มีลูกยาก มีบุตรยาก คืออะไร สาเหตุ รักษาอย่างไรได้บ้าง
ปัจจุบันมีหลาย ๆ คู่ที่อยากมีลูก และปล่อยให้มีตามธรรมชาติ แต่รอแล้วรอเล่าลูกก็ยังไม่มาสักที รอจนเริ่มรู้สึกว่าตัวเองมีลูกยาก แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่แน่ใจว่าตัวเองเข้าข่ายภาวะการมีบุตรยากหรือไม่ ลังเลว่าจะเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เรื่องภาวะมีบุตรยากดีหรือไม่? ค่าใช้จ่ายอยู่ที่เท่าไหร่? วันนี้เรามีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ พร้อมทางออกสำหรับผู้ที่อยากมีลูกมาแนะนำค่ะ
มีลูกยาก หรือ ภาวะการมีบุตรยาก คืออะไร
มีลูกยาก (infertility) หรือ ภาวะมีบุตรยาก คือ ภาวะที่คู่สามีภรรยาปล่อยให้มีลูกเองด้วยวิธีธรรมชาติแล้วแต่ยังไม่เป็นผลในเวลาอันเหมาะสม ซึ่งในทางการแพทย์จะถือว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี รวมถึงผู้ที่ปล่อยให้มีตามธรรมชาติเกินกว่า 1 ปี แล้วยังไม่ตั้งครรภ์ก็เข้าข่ายอาการคนมีลูกยากเช่นกัน
สาเหตุ ของการมีบุตรยาก มีลูกยาก
สาเหตุที่ทำให้มีลูกยาก มีอยู่ด้วยกัน ดังนี้
ปัญหามีลูกยากที่เกิดจากผู้ชาย
ผู้ชายมีลูกยาก ปัญหานั้นไม่ได้เกิดจากฝ่ายหญิงเพียงอย่างเดียว แต่การมีลูกยากเกิดจากการที่อสุจิมีปริมาณน้อยเกินไป, จำนวนตัวอสุจิน้อยไป และไม่แข็งแรงมากพอซึ่งเป็นสาเหตุมีลูกยากได้
ปัญหามีลูกยากที่เกิดจากผู้หญิง
สำหรับฝ่ายหญิงที่มีบุตรยากหรือตั้งครรภ์ยาก มักเกิดจาก 2 ส่วน หลัก ๆ ได้แก่
1. เซลล์ไข่ ร่างกายของฝ่ายหญิงและระบบสืบพันธุ์จะมีความเสื่อมมากขึ้นทุกปี ซึ่งรวมถึงเซลล์ไข่ด้วย โดยเฉพาะหากฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 30 ปี เซลล์ไข่ก็เสื่อมมากขึ้น โดยอาจพบว่ามีเปลือกไข่หนา, ไข่ฝ่อ หรือไข่ไม่สมบูรณ์
2. มดลูก คือ ทางเดินสำหรับอสุจิและเป็นที่ฝังตัวอ่อน หากท่อนำไข่อุดตัน อสุจิจะไม่สามารถเดินทางไปหาไข่ได้ และถ้าหากมดลูกแห้งมีลูกยากไหม มดลูกที่แห้งจะทำให้ตั้งครรภ์ได้ยาก เนื่องจากอสุจิไม่สามารถว่ายเข้าหาไข่ได้เช่นกัน
วิธีการตรวจประเมินภาวะมีบุตรยาก
การตรวจประเมินภาวะมีบุตรยาก สามาถทำได้ทั้งฝ่ายหญิง และฝ่ายชาย ดังนี้
การตรวจประเมินภาวะการมีบุตรยากในเพศหญิง
สามารถทำได้ 2 วิธี คือ “Ultrasound” ตรวจภายใน เช็คความผิดปกติของมดลูก, ผนังมดลูก และรังไข่ และอีกวิธีคือ “การตรวจฮอร์โมน” อาทิ AMH (Anti-Müllerian hormone) ซึ่งใช้การเจาะเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมน โดยจะสามารถบอกได้ว่ามีปริมาณไข่เหลืออยู่มากน้อยแค่ไหน และเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ใช้ในปัจจุบัน
การตรวจประเมินภาวะการมีบุตรยากในเพศชาย
ด้วยการตรวจคุณภาพอสุจิ เพื่อเช็คจำนวนตัวอสุจิว่าได้มาตรฐานและแข็งแรงหรือไม่
ภาวะการมีบุตรยาก วิธีแก้ไข แนวทางการรักษา
การมีบุตรยากแก้ไขได้หลากหลายวิธี ดังนี้
การฉีดน้ำเชื้อ IUI
