|

หลังค่อม (kyphosis) คืออะไร แก้หลังค่อมอย่างไรให้ยั่งยืน

หลังค่อม (kyphosis) เป็นอาการอย่างหนึ่งที่มีผลมาจากการทำกิจกรรมที่ทำเป็นอย่างประจำจนกลายความเคยชินอย่างไม่ทันรู้ตัว หรือเกิดจากปัจจัยอื่นๆได้เช่นกัน ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกเพศทักวัยวัย แต่โดยส่วนมากอาการหลังค่อมนี้มักพบเจอในวัยรุ่นเป็นซะส่วนใหญ่ ในบทความนี้จะพูดถึงภาพรวมของอาการของหลังค่อมและแนวทางการรักษาเพื่อให้เช็คกับตัวเองว่าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของอาการหรือไม่ หรือหากเป็นแล้วเราจะรักษาอาการนี้ได้อย่างไร

หลังค่อม

อาการ หลังค่อม (kyphosis) เป็นอย่างไร

อาการหลักของหลังค่อม หรือ ไคโฟซิส (kyphosis) เป็นการที่ส่วนบนของกระดูกสันหลังโค้งงอไปข้างหน้ากว่าปกติ จนทำให้หลังส่วนบนดูเหมือนค่อมลงเพราะไหล่งุ้มลงไปข้างหน้า หากถ้ามีอาการยังไม่รุนแรงจะสังเกตการโค้งงอของกระดูกสันหลังได้ยากมาก แต่สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงจะเห็นเป็นลักษณะชัดเจนได้ว่าพวกเขาเหมือนโน้มตัวไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา

อาการหลังค่อม (kyphosis) อาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความโค้งนูนของหลังในผู้ป่วยแต่ละคน อย่างเช่น มีอาการปวดหรือตึงบริเวณแผ่นหลัง รู้สึกเจ็บขึ้นมาตรงบริเวณกระดูกสันหลังหรือรู้สึกเมื่อยล้าได้ หรือไหล่ทั้งสองข้างห่อไปทางด้านหน้าจนสังเกตได้ สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงจะมีความยากลำบากเพิ่มขึ้นในหายใจหรือช่วงเวลารับประทานอาหาร หรืออาการออฟฟิศซินโดรม

สาเหตุ หลังค่อม หลังงอ เกิดจากอะไร

อาการหลังค่อมนอกจากจะเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจากความเคยชินแล้วยังสามารถเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุอื่นๆได้ตามดังนี้

  • พัฒนาการที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะในวัยเด็กหรือวัยรุ่นในช่วงอยู่การพัฒนาของกระดูกอย่างรวดเร็ว หรืออาจเกิดจากพันธุกรรมของครอบครัวที่ส่งต่อกันมา
  • ช่วงอายุวัยที่มากขึ้น เกิดจากความเสื่อมของกระดูก สามารถสังเกตได้จากวัยชราที่มักเดินหลังค่อมให้ได้เห็นกันบ่อยๆ
  • พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อย่างที่บอกไมปข้างต้นว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการหลังค่อย โดยพฤติกรรมนี่มักจะเป็นการนั่งงอหลังเป็นเวลานานๆ หรือการนั่งเอนนั่ง แม้แต่การสะพายของที่่มีน้ำหนักมากๆเอาไว้ 

แนวทางการรักษา หลังค่อม ทำได้อย่างไรบ้าง

การรักษาหลังค่อมจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการของผู้ป่วย โดยแพทย์จะทำการตรวจร่างกายและวิเคราะห์สรุปอาการหลังค่อมในผู้ป่วยแต่ละบุคคลเพื่อพิจารณาถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดให้

กายภาพ

เป็นตัวเลือกการรักษาโดยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดและเป็นที่แรกๆที่แพทย์ทักจะแนะนำคนไข้ ซึ่งในเบื้องต้นจะช่วยบรรเทาอาการปวดและเพิ่มความแข็งแรงเนื้อบริเวณหลัง ช่วงท้อง รวมไปถึงในส่วนที่ได้ผลกระทบจากแนวกระดุกสันหลัง โดยมีวิธีอย่างง่ายๆสามารถทำเองได้ที่ห้อง รวมทั้งการใช้อุปกรณ์ทางศาสตร์กายภาพบำบัดแทน แต่ต้องอยู่ในการดูแลของนักกายภาพบำบัด

