดือน ข้อเทียมนั้นจะมีความแข็งแรงเหมือนข้อเข่าของผู้ป่วยเอง และผ่าตัดเข่ากี่วันเดินได้ ? ในช่วง 2 สัปดาห์แรกสามารถเดินได้แต่ควรมีอุปกรณ์ช่วยพยุงเดินอยู่เสมอ

ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุอันตรายไหม?

การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุมีความเสี่ยงและปัจจัยที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ต้องเริ่มจากประเมินความเสี่ยงโดยพิจารณาสุขภาพร่างกายทั่วไปและโรคร่วมอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคประสาทสมอง ถ้าผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพที่ร้ายแรงและไม่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัด อาจมีความเสี่ยงที่มากขึ้นในการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม เปลี่ยนเป็นการรักษาแบบอื่น เช่น การรักษาทางยา หรือกายภาพบำบัดแทน 

การตัดสินใจเรื่องการผ่าตัดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุควรใช้ความเหมาะสมและข้อมูลทางการแพทย์ที่เป็นพื้นฐาน คำแนะนำและการสนับสนุนจากทีมการรักษาแพทย์มีความสำคัญ เพื่อทำให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ดีที่สุดและลดความเสี่ยงที่เป็นไปได้ในการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด

ข้อสรุป

เมื่อสังเกตว่าตนเองเริ่มมีอาการเจ็บบริเวณเข้อเข่าเป็นระยะเวลานาน จนเจ็บมากขึ้นเรื่อย ๆ หัวเข่ามีเสียง หรือเริ่มลำบากในการใช้ชีวิต การเดิน ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวิธีการรักษาให้ทันอาการ 

ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม มีผลสำเร็จด้านลดอาการเจ็บปวด และเพิ่มคุณภาพชีวิตในส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเดินไปไหนก็สามารถทำได้อย่างกระฉับกระเฉงมากขึ้น เกิดอาการปวดน้อยลง ซึ่งผลลัพธ์ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสภาวะข้อเข่า สุขภาพร่างกาย และการดูแลหลังการผ่าตัด