การทำ IUI แพทย์จะให้ยากระตุ้นเซลล์ไข่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมถึงจะคัดอสุจิตัวที่แข็งแรงที่สุดในห้องทดลอง แล้วฉีดกลับเข้าไปในโพรงมดลูก ปล่อยให้อสุจิว่ายไปหาไข่เอง วิธีนี้จะคล้ายกับการมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติ
การทำเด็กหลอดแก้ว IVF หรือทำ อิ๊กซี่ ICSI
วิธีนี้จะคล้ายกับการทำกิ๊ฟท์ แต่การทำเด็กหลอดแก้ว IVF และอิ๊กซี่ ICSI ไม่ต้องผ่าหน้าท้อง เพียงแค่ฉีดยากระตุ้นไข่ที่หน้าท้องเป็นระยะเวลา 10-12 วัน จากนั้นแพทย์จะเจาะเอาไข่ออกมาปฏิสนธิกับอสุจิที่คัดแล้วว่าแข็งแรงที่สุด แล้วเลี้ยงต่อในห้องทดลอง เมื่อได้เป็นตัวอ่อน ก็จะย้ายตัวอ่อนเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อเติบโตต่อไป
ฝากไข่ ก่อนอายุมากขึ้น
เพราะร่างกายของผู้หญิงจะเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น การฝากไข่จึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับผู้ที่กังวลและไม่แน่ใจว่าตัวเองจะมีปัญหาการมีบุตรยากในอนาคตหรือไม่ วิธีนี้เป็นการป้องกันไข่เสื่อมสภาพตามอายุนั่นเอง
มีบุตรยากค่าใช้จ่าย ในการรักษาเท่าไร
ค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากนั้น สามารถแบ่งออกได้ตามวิธีการรักษา ดังนี้
ค่าใช้จ่ายการรักษาแบบ IUI
ราคาในการรักษาอยู่ที่ 20,000 บาท/ครั้ง เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และเหมาะกับผู้ที่เข้ารับการตรวจร่างกายแล้วไม่มีปัญหามีบุตรยากที่ซับซ้อน
ค่าใช้จ่ายการรักษาแบบเด็กหลอดแก้ว ICSI IVF
ราคาจะเริ่มที่ 200,000 – 500,000 บาท/ครั้ง วิธีนี้จะมีโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มากกว่าแบบ IUI และเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาในการตั้งครรภ์ที่ซับซ้อนกว่า
ค่าใช้จ่ายในการฝากไข่
ราคาการฝากไข่จะเริ่มต้นที่ 89,000 บาท แต่เรียกได้ว่าคุ้มค่ามากกับการที่มีลูกน้อยร่างกายแข็งแรงน่ารักสักคน
ตรวจภาวะมีบุตรยาก ที่ไหนดี
สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับการตรวจภาวะผู้มีบุตรยาก แนะนำให้พิจารณา ดังนี้
- สถานพยาบาลต้องสะอาด ดูน่าเชื่อถือ
- แพทย์ ต้องมีความเชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวชโดยเฉพาะ พร้อมกับมีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาสูตินรีศาสตร์-นรีเวทวิทยา จากโรงพยาบาลที่เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป
- ทีมงานต้องมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ และผ่านการอบรมมาเป็นอย่างดี
ข้อสรุป
การมีลูกยาก มีสาเหตุที่ทำให้มีลูกยากได้มากมาย โดยมีองค์ประกอบจากทั้งฝ่ายหญิง และฝ่ายชาย โดยในปัจจุบันการรักษาภาวะมีบุตรยาก สามารถทำได้หลายวิธีจากที่ได้กล่าวไปในเบื้องต้น ซึ่งจะเลือกวิธีการใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และความซับซ้อนของปัญหาที่เกิดขึ้นของร่างกาย หากไม่มั่นใจว่าตนเองอยู่ในภาวะมีบุตรยากหรือไม่ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ได้ค่ะ