วิธีลดคลอเรสเตอรอล
การ ลดคลอเรสเตอรอล ในร่างกาย เป็นสิง เมื่อต้องตรวจสุขภาพ มันเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงพฤติกรรมในการกินของเรา การกินอาหารที่มีไขมันสูง อาหารทอด อาหารมัน เป็ยสิ่งที่ทำให้ค่าคลอเรสเตอรอลในร่างกายสูง ส่งผลให้มีโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมา ดังนั้นการลดคลอเรสเตอรอลเป็นสิ่งที่คนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ใครๆก็อยากได้
9 วิธี ลดคลอเรสเตอรอล ทำตามง่าย ทุกเพศทุกวัย
คลอเรสเตอรอล คืออะไร
คลอเรสเตอรอลเป็นเพียงอาการผิดปกติ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเรา ที่เราสามารถดูแลตัวเองรักษาให้หายได้ ให้ค่าคลอเรสเตอรอลของเรากลับมาเป็นปกติ แต่เพราะต้นเหตุของคลอเรสเตอรอลสูง มาจากพฤติกรรมการกินประมาณ 95%
คลอเรสเตอรอล คือไขมันชนิดหนึ่งที่ร่ายการสร้างขึ้นจากตับ สามารถพบได้ในส่วนของผนังเซลล์ทุกเซลล์ของคนเรา รวมทั้งเป็นองค์ประกอบของน้ำดีอีกด้วย อีกทั้งร่างกายของเราจะได้รับคลอเรสเตอรอลจากอาหารที่รับประทานเข้าไปจากภายนอก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่สูง แต่ตับของเราก็สามารถสังเคราะห์คลอเรสเตอรอลขึ้นเองได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นคลอเรสเตอรอลที่รับประทานเข้าไปมากเกินพอจึงกลายเป็นส่วนเกินของเร่างกาย และมีความเสี่ยงทำให้เกิดโรค เพราะคลอเรสเตอรอลจะไปเกาะบริเวณผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ
คอลเรสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
- LDL Cholesterol เป็นคลอเรสเตอรอลที่อันตรายเพราะจะเกาะตัวตามผนังของหลอดเลือดแดง
ซึ่งจะทำให้ความยืดหยุ่นเสียไป และเกิดหลอดเลือดตีบตันตามมา
- HDL Cholesterol เป็นคลอเรสเตอรอลที่มีประโยชน์เพราะจะช่วยป้องกันการเกาะตัวของ LDL
ที่ผนังของหลอดเลือดแดง ช่วยในการป้องกันการเกิดหลอดเลือดตีบตันได้
ค่าไขมันที่เหมาะสมและเป็นปกติภายในร่างกาย คือ
- คลอเรสเตอรอลรวม ต้องน้อยกว่า 200 mg/dl
- ค่า LDL (ไขมันเลว) ต้องน้อยกว่า 130 mg/dl
- ค่า HDL (ไขมันดี) ต้อง 45 mg/dl ขึ้นไป
- ค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ ต้องน้อยกว่า 150 mg/dl
คลอเรสเตอรอลสูง เสี่ยงอะไรบ้าง
ผู้ที่มีคลอเรสเตอรอลในเลือดสูงจะไม่มีอาการใด ๆ นอกจากจะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น เช่น เจ็บแน่นหน้าอก
ปวดน่องเวลาเดินหรืออัมพฤกษ์อัมพาต ซึ่งเป็นภาวะหลอดเลือด ในส่วนต่างๆ ตีบตัน คลอเรสเตอรอลสูง ทำให้เสี่ยงต่อเกิดโรค อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน หลอดเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต หลอดเลือดแดงแข็งตัว โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะเป็นต้น อันตรายจากคลอเรสเตอรอลสูง คือ มันสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ และไม่ว่าจะผอมหรืออ้วน ก็มี
สิทธิ์คลอเรสเตอรอลสูงได้ ถึงคนอ้วนจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากกว่าก็ตาม ดังนั้นต้องทำความรู้จักวิธีการลด
คลอเรสเตอรอลเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
9 วิธี ลดคลอเรสเตอรอล
ในการใช้ชีวิตประจำวัน เราสามารถควบคุมระดับของคลอเรสเตอรอลในเลือดได้ ดังนี้
- อาหารลการเลือกรับประทานอาหารเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ
อาหารลดคลอเรสเตอรอล ได้หาก รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวน้อยและคลอเรสเตอรอลต่ำได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง ไข่ขาว ควรรับประทานอาหารที่มีกรดโอเมก้า 3 อย่างปลาแซลมอนหรือปลาทะเลน้ำลึกเป็นประจำด้วย
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง
ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคลอเรสเตอรอลสูง ได้แก่ อาหารทะเล (ยกเว้นปลา) หนังสัตว์ เนย เนยแข็ง นมไม่พร่องมันเนย หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันทรานซ์
- รับประทานผลไม้
รับประทานอาหารที่มีกากใยเช่น ผักและผลไม้ สามารถช่วยในเรื่องการขับถ่าย และเป็นผลไม้เป็นของกินที่ไม่สร้างคลอเรสเตอรอลในร่างกาย
- งดการสูบบุหรี่
หยุดสูบบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่จะเพิ่ม LDL และลด HDL
- คอยหมั่นออกกำลังกาย
การออกกำลังกายแบบแอโรบิคเช่น การเดินเร็ว วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เป็นต้น สามารถช่วยเพิ่มระดับ HDL และลด LDL ได้ โดยควรทำอย่างต่อเนื่อง 20-40 นาที/ครั้ง อย่างน้อย 4 วัน/สัปดาห์
- ระมัดระวังการใช้ยา
ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องใช้ยาร่วมด้วยภายใต้คำแนะนำของแพทย์
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ไม่ใช่เพียงแค่คลอเรสเตอรอล แต่การดื่มเครื่องดื่มเเอลกอฮอล์ยังสร้างภาระต่างๆให้ร่างกาย
- คอยตรวจร่างกาย
หมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำ ควรทำอย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี จะช่วยให้รู้ระดับคลอเรสเตอ รอลภายในร่างกาย ซึ่งจะสามารถช่วยประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ และรับมือกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้ดี
- การรับประทานอาหารเสริม
รับประทานอาหารเสริมที่ช่วยลดคลอเรสเตอรอลได้ ซึ่งในที่นี้ จะขอแนะนำ ถั่งเช่า ซึ่งเป็นสมุนไพรจีน มีสรรพคุณในการช่วยลดน้ำตาล และไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงหลอดเลือด และช่วยป้องกันไขมันเลว LDL ไม่ให้เกาะในหลอดเลือด
สรุป
การที่จะลดคลอเรสเตอรอลนั้น เราสามารถเริ่มต้นได้ที่ตัวเรา ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิต รวมไปถึงการใส่ใจออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