|

ปวดสะบัก เรื้อรัง รักษาหายไหม แก้อย่างไรได้บ้าง

การใช้ชีวิตประจำวันของคนในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นช่วงระหว่างการเดินทาง ระหว่างการเรียนหรือการทำงาน รวมถึงการทำพฤติกรรมอื่น ๆ ล้วนเต็มไปด้วยการกระทำที่เร่งรีบจนทำให้ผู้คนต่างลืมที่จะดูแลใส่ใจสุขภาพร่างกายของตนเอง รวมถึงในบางครั้งก็อาจจะทำพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลเสียกับร่างกายอีกด้วย เช่น การยกของหนักเป็นประจำ การนั่งเก้าอี้ผิดท่า การออกกำลังกายผิดวิธี และอื่น ๆ
ในกรณีที่เผลอทำพฤติกรรมเหล่านั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็อาจจะส่งผลทำให้ร่างกายเกิดอาการปวดตามจุดต่าง ๆ ซึ่ง “ปวดสะบัก” ก็เป็นหนึ่งในอาการปวดยอดฮิตที่หลาย ๆ คนกำลังประสบปัญหาอยู่

ปวดสะบัก เกิดจากกล้ามเนื้อหรือเอ็นบริเวณสะบักเกร็งตัวจนทำให้เกิดอาการอักเสบ จุดกดเจ็บ และพังผืดไปเกาะบริเวณที่มีปัญหาดังกล่าวจนทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ๆ ได้ จึงทำให้เกิดอาการปวดสะบัก สะบักเจ็บ ตึง บริเวณระหว่างลำตัวบนถึงใต้บ่า โดยอาการปวดสะบัก หรือที่เรียกว่า สะบักจม สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีความผิดปกติของกระดูก มีอาการปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ซึ่งอาจเกิดจากการพฤติกรรมผิดปกติในชีวิตประจำวัน เป็นต้น


สาเหตุของการปวดสะบัก เกิดจาออะไร

ปวดสะบักเกิดจากอะไร อาการปวดสะบักสามารถเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ มากมาย ดังนี้

  • ร่างกายอยู่ในท่าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรืออยู่ผิดท่า เป็นระยะเวลานาน เช่น นั่งก้มคอ นั่งยืดคอ นั่งห่อไหล่ หลังค่อม นั่งก้ม ๆ เงย ๆ นั่งคอเอียงด้านใดด้านหนึ่ง เป็นต้น
  • ทำงานที่จำเป็นต้องใช้สะบักบ่อย ๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น การยกของหนักขึ้นสูงเหนือหัวการนำหูแนบไหล่ระหว่างคุยโทรศัพท์ เป็นต้น
  • การยกของหนักมากเกินไป ยกของผิดจังหวะ หรือ ยกของผิดท่า
  • การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช่น แบตมินตัน เบสบอล เทนนิส เป็นต้น
  • การออกกำลังกายไม่ถูกจังหวะ ไม่ถูกวิธี หรือ ผิดท่า
  • อาการที่เกิดขึ้นจากออฟฟิศซินโดรม ปวดคอบ่าไหล่
  • อาการที่เกิดจากกระดูกคอทรุด กระดูกคอเสื่อม กระดูกคอทับเส้นประสาท
  • อาการที่เกิดขึ้นจากการเจ็บหลัง ปวดหลัง กล้ามเนื้ออักเสบ จนส่งผลทำให้เจ็บสะบัก

อาการปวดสะบัก

อาการปวดสะบักที่เกิดขึ้นนั้น มีทั้งหลายรูปแบบ และหลายตำแหน่งที่ปวด แต่ละรูปแบบแต่ละจุดที่ปวดก็จะมีระดับความรุนแรงของอาการแตกต่างกัน ซึ่งอาการปวดสะบักที่พบได้บ่อยจะมี 2 รูปแบบ คือ อาการปวดสะบักเพียงอย่างเดียว และอาการปวดสะบักซึ่งลามไปยังส่วนอื่นของร่างกาย

อาการปวดสะบักเพียงอย่างเดียว

  • ปวดสะบักอย่างเดียว – ปวดสะบักขวา ปวดสะบักซ้ายเพียงอย่างเดียว หรือที่หลาย ๆ คนมักจะเรียกว่า “สะบักจม” ซึ่งจะมีอาการปวดลึก ๆ ขัด ๆ เจ็บแปล็บ ๆ เกิดจากกล้ามเนื้อสะบักเกร็ง และมีพังผืดเกาะจนเส้นเลือดบริเวณนั้นไม่สามารถส่งออกซิเจนหรือสารอาการไปเลี้ยงเนื้อเยื่อสะบักได้อย่างทั่วถึง
  • ปวด ตึงกล้ามเนื้อที่อยู่ระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้าง – เกิดจากมีการใช้งานกล้ามเนื้อที่ช่วยดึงและะพยุงสะบักให้เข้าหาเเนวกลางของลำตัว(Rhomboid) กล้ามเนื้อ มัดลึกช่วงหลังส่วนกลาง(Serratus Posterior Superior) และกล้ามเนื้อหลังชั้นกลาง(Longissimus Thoracis) มากเกินไปจนทำให้เกิดการเกร็งตัวจนเกิดจุดกดเจ็บ ทำให้สะบักทั้งสองข้างรู้สึกปวด ตึง ล้า