ทานยา

การรักษาอาการหลังค่อมยังสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยา โดยจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาเป็นรายบุคคลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่าผู้ป่วยเหมาะกับยาตัวไหน ยาที่ใช้นี้จะอยู่ในกลุ่มยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ยา  Naproxen หรือ Ibuprofen เพื่อบรรเทาจากอาการเจ็บปวดต่างๆลดลง 

ผ่าตัด

ประเภทของการผ่าตัดจะมีความแตกต่างกันไปในคนไข้แต่ละบุคคล ซึ่งการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการหลังค่อมประเภทหนึ่งที่พบบ่อยๆ คือการหลอมรวมกระดูกสันหลัง โดยเกี่ยวข้องกับการเชื่อมกระดูกสันหลังหลายๆชิ้นเข้าด้วยกันเพื่อจะสร้างให้เป็นกระดูกส่วนเดียว ซึ่งวิธีผ่าตัดจะเหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนแต่กำเนิด หรือมีรูปแบบของการทรงตัวไม่เหมาะสมที่รุนแรง 

การใช้อุปกรณ์เสริม

นอกจากนี้ยังมีการใช้อุปกรณ์ค้ำกระดูก (Bracing) โดยแพทย์ก็จะมีการพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายบุคคล ในผู้ป่วยเด็กที่มีอาการหลังค่อมอาจแนะนำให้ต้องใช้อุปกรณ์ค้ำกระดูกจนกว่าจะร่างกายจะเจริญเติบโตเต็มที่ และการใช้ประเภทของอุปกรณ์และระยะเวลาการใช้ในแต่ละครั้งจะขึ้นอยู่กับองศาความโค้งของกระดูกสันหลังอีกด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของหลังค่อม

แม้ว่ากาอารหลังค่อมจะดูไม่ร้ายแรงนัก แต่ก็อาจเกิดโรคที่มีอาการรุนแรงแทรกซ้อนขึ้นกับร่างกายของเราได้ ซึ่งมีดังนี้

  • มีปัญหาทางด้านบุคลิกภาพ และด้านจิตใจ รู้สึกมีปมต่อเรื่องร่างกายจนไม่อยากเข้าสังคม 
  • เกิดปัญหาที่ระบบทางเดินหายใจ การหายใจลำบากกว่าปกติและอาจกลายเป็นคนเหนื่อยง่ายไปเลย
  • มีอาการปวดหลังเรื้อรัง ปวดสะบัก
  • กระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท
  • โรคกระดูกสันหลังโค้งผิดปกติ(Kyphosis)
  • โรคกระดูกสันหลังคด(Scoliosis)
  • โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

สรุป

แม้อาการเริ่มต้นไม่มีความรุนแรงแต่หากปล่อยละเลยไปก็อาจจะทำใหเอาการรุกรามจนส่งผลเสียต่อร่างกายและกิจวัตรประวันโดยตรง ดังนั้นแล้วเราควรรีบดูแลตนเอง หรือหาแพทย์ผู้เชียวชาญให้คำปรึกษาถึงอาการและการรักษาเพื่อสุขภาพของเราที่ดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

González-Gálvez, N., Gea-García, G. M., & Marcos-Pardo, P. J. (2019). Effects of exercise programs on kyphosis and lordosis angle: A systematic review and meta-analysis. PloS one, 14(4), e0216180. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0216180

Ettinger B, Black DM, Palermo L, Nevitt MC, Melnikoff S, Cummings SR. Kyphosis in older women and its relation to back pain, disability and osteopenia: the study of osteoporotic fractures. Osteoporos Int. (1994) 4:55–60. doi: 10.1007/BF02352262

Sangtarash F, Manshadi FD, Sadeghi A. The relationship of thoracic kyphosis to gait performance and quality of life in women with osteoporosis. Osteoporos Int. (2015) 26:2203–8. doi: 10.1007/s00198-015-3143-9

Yaman, Onur & Dalbayrak, Sedat. (2014). Kyphosis and Review of the Literature. Turkish neurosurgery. 24. 455-465. 10.5137/1019-5149.JTN.8940-13.0.