อาการปวดสะบักซึ่งลามไปยังส่วนอื่นของร่างกาย

  • ปวดสะบักและมีอาการปวดข้างหลังร่วมด้วย – เกิดจากกล้ามเนื้อยาวที่อยู่ตรงใต้สะบักจนถึงหลังช่วงล่างเกร็งตัว จึงทำให้รู้สึกปวด ตึง สะบักจนถึงช่วงกลางหลังหรือหลังส่วนล่าง ซึ่งในกรณีที่ปวดข้างหลังจุดเดียวแต่ไม่ทำการรักษาก็จะทำให้อาการปวดลามไปจุดอื่นได้
  • ปวดสะบักจนหายใจได้ไม่สุด – เกิดจากกล้ามเนื้อทรวงอกส่วนหลังที่อยู่ติดกับสะบักเกร็งตัว ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณส่วนนั้นไม่สามารถขยายหรือหดตัวระหว่างหายใจได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น จึงทำให้รู้สึกหายใจไม่สุด หรือหายใจได้ไม่เต็มอิ่ม แม้ว่าพยายามหายใจเข้าออกลึก ๆ แล้วก็ตาม ในบางครั้งอาจมีอาการจุกหรือเสียดบริเวณสะบักระหว่างหายใจ
  • ปวดสะบักร้าวลงแขนร่วมกับอาการชาที่มือและนิ้วมือ – เกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อสะบักมากเกินไปจนทำให้เกิดอาการตึง เกร็ง และเกิดพังผืดจนส่งผลรบกวนต่อเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของแขนและนิ้วมือทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดและชาแขน มือ และนิ้วมือ
  • การปวดสะบักร่วมกับการปวดคอบ่าไหล่ – เป็นอาการปวดสะบักที่มีความเกี่ยวข้องกับการปวดคอ ปวดหลัง ปวดบ่า ซึ่งกล้ามเนื้อบริเวณสะบัก ไหล่ คอ บ่า มีความเกี่ยวเนื่องกัน หากปล่อยอาการปวดไว้นานโดยที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาก็อาจจะทำให้อาการลามมากขึ้น เกิดเป็นอาการอื่น ๆ เช่น กระดูกคอเสื่อม เส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงถูกกดทับ พังผืดลุกลามส่วนต่าง ๆ รวมถึงเกิด ออฟฟิศซินโดรม ได้

วิธีบรรเทาอาการปวดสะบัก

วิธีรักษาอากาปวดสะบัก
วิธีรักษาอากาปวดสะบัก

ในการใช้ชีวิตประจำวัน หากต้องทนกับอาการปวดไม่ว่าจะปวดสะบักและหลัง หรือ ปวดส่วนอื่น ๆ นอกจากมีโอกาสที่อาการจะทรุดลงแล้ว ก็จะทำให้รู้สึกไม่มีความสุข และยังก่อให้เกิดความเครียดได้อีกด้วย ดังนั้นจึงควรทำวิธีต่าง ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดสะบัก ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้อาการปวดสะบักทรุดลง เช่น ยกของหนัก นั่งและยืนในท่าที่ไม่เหมาะสม นั่งหรือยืนนานเกินไป นั่งก้ม ๆ เงย ๆ ออกกำลังกายผิดวิธี เป็นต้น
  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ใช้โต๊ะและเก้าอี้ที่มีความสูงที่เหมาะสม อยู่ในที่ที่แสงสว่างเพียงพอ เป็นต้น
  • การนวดเพื่อแก้ไขปัญหาต้นตอของการปวดสะบัก ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นที่เกร็งบริเวณสะบัก
  • กายภาพบำบัด เป็นหนึ่งในวิธีการที่นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการปวดสะบักได้อย่างดีเยี่ยมแล้ว ยังช่วยแก้ไขปัญหาออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย โดยการทำกายภาพบำบัดก็จะมีนักกายภาพบำบัดคอยให้การดูแลและแนะนำเกี่ยวกับท่าทางและการบริหารกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังมีการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการรักษาทำให้การรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

ข้อสรุป

อาการปวดสะบัก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในชีวิตประจำวัน เช่น การยื่นคอ ก้ม ๆ เงย ๆ หน้า หรือว่าจะเป็นการประสบอุบัติเหตุ รวมถึงการรู้สึกเกร็งและอักเสบในบริเวณ คอ ไหล่ บ่า และไม่ได้รับการรักษาจนลามไปส่วนอื่น ๆ รวมถึงสะบัก ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดสะบัก และส่วนอื่น ๆ ซึ่งทำให้รู้สึกไม่สบายร่างกายและยังส่งผลทำให้ไม่สบายใจอีกด้วย

เพื่อที่จะรักษาอาการปวดต่าง ๆ ให้ดีขึ้น จึงควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดปวดสะบัก โดยการทำกายภาพบำบัดก็จะมีนักกายภาพคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการยืดกล้ามเนื้อ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควบคู่ไปกับการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีที่มีความทันสมัยในการรักษาอาการปวดสะบักได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

Kulkarni R, Gibson J, Brownson P, Thomas M, Rangan A, Carr AJ et al. Subacromial shoulder pain. Shoulder Elbow 2015; 7(2): 135-143.

Artus, M., Holt, T. A., & Rees, J. (2014). The painful shoulder: an update on assessment, treatment, and referral. The British journal of general practice : the journal of the Royal College of General Practitioners64(626), e593–e595. https://doi.org/10.3399/bjgp14X681577

(2012). The Epidemiology of Shoulder Pain: A Narrative Review of the Literature. In (Ed.), Pain in Perspective. IntechOpen. https://doi.org/10.5772/52